โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ
สาระน่ารู้~อัพ 4 พัทยากำลังจะหายไปแล้ว!!!!+ภัยร้ายจากควันธูป
KzieSBoO
#21
11-06-2011 - 15:01:24

#21 KzieSBoO  [ 11-06-2011 - 15:01:24 ]




มันจริงหรอค่ะ

ขอบคุณสำหรับขอมูลค่ะ


patty_zeeza
#22
11-06-2011 - 15:12:17

#22 patty_zeeza  [ 11-06-2011 - 15:12:17 ]




นาซ่าเผยข้อมูลล่าสุด ดาวเคราะห์ขนาดมหึมาหนัก 55 ล้านตัน อาจพุ่งชนโลกในพ.ย. ความรุนแีรงเทียบเท่าปรมาณู 65,000 ลูก


สำนักข่าวต่างประเทศ (6 พ.ค.) อ้างได้รับการเปิดเผยข้อมูลล่าสุดจากองค์การนาซ่า โดยรายงานระบุว่าผู้เชี่ยวชาญของนาซ่าได้มีการทำนายว่า ดาวเคราะห์ขนาดมหึมา มีขนาดความกว้าง 1,300 ฟุต หนัก 55 ล้านตัน กำลังเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้และอาจพุ่งชนโลกได้ราวเดือนพฤจิกายน ปลายปีนี้

ทั้งนี้ ยังรายงานยังบอกอีกว่า ถ้าหากไม่ชนโลกอาจจะแค่เฉียดแบบระยะเผาขนด้วยระยะห่างเพียง 201,700 ไมล์ นับว่าเป็นการเคลื่อนเ้ข้ามาใกล้กว่าดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ที่ห่างราว 238,857-248,725 ไมล์

ดาวเคราะห์ดวงดังกล่าว มีชื่อว่า YU55 โคจรรอบดวงอาทิตย์ทุก ๆ 14 เดือน สามารถมองเห็นเป็นขนาดเล็กด้วยกล้องดูดาวเทเลสโคป และถ้าเป็นอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญของนาซ่าได้กล่าวไว้ประมาณวันที่ 8 พ.ย.54 ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจสร้างความหายนะครั้งร้ายแรงไ้ด้หากพุ่งชนโลก ตามคำทำนาย เพราะระดับความรุนแรงนั้นจะเทียบเท่ากับระเบิดปรมาณู 65,000 ลูก แรงปะทะอาจส่งผลให้เกิดหลุมลึก 2,000 ฟุต กว้าง 6 ไมล์



ข้อมูลจาก sanook.com


ไม่รู้ว่าอยากอ่ะเปล่าลองๆๆตอบดูนะค่ะ

คำถามท้ายบท

คุณเชื่อหรือไม่(เรื่องนี้) เพราะอะไรถึงเชื่อ/ไม่เชื่อ


รางวัล

1. สำหรับคนที่ให้เหตุผลดีนะเอาไปเลย 1 ดาว
2.คนที่ไม่ได้ตอบคำถามแค่มาดูหรือเม้นเฉยๆๆเอาหัวใจไปนะค่ะ


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2011-06-11 15:27:41
mooham8247

mooham8247
#23
11-06-2011 - 16:50:55

#23 mooham8247  [ 11-06-2011 - 16:50:55 ]





quote : patty_zeeza

นาซ่าเผยข้อมูลล่าสุด ดาวเคราะห์ขนาดมหึมาหนัก 55 ล้านตัน อาจพุ่งชนโลกในพ.ย. ความรุนแีรงเทียบเท่าปรมาณู 65,000 ลูก


สำนักข่าวต่างประเทศ (6 พ.ค.) อ้างได้รับการเปิดเผยข้อมูลล่าสุดจากองค์การนาซ่า โดยรายงานระบุว่าผู้เชี่ยวชาญของนาซ่าได้มีการทำนายว่า ดาวเคราะห์ขนาดมหึมา มีขนาดความกว้าง 1,300 ฟุต หนัก 55 ล้านตัน กำลังเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้และอาจพุ่งชนโลกได้ราวเดือนพฤจิกายน ปลายปีนี้

ทั้งนี้ ยังรายงานยังบอกอีกว่า ถ้าหากไม่ชนโลกอาจจะแค่เฉียดแบบระยะเผาขนด้วยระยะห่างเพียง 201,700 ไมล์ นับว่าเป็นการเคลื่อนเ้ข้ามาใกล้กว่าดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ที่ห่างราว 238,857-248,725 ไมล์

