สวัสดีค่ะ
วันนี้นำแนวทางในการเขียนต้นฉบับส่งสำนักพิมพ์มาให้
สำหรับใครๆที่ต้องการจะเขียนนิยายแล้วอยากจะเห็นผลงานของตัวเองออกมาเป็นรูปเล่มบ้าง
เลยจะเอาแนวทางในการเขียนต้นฉบับส่งสำนักพิมพ์มาฝากนะคะ
สารบัญ
-สำนักพิมพ์แจ่มใส #1
-สำนักพิมพ์ come on #1
-สำนักพิมพ์นกฮูก #1
-สำนักพิมพ์ชูการ์เรน #1
-สำนักพิมพ์เลิฟเบอรี่ #1
-สำนักพิมพ์ฟิสิกข์เซ็นเตอร์ #1
-สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์/พิมพ์คำ #1
-สำนักพิมพ์บงกช #14
-สำนักพิมพ์บลูเบลล์ #14
-สำนักพิมพ์ไฟน์บุ๊ค #14
-สำนักพิมพ์1168 พับลิชชิ่ง #14
-สำนักพิมพ์อักขระบันเทิง #14
-สำนักพิมพ์ทูบีเลิฟ #20
-สำนักพิมพ์เลมอน ที #20
-สำนักพิมพ์กรีนมายด์ พับลิชชิ่ง #20
-สำนักพิมพ์เรนโบว์ #20
-สำนักพิมพ์ศรีสยาม #20
สำนักพิมพ์แจ่มใส(สุดจะฮิตเลยตอนนี้)มาตรฐานต้นฉบับแจ่มใสเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน และความสะดวกในการจัดพิมพ์ ผู้ที่สนใจส่งเรื่องให้ทางสำนักพิมพ์พิจารณา
กรุณาจัดหน้าตามมาตรฐานดังนี้ค่ะ
1. จัดขอบบน ขอบล่าง ขอบซ้าย และขอบขวา ตามมาตรฐานที่โปรแกรม Word ตั้งไว้ คือ 2.54 ซม.
สำหรับด้านบนและด้านล่าง และ 3.17 ซม. สำหรับด้านซ้าย และด้านขวา
2. ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 pt.
3. ไม่จำเป็นต้องเว้นบรรทัดทุกครั้งที่ขึ้นย่อหน้าใหม่ ให้เว้นบรรทัดเฉพาะเวลาที่ต้องการขึ้นเรื่องราวใหม่
หรือคั่นแต่ละฉาก แต่ละตอนของเรื่องสั้นเท่านั้น
4. เมื่อขึ้นย่อหน้าใหม่ ให้ใช้ tab แทนการเคาะ space bar เว้นวรรค โดยระยะ tab ให้เป็นไปตาม
มาตรฐานที่โปรแกรม Word ตั้งไว้ตั้งแต่แรก
5. หลังเครื่องหมายอัศเจรีย์, ปรัศนีย์, จุลภาค, ไม้ยมก, วงเล็บ และเครื่องหมายอัญประกาศ ให้เคาะเว้น 1 เคาะ
6. ทุกครั้งที่เว้นวรรคให้เคาะเว้นเพียงเคาะเดียวเท่านั้น
7. ตรวจเช็คคำ และตัวสะกดให้ถูกต้องที่สุด (โชว์ความรู้ภาษาไทยกันได้เต็มที่ค่ะ)
ทั้งนี้เพื่อความสบายตา และความสะดวกในการพิจารณางานของกองบก. นะคะ และหากเรื่องของท่านใด
ได้ตีพิมพ์ก็จะประหยัดเวลาในการพิสูจน์อักษร และจัดวางหน้าด้วยค่ะ (หนังสือจะได้รับการตีพิมพ์เร็วๆ ไงคะ)