ดาวเคราะห์ดวงดังกล่าว มีชื่อว่า YU55 โคจรรอบดวงอาทิตย์ทุก ๆ 14 เดือน สามารถมองเห็นเป็นขนาดเล็กด้วยกล้องดูดาวเทเลสโคป และถ้าเป็นอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญของนาซ่าได้กล่าวไว้ประมาณวันที่ 8 พ.ย.54 ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจสร้างความหายนะครั้งร้ายแรงไ้ด้หากพุ่งชนโลก ตามคำทำนาย เพราะระดับความรุนแรงนั้นจะเทียบเท่ากับระเบิดปรมาณู 65,000 ลูก แรงปะทะอาจส่งผลให้เกิดหลุมลึก 2,000 ฟุต กว้าง 6 ไมล์



ข้อมูลจาก sanook.com


ไม่รู้ว่าอยากอ่ะเปล่าลองๆๆตอบดูนะค่ะ

คำถามท้ายบท

คุณเชื่อหรือไม่(เรื่องนี้) เพราะอะไรถึงเชื่อ/ไม่เชื่อ


รางวัล

1. สำหรับคนที่ให้เหตุผลดีนะเอาไปเลย 1 ดาว
2.คนที่ไม่ได้ตอบคำถามแค่มาดูหรือเม้นเฉยๆๆเอาหัวใจไปนะค่ะ


เรื่อง ดาวชอบคับๆ
ไม่เชื่อครับ

ผม ว่า น่ะ ถ้า โลกมัน เเตกคง เเตกไปนาน ละ เพราะก่อนหน้านี้ก็มี ตาลุง คนนึง บอกว่า วัน ที่ 16 ตุลา 2010 โลกจะเเตก

นี้มัน ผ่านมาหลายเดือน จนข้ามปีละ เเล้ว ก็ออกมา บอกอีกว่า จะเกิดขึ้นเมื่อ 16 ตุลา ปีนี้

เเต่ ก็ คงยังยึดติด กับ การ ที่ อุกาบาต จะชนโลก หรือ ดาวเคราะห์ น้อย ใช่ไหมละ เเต่ พระพุทธเจ้า ทรงตรัส

ว่า โลกยัง อยู่ นาน ถึง พ.ศ 5000 สารคดี ต่างๆก็มี การบอก ไว้ เเบบนี้ เหมือนกัน ว่า จะมี ดาวเคราะห์น้อยชนโลก

เเต่ สารคดีอีกหลายๆ อย่างก็ มีการออกมา ประกาศ เหมือนกัน ว่าพบ เจอ ดาวเคราะห์ น้อย ที่ใกล้ชนโลก เเต่ยังไงเค้าก็บอกว่า

ยังไง นาซ่า ก็จะ ส่ง จรวดทำลายล้าง ขึ้นไป ทำลายมัน ก่อนที่ จะตกลง พื้นดินอีก เพราะฉนั้น ก็อย่าไปยึดติดอะไรมากเลยคับ

พูดจบละ (พิมพ์เองน่ะ ไม่ได้ก็อบเค้ามา )


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2011-06-11 16:51:10
patty_zeeza

SolSica
#24
11-06-2011 - 16:55:34

#24 SolSica  [ 11-06-2011 - 16:55:34 ]





ไม่เชื่อครับ

เพราะยังไงเราก็ไม่เหลือครับ

(ไม่มีเวลาให้เหลือเชื่อ ตายก่อน)


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2011-06-11 16:55:47

kun-ka
#25
11-06-2011 - 17:10:06

#25 kun-ka  [ 11-06-2011 - 17:10:06 ]




ไม่ค่อยเชื่อค่ะ
เพราะว่าโลกเราใช้เวลาสร้างมาหลายล้านปี
แล้วก็อยู่ได้หลายล้านปี กว่าจะระเบิดก็น่าจะหลายล้านปีเช่นเดียวกัน (แบบว่า ตายแล้วเกิดใหม่ได้ 10 กว่าชาติ)

patty_zeeza

lovemiku
#26
11-06-2011 - 17:20:32

#26 lovemiku  [ 11-06-2011 - 17:20:32 ]






ไม่เชื่อคะ
เพราะว่ามันดูเกินจริงไปคะ


patty_zeeza
#27
12-06-2011 - 10:53:54

#27 patty_zeeza  [ 12-06-2011 - 10:53:54 ]




มีแต่คนไม่เขื่อเนอะ

เค้าก็ไม่เชื่อเหมือนกันอ่ะนะ

mooham8247

kolby
#28
12-06-2011 - 11:09:20

#28 kolby  [ 12-06-2011 - 11:09:20 ]




แต่ก็ไม่แน่น่ะ เพราะอะไรมันก็เกิดขึ้นได้
เพราะส่วนมากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์จะเชื่อก็ต่อเมื่อเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้วเสมอ
ก็เหมือนกับ พ.ศ.2547 ที่เกิดสึนามินั้นแหละไม่มีใครเชื่อว่ามีสิ่งนั้น
แต่เมื่อมันเกิดขึ้นและได้ผ่านไป หลังจากนั้นเรารู้ว่ามันมี
และเราก็เชื่อหากว่ามันจะมีโอกาสเกิดขึ้นอีก ในครั้งต่อไป
หรือเรียกบ้านๆว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น อะไรทำนองนั้นแหละ

patty_zeeza

patty_zeeza
#29
12-06-2011 - 16:48:07

#29 patty_zeeza  [ 12-06-2011 - 16:48:07 ]




ไม่มีไคมาเม้นให้เลยอ๊า

mooham8247

mooham8247
#30
14-06-2011 - 21:42:34

#30 mooham8247  [ 14-06-2011 - 21:42:34 ]





อ่าๆ เห็น ใจเจ้าของกระทู้ ช่วยๆ ดันๆ


patty_zeeza
#31
15-06-2011 - 20:53:23

#31 patty_zeeza  [ 15-06-2011 - 20:53:23 ]




ขอบใจมากกๆๆๆเลยนะจร้าา น้องแฮม

แต่ว่ากำลังจะเอาเรื่องใหม่มาอัพแหละ

แต่ไม่รู้ว่าเอาเรื่องไรดี

mooham8247

lovemiku
#32
15-06-2011 - 22:01:49

#32 lovemiku  [ 15-06-2011 - 22:01:49 ]






งืม

ดัน!!!


patty_zeeza
#33
17-06-2011 - 18:04:04

#33 patty_zeeza  [ 17-06-2011 - 18:04:04 ]




เตือน5ปีพัทยาหายจากแผนที่



วันนี้ (23ม.ค.) ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศน์เชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว ในการประชุมชี้แจงโครงการวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเพื่อส่งเสริมทรายชายหาด พัทยา ว่า ขณะนี้ ชายหาดพัทยามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก โดยมีสาเหตุจากตะกอนทรายที่เคยเติมให้อ่าวพัทยาจากตอนบนของลำน้ำลดน้อยลง การนำพาตะกอนของคลื่นมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการใช้ประโยชน์หรือกิจกรรมชายหาดที่เปลี่ยนไปในพื้นที่อ่าวพัทยา ล้วนส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายหาดพัทยารุนแรงมากขึ้น จากการศึกษาการกัดเซาะชายหาดพัทยาด้วยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Gis) และข้อมูลระยะไกล(RS) พร้อมกับการเปรียบเทียบข้อมูลภาพถ่ายปัจจุบันและภาพถ่ายในอดีตของสภาพชายหาด พัทยาและการลงพื้นที่สอบถามความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายหาดจากชาวบ้านที่ อยู่ในพื้นที่มานาน พบว่า ปัจจุบันพื้นที่ชายหาดลดลงจากในอดีตมาก มีความกว้างชายหาดเหลือเพียง 4-5 เมตร นับเป็นวิกฤติการณ์กัดเซาะหนัก หากไม่รีบแก้ไขจะกระทบภาพลักษณ์เมืองท่องเที่ยว ส่งผลต่อรายได้และการประกอบการด้านการท่องเที่ยวแน่นอน เสนอแนวทางการแก้ไข โดยใช้หลักวิชาการผสานสภาพภูมิอากาศธรรมชาติ คืนทรายให้ชายหาดให้พัทยาอีกครั้ง