ส่งต้นฉบับยังไงให้โดน!!! เพื่อนๆ หลายคนใฝ่ฝันอยากเป็นนักเขียน ลงมือเขียนก็แล้ว แต่ยังกล้าๆ กลัวๆ จะส่งมาให้ทางสำนักพิมพ์พิจารณา มีหลายๆ คำถามที่ส่งเข้ามาถามเรื่องการส่งต้นฉบับ วันนี้แจ่มใสเลยขอรวบรวมหลักเกณฑ์คร่าวๆ ในการส่ง เพื่อที่เพื่อนๆ จะได้ส่งต้นฉบับมาให้โดนใจคณะกรรมการ (เอ้ย กองบรรณาธิการ) ทำให้พิจารณาได้รวดเร็ว ว่องไว และตอบผลกลับได้ตามระยะเวลาค่ะ
ส่งเรื่องทั้งหมด ย้ำนะคะ... ให้ส่งตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ยิ่งถ้ามีเรื่องย่อแนบมาด้วยจะดีมากค่ะ ^^ แต่อย่าส่งแค่ตอนที่ 1 หรือบทนำ แปะมาในอีเมล์ โดยไม่มีเกริ่นนำอะไรนะคะ บางทีแจ่มใสเลยไม่รู้ว่า เพื่อนๆ ส่งมาให้อ่านเล่นเฉยๆ รึเปล่า ^^'' เพราะมาแค่สั้นๆ แล้วหายไป ทำไมถึงต้องส่งทั้งหมด ... คำตอบก็คือ การจะพิจารณาเรื่องสักเรื่องนึงเพื่อตีพิมพ์เป็นหนังสือ ทางกองบ.ก. จะไม่สามารถพิจารณาโดยอ่านแค่ 4-5 หน้าได้ แล้วหากเพื่อนๆ ค่อยๆ ส่งมาทีละตอน ก็จะยิ่งติดตามเรื่องยากมาก เพราะวันนึงมีต้นฉบับเข้ามาหลายสิบ อ่านตอนนึง แล้วข้ามไปอีกสองสัปดาห์ กว่าจะเจอตอนที่สอง ถึงเวลานั้นก็ลืมแล้วค่ะ และอาจจะไม่ปะติดปะต่อ หรือเกิดตกหล่นได้ง่ายอีกด้วย เพราะฉะนั้น การส่งต้นฉบับทั้งหมดเข้ามาในคราวเดียว จะทำให้คิวในการพิจารณาของคุณชัดเจน และได้รับผลตามระยะเวลากำหนดด้วยค่ะ
-
ส่งทางไหนได้บ้าง ทางอีเมล์ค่ะ ขอให้เป็นการแนบไฟล์ .doc หรือ .zip นะคะ (การบีบอัดไฟล์แบบอื่นๆ เช่น .rar เกรงว่าจะมีผลในการเปิดไฟล์ค่ะ) และไม่ควรแปะเนื้อเรื่องลงมาในอีเมล์เลยนะคะ เพราะข้อความอาจจะมาไม่ครบถ้วน ทางที่ดี ใส่ word แล้ว attach file มากับอีเมล์จะปลอดภัยที่สุดค่ะ
ส่วนทางไปรษณีย์ ก็ขอให้เป็นสำเนาต้นฉบับ จะพิมพ์หรือเขียนก็ได้ค่ะ แต่ถ้าเขียนขอเป็นลายมืออ่านง่ายนะคะ ที่ต้องเป็นสำเนา เพราะทางเราจะไม่คืนต้นฉบับให้ค่ะ
-
ต้องยาวแค่ไหน ถ้าหากต้องการส่งเป็นนวนิยาย ควรจะยาว 80 หน้า A4 ขึ้นไปค่ะ (ใช้ font cordia UPC หรือ cordia new ที่ขนาด 14 pt.) หากเป็นเรื่องสั้น (เช่น ความรู้สึกดี... ที่เรียกว่ารัก) ก็ควรจะอยู่ระหว่าง 10-35 หน้า A4
-
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าแจ่มใสได้รับแล้วหรือยัง ถ้าส่งเข้ามาทางไปรษณีย์ ขอให้โทรเข้ามาตรวจสอบหลังจากส่งแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ค่ะ แต่ถ้าส่งเข้ามาทางอีเมล์ ทางเราจะมีอีเมล์ยืนยันว่าได้รับต้นฉบับแล้ว แจ้งกลับไปภายใน 1 สัปดาห์ค่ะ