“จากการเปรียบเทียบข้อมูลของ พ.ศ.2495,2510,2517,2539 และ 2545 พบว่า ชายหาดพัทยา มีการกัดเซาะที่รุนแรงในพื้นที่ตั้งแต่พัทยาเหนือถึงพัทยาใต้ระยะทางทั้ง สิ้น 2.7 กิโลเมตรจากชายหาดที่มีความสวยงามมากในปี พ.ศ.2495 มีพื้นที่หน้าหาดทั้งสิ้น 96,128.4 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 60 ไร่ ความกว้างเฉลี่ยของหน้าหาด 35.6 เมตร เทียบกับ พ.ศ.2545 เหลือพื้นที่หน้าหาด 50,500.7 ตารางเมตร หรือประมาณ 31 ไร่ ความกว้างหน้าหาด 18.7 เมตร กับข้อมูลจากการสำรวจล่าสุด พบว่าความกว้างหน้าหาดเหลือเพียง 4-5 เมตรเท่านั้น แม้ว่าเหตุการณ์กัดเซาะชายหาดจะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่หากไม่มีการช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางสภาวะแวดล้อมเชื่อว่าอีกไม่เกิน 5 ปี ชายหาดพัทยาจะหายไปทั้งหมด การสร้างโครงป้องกันชายหาด จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติการกัดเซาะได้” นักวิชาการ จุฬาฯ กล่าวและว่า
ขณะ นี้ ทางกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ร่วมมือกับ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศน์เชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเพื่อเสริมทรายบูรณะชายหาดพัทยา จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ชายหาดพัทยาเหนือ ตั้งแต่โรงแรมดุสิตรีสอร์ท ถึงชายหาดพัทยากลาง ระยะทาง 1,300 เมตร ช่วงที่ 2 จากชายหาดพัทยากลางถึงชายหาดพัทยาใต้ ระยะทาง 1,400 เมตร และช่วงที่ 3 ตั้งแต่ชายหาดพัทยาใต้ถึงแหลมบาลีฮาย ระยะทาง 1,780 เมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 4.48 กิโลเมตร โดยการใช้โครงสร้างแบบอ่อน คือการนำทรายที่ถูกกัดเซาะออกไปอยู่นอกชายฝั่งให้กลับมาโดยการเติมทราย ประมาณ 2 แสนคิวบริเวณหัวหาดหรือท้ายหาด(แล้วแต่ว่าช่วงที่ดำเนินการเติมทรายลมมรสุม พัดไปในทิศทางใด) แล้วอาศัยคลื่นลมธรรมชาติให้พัดทรายเข้าสู่หาดพร้อมกับรักษาสมดุลของหาดทราย ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งวิธีนี้ จะสามารถทำให้มีพื้นที่ชายหาดเพิ่มเป็น 30 เมตร และจะถูกกัดเซาะไปในระยะเวลา 10-15 ปี แล้วเติมทรายอีกครั้ง วิธีนี้จะทำให้คงสภาพความสวยงามของชายหาดตามธรรมชาติหรืออีกวิธีหนึ่งคือการ สร้างโครงสร้างยื่นเข้าลงทะเลในพื้นที่หัวหาดและท้ายหาดพร้อมกับการเติมทราย และอาศัยธรรมชาติดังเช่นแบบแรก จะสามารถเพิ่มพื้นที่ชายหาด และรักษาพื้นที่ชายหาดไว้ในระยะเวลา 20-25 ปี แล้วจึงเติมทรายเข้าไปอีกครั้ง ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้หลายประเทศใช้และได้ผลเป็นที่น่าพอใจทั้งในญี่ปุ่น สเปน หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์
“ปัจจุบันการเติมทรายเป็น วิธีที่ได้รับความนิยมเห็นผลชัดเจน และมีผลกระทบกับธรรมชาติน้อยที่สุด เพราะทรายที่จะนำมาเติมนั้น จะเป็นทรายจากชายหาดเดิมที่ถูกกัดเซาะและพัดออกไป จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าทรายเดิมของชายหาดพัทยาถูกพัดไปอยู่บริเวณเกาะ ล้าน ซี่งทางคณะนักวิจัยจะมีการสำรวจทรายเพิ่มเติม อย่างไรก็ดีนับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีของความร่วมมือระหว่าง กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศน์เชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเมืองพัทยา ที่จะได้ร่วมกันคืนทรายจากชายหาดที่หายไปให้กลับมาสู่ชายหาดเมืองพัทยาอีก ครั้ง ซึ่งหลังจากนี้ทางคณะวิจัยจะทำการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบของโครงการต่อสภาพแวดล้อมและชุมชน พร้อมกับการลงพื้นที่ให้ความรู้กับประชาชนและทำประชามติกับคนในชุมชนซึ่ง เป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และเป็นผู้เลือกวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดสำหรับชุมชนของตน ส่วนตัวคาดว่าการดำเนินการศึกษาทั้งหมดจะสามารถแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน พ.ศ.2554 และหากขั้นตอนต่างๆ ผ่านความเห็นชอบและได้รับการอนุมัติจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว จะใช้เวลาในการเติมทราย 1 ปี ชายหาดพัทยาจะกลับมามีสภาพดังเช่นปีพุทธศักราช 2495 ช่วยสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวและยังคงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนัก ท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ต่อไป ” ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลดีๆ จากหนังสือพิมพฺเดนินิวล์