-
แล้วนานแค่ไหนถึงจะได้รับผล ประมาณ 2-3 เดือนค่ะ ไม่ว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน ทางเราก็จะแจ้งกลับไปให้ทราบนะคะ แต่ถ้าใครเกิน 3 เดือนไปแล้ว ยังไม่ได้รับผลการพิจารณา ให้ติดต่อเข้ามาสอบถามได้ทันทีค่ะ เพราะอาจเกิดกรณีส่งอีเมล์แจ้งไปแล้ว แต่อีเมล์ตกหล่นไปไม่ถึง หรือไปอยู่ใน junk mail ทำให้เพื่อนๆ ไม่ได้รับผลการพิจารณาค่ะ
-
นอกจากต้นฉบับแล้วต้องส่งอะไรไปอีกไหม แนบประวัติคร่าวๆ ของคุณมาเพื่อให้เรารู้จักกันมากขึ้นก็ดีค่ะ ถ้าเคยมีผลงานการตีพิมพ์หนังสือเป็นเล่มแล้ว ก็เล่าให้เราฟังด้วยก็ได้ ถ้าแนวเรื่องที่คุณส่งให้พิจารณา เป็นแนวที่แจ่มใสมีการผลิตอยู่ คุณสามารถระบุได้เลยว่า เป็นหนังสือแนวไหน เช่น ความรู้สึกดี... ที่เรียกว่ารัก หรือ Jamsai Love Series เพราะจะทำให้เราแยกแยะต้นฉบับส่งไปยังบ.ก.แนวต่างๆ ได้เร็วและง่ายขึ้นค่ะ ที่สำคัญ ตั้ง subject ในการส่งอีเมล์ให้ชัดเจน ว่าเป็นการส่งต้นฉบับ (ถ้าเป็นภาษาไทยจะดีมาก) เพราะเห็นได้ชัดเจน เนื่องจากวันหนึ่งๆ มีอีเมล์เข้ามาที่ editor@jamsai.com เป็นร้อยฉบับเลยค่ะ
-
มารยาทในการส่งอื่นๆ เพื่อนๆ ควรส่งต้นฉบับเรื่องหนึ่งไปยังสำนักพิมพ์แห่งเดียวในแต่ละครั้งนะคะ การส่งหาหลายๆ สำนักพิมพ์ในคราวเดียวกัน อาจทำให้เกิดปัญหาตามมา ในกรณีที่มีบางสำนักพิมพ์สนใจต้นฉบับของคุณพร้อมๆ กัน แน่นอนว่าดีตรงที่คุณมีโอกาสเลือก แต่หากมองในแง่ของสำนักพิมพ์ บางทีบางแห่งอาจตัดปัญหาด้วยการไม่รับต้นฉบับนั้นๆ ไปเลย ตามมารยาทของนักเขียนแล้ว จะส่งต้นฉบับเรื่องหนึ่งไปยังสำนักพิมพ์เดียวที่เลือกแล้วว่าตรงกับแนว หรือคุณอยากร่วมงานด้วยมากที่สุดค่ะ รอจนครบกำหนดระยะเวลาที่เขาแจ้งไว้ว่าจะพิจารณา หากเกินแล้วยังไม่ทราบผล ให้ลองติดต่อสอบถามเข้าไปดู ถ้าคิดจะเปลี่ยนใจส่งไปยังสำนักพิมพ์แห่งอื่น ควรแจ้งด้วยโทรศัพท์หรืออีเมล์ไปยังสำนักพิมพ์นั้นๆ ก่อน ว่าจะขอถอนเรื่องที่เคยส่งพิจารณาไว้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาทีหลังค่ะ
-