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2011-06-17 18:10:26
mooham8247

mooham8247
#34
17-06-2011 - 18:20:50

#34 mooham8247  [ 17-06-2011 - 18:20:50 ]





quote : patty_zeeza

เตือน5ปีพัทยาหายจากแผนที่



วันนี้ (23ม.ค.) ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศน์เชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว ในการประชุมชี้แจงโครงการวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเพื่อส่งเสริมทรายชายหาด พัทยา ว่า ขณะนี้ ชายหาดพัทยามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก โดยมีสาเหตุจากตะกอนทรายที่เคยเติมให้อ่าวพัทยาจากตอนบนของลำน้ำลดน้อยลง การนำพาตะกอนของคลื่นมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการใช้ประโยชน์หรือกิจกรรมชายหาดที่เปลี่ยนไปในพื้นที่อ่าวพัทยา ล้วนส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายหาดพัทยารุนแรงมากขึ้น จากการศึกษาการกัดเซาะชายหาดพัทยาด้วยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Gis) และข้อมูลระยะไกล(RS) พร้อมกับการเปรียบเทียบข้อมูลภาพถ่ายปัจจุบันและภาพถ่ายในอดีตของสภาพชายหาด พัทยาและการลงพื้นที่สอบถามความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายหาดจากชาวบ้านที่ อยู่ในพื้นที่มานาน พบว่า ปัจจุบันพื้นที่ชายหาดลดลงจากในอดีตมาก มีความกว้างชายหาดเหลือเพียง 4-5 เมตร นับเป็นวิกฤติการณ์กัดเซาะหนัก หากไม่รีบแก้ไขจะกระทบภาพลักษณ์เมืองท่องเที่ยว ส่งผลต่อรายได้และการประกอบการด้านการท่องเที่ยวแน่นอน เสนอแนวทางการแก้ไข โดยใช้หลักวิชาการผสานสภาพภูมิอากาศธรรมชาติ คืนทรายให้ชายหาดให้พัทยาอีกครั้ง

“จากการเปรียบเทียบข้อมูลของ พ.ศ.2495,2510,2517,2539 และ 2545 พบว่า ชายหาดพัทยา มีการกัดเซาะที่รุนแรงในพื้นที่ตั้งแต่พัทยาเหนือถึงพัทยาใต้ระยะทางทั้ง สิ้น 2.7 กิโลเมตรจากชายหาดที่มีความสวยงามมากในปี พ.ศ.2495 มีพื้นที่หน้าหาดทั้งสิ้น 96,128.4 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 60 ไร่ ความกว้างเฉลี่ยของหน้าหาด 35.6 เมตร เทียบกับ พ.ศ.2545 เหลือพื้นที่หน้าหาด 50,500.7 ตารางเมตร หรือประมาณ 31 ไร่ ความกว้างหน้าหาด 18.7 เมตร กับข้อมูลจากการสำรวจล่าสุด พบว่าความกว้างหน้าหาดเหลือเพียง 4-5 เมตรเท่านั้น แม้ว่าเหตุการณ์กัดเซาะชายหาดจะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่หากไม่มีการช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางสภาวะแวดล้อมเชื่อว่าอีกไม่เกิน 5 ปี ชายหาดพัทยาจะหายไปทั้งหมด การสร้างโครงป้องกันชายหาด จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติการกัดเซาะได้” นักวิชาการ จุฬาฯ กล่าวและว่า
ขณะ นี้ ทางกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ร่วมมือกับ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศน์เชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเพื่อเสริมทรายบูรณะชายหาดพัทยา จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ชายหาดพัทยาเหนือ ตั้งแต่โรงแรมดุสิตรีสอร์ท ถึงชายหาดพัทยากลาง ระยะทาง 1,300 เมตร ช่วงที่ 2 จากชายหาดพัทยากลางถึงชายหาดพัทยาใต้ ระยะทาง 1,400 เมตร และช่วงที่ 3 ตั้งแต่ชายหาดพัทยาใต้ถึงแหลมบาลีฮาย ระยะทาง 1,780 เมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 4.48 กิโลเมตร โดยการใช้โครงสร้างแบบอ่อน คือการนำทรายที่ถูกกัดเซาะออกไปอยู่นอกชายฝั่งให้กลับมาโดยการเติมทราย ประมาณ 2 แสนคิวบริเวณหัวหาดหรือท้ายหาด(แล้วแต่ว่าช่วงที่ดำเนินการเติมทรายลมมรสุม พัดไปในทิศทางใด) แล้วอาศัยคลื่นลมธรรมชาติให้พัดทรายเข้าสู่หาดพร้อมกับรักษาสมดุลของหาดทราย ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งวิธีนี้ จะสามารถทำให้มีพื้นที่ชายหาดเพิ่มเป็น 30 เมตร และจะถูกกัดเซาะไปในระยะเวลา 10-15 ปี แล้วเติมทรายอีกครั้ง วิธีนี้จะทำให้คงสภาพความสวยงามของชายหาดตามธรรมชาติหรืออีกวิธีหนึ่งคือการ สร้างโครงสร้างยื่นเข้าลงทะเลในพื้นที่หัวหาดและท้ายหาดพร้อมกับการเติมทราย และอาศัยธรรมชาติดังเช่นแบบแรก จะสามารถเพิ่มพื้นที่ชายหาด และรักษาพื้นที่ชายหาดไว้ในระยะเวลา 20-25 ปี แล้วจึงเติมทรายเข้าไปอีกครั้ง ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้หลายประเทศใช้และได้ผลเป็นที่น่าพอใจทั้งในญี่ปุ่น สเปน หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์
“ปัจจุบันการเติมทรายเป็น วิธีที่ได้รับความนิยมเห็นผลชัดเจน และมีผลกระทบกับธรรมชาติน้อยที่สุด เพราะทรายที่จะนำมาเติมนั้น จะเป็นทรายจากชายหาดเดิมที่ถูกกัดเซาะและพัดออกไป จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าทรายเดิมของชายหาดพัทยาถูกพัดไปอยู่บริเวณเกาะ ล้าน ซี่งทางคณะนักวิจัยจะมีการสำรวจทรายเพิ่มเติม อย่างไรก็ดีนับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีของความร่วมมือระหว่าง กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศน์เชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเมืองพัทยา ที่จะได้ร่วมกันคืนทรายจากชายหาดที่หายไปให้กลับมาสู่ชายหาดเมืองพัทยาอีก ครั้ง ซึ่งหลังจากนี้ทางคณะวิจัยจะทำการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบของโครงการต่อสภาพแวดล้อมและชุมชน พร้อมกับการลงพื้นที่ให้ความรู้กับประชาชนและทำประชามติกับคนในชุมชนซึ่ง เป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และเป็นผู้เลือกวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดสำหรับชุมชนของตน ส่วนตัวคาดว่าการดำเนินการศึกษาทั้งหมดจะสามารถแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน พ.ศ.2554 และหากขั้นตอนต่างๆ ผ่านความเห็นชอบและได้รับการอนุมัติจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว จะใช้เวลาในการเติมทราย 1 ปี ชายหาดพัทยาจะกลับมามีสภาพดังเช่นปีพุทธศักราช 2495 ช่วยสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวและยังคงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนัก ท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ต่อไป ” ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลดีๆ จากหนังสือพิมพฺเดนินิวล์


พัทยาหาย โหดจัด
เเต่ดีเเล้วละ ไม่ได้อยู่ พัทยา


patty_zeeza

mooham8247
#35
17-06-2011 - 18:21:30

#35 mooham8247  [ 17-06-2011 - 18:21:30 ]





ดันๆ


patty_zeeza
#36
17-06-2011 - 18:28:46

#36 patty_zeeza  [ 17-06-2011 - 18:28:46 ]






วันนี้ไม่มีคำภามอ่ะ

mooham8247

mooham8247
#37
17-06-2011 - 18:35:44

#37 mooham8247  [ 17-06-2011 - 18:35:44 ]





quote : patty_zeeza



วันนี้ไม่มีคำภามอ่ะ


อ่าๆ ค่อยๆ คิดเดียวก็ได้เองเเหละ


patty_zeeza
#38
26-06-2011 - 11:53:22

#38 patty_zeeza  [ 26-06-2011 - 11:53:22 ]




เรื่องใหม่เอาเรื่องไรดีอ่ะ

mooham8247

patty_zeeza
#39
27-06-2011 - 22:43:56

#39 patty_zeeza  [ 27-06-2011 - 22:43:56 ]




ควันธูปภัยร้ายใกล้ตัว




ธูปทำมาจากขี้เลื่อย กาว น้ำมันหอมสกัดจากพืช ใบไม้ เปลือกไม้ รากไม้ เมล็ดพืช เรซิน และสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมพอกอยู่บนก้านไม้

ธูปมีหลายรูปแบบ หลายขนาด ตั้งแต่เล็กถึงใหญ่มาก ๆ สามารถเผาไหม้หมดได้ในเวลา 20 นาที ถึง 3 วัน 3 คืนก็มี คาดว่า มีคนจุดธูปทั่วโลกปีหนึ่ง ๆ เป็นหมื่น
ถึงแสนตัน

การเผาไหม้ของธูปจะปล่อยสารต่าง ๆ มากมาย มีทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ มีเทน และสารก่อ
มะเร็งหลายชนิด เช่น สาร PAH ซึ่งพบว่า มีความสัมพันธ์กับมะเร็งปอด ผิวหนัง และกระเพาะปัสสาวะ , สารเบนซีน สัมพันธ์กับมะเร็งเม็ดเลือดขาว และสาร 1,3-บิวทาไดอีน
สัมพันธ์กับมะเร็งของระบบเลือด

นอกจากควันธูปเป็นมลพิษทางอากาศที่สำคัญในบ้าน อาคาร สถานที่ทำงาน วัด และศาลเจ้าที่มีการจุดธูปแล้ว การจุดธูปยังถือเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมในกิจวัตร
ประจำวันของมนุษย์ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย

การจุดธูปเป็นวัฒนธรรมที่มีรากฐานจากความเชื่อที่มีมาแต่โบราณสืบทอดต่อ ๆ กันมาว่า ทำให้สิ่งที่เราสักการะรับทราบถึงการกระทำของเรา การจุดธูปนั้นก่อให้เกิด
ความสุขทางจิตใจ แต่สิ่งที่เราคาดไม่ถึงคือ การส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง

เราควรจะปรับเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมนี้ใหม่ โดยหันมาคำนึงถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและตัวเรา ด้วยการรณรงค์ให้ทั่วโลกลดการจุดธูปโดยเริ่มจากคนไทยก่อน



ทางเลือกใหม่…ใส่ใจสุขภาพ

1.ใช้ธูปที่มีขนาดสั้นลง หรือเป็นแบบชนิดไฟฟ้า

2.หากจำเป็นต้องจุดธูป ควรตั้งกระถางธูปไว้ภายนอกอาคารที่อากาศถ่ายเทสะดวก

3.จุดธูปแล้วรีบดับ โดยจุ่มลงในน้ำหรือทราย

4.อาจสักการะได้โดยการพนมมือ หรือถือธูปไว้ แต่ไม่จุด แล้วระลึกถึงสิ่งที่เราจะสักการะ

5.การไหว้พระออนไลน์ ซึ่งเราสามารถจุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ ปิดทองพระ ท่องบทสวด ภาวนาจิตผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้

หากทุกคนช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เราก็เป็นคนหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยในการลดการปลดปล่อยมลพิษ และก๊าซเรือนกระจก
ลดภาวะวิกฤติโลกร้อน และยังช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลงได้


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2011-06-27 22:53:18
mooham8247

funny1155
#40
27-06-2011 - 22:48:55

#40 funny1155  [ 27-06-2011 - 22:48:55 ]







โอ้ว!!



^^

ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก
ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก



โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