ไฟล์ต้นฉบับควรจัดพิมพ์อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย อ่านง่าย และใส่ใจในเรื่องตัวสะกดมากๆ ค่ะ ถึงแม้ว่าหากได้รับการตีพิมพ์ จะมีขั้นตอนของการพิสูจน์อักษรก็ตาม แต่การใช้คำ ใช้ภาษา และเรื่องตัวสะกดก็เป็นสิ่งสำคัญสิ่งแรกๆ ที่นักเขียนควรแสดงความใส่ใจ
-
เกณฑ์การพิจารณาเป็นยังไง การพิจารณานวนิยายหรือเรื่องสั้นซักเรื่อง ทางทีมงานจะดูตั้งแต่พล็อตเรื่องหลัก พล็อตเรื่องย่อย การดำเนินเรื่อง สำนวนภาษาทั้งบทสนทนาและบทบรรยาย ตัวละคร ความสมจริงของเหตุและผลในเรื่อง ความเหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรม มีหลายปัจจัยประกอบกันค่ะ ยังไงเพื่อนๆ สามารถลงเรื่องไว้ในแบ่งกันอ่าน เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนนักอ่านคนอื่นๆ แต่หากต้องการส่งพิจารณา จะต้องส่งมาให้ทางแจ่มใสโดยตรงนะคะ เพราะการลงเรื่องในแบ่งกันอ่าน ไม่ถือว่าเป็นการส่งต้นฉบับเข้ามาเพื่อพิจารณาค่ะ
แนวทางภาคปฏิบัติในการผลิตงานเขียน A. กรณีที่เป็นหนังสือซึ่งคุณเขียนขึ้นเอง 1. กำหนดเรื่องที่จะเขียน คุณควรวางแผนเสียก่อนว่า อยากจะเขียนหนังสืออะไร รูปแบบการนำเสนอเป็นอย่างไร กลุ่มคนอ่านคือคนกลุ่ม ไหน กำหนดระยะเวลาคร่าวๆ ขึ้นมา ว่าจะเริ่มเขียนเมื่อไหร่ และควรจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่
2. กำหนดเค้าโครงเรื่อง เริ่มลงรายละเอียดในแผนงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าเป็นหนังสือแนววรรณกรรมหรือนวนิยาย ก็ควรเริ่มวางพลอต เรื่องและตัวละครต่างๆ เอาไว้คร่าวๆ แต่ถ้าเป็นหนังสือสารคดีหรือหนังสือวิชาการ ก็ควรกำหนดเนื้อหาของหนังสือว่า จะมีกี่บท แต่ละบทจะกล่าวถึงเรื่องอะไรบ้าง ถึงขั้นตอนนี้คุณน่าจะพอมองเห็นว่าหนังสือของคุณมีความยาวประมาณ เท่าใดแล้ว
3. หาข้อมูล/วัตถุดิบ จากแผนงานที่คุณวางไว้ คุณควรทราบแล้วว่า คุณต้องการข้อมูลหรือวัตถุดิบ เช่น ภาพถ่ายหรือเอกสารประกอบ อะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าใดจึงจะพอสำหรับงานเขียนของคุณ หรือถ้าหากจะต้องมีการสัมภาษณ์บุคคล หรืองานภาค สนามต่างๆ ก็เริ่มกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนเลยว่าจะทำเมื่อใด หรือจะต้องนัดหมายประสานงานกับใครบ้าง
4. ลงมือเขียน เริ่มลงมือเขียนเลย อย่าลืมให้ความสำคัญกับการจัดการเวลา เช่น สิ้นเดือนนี้จะต้องเขียนเสร็จกี่เปอร์เซ็นต์ จะปิดเล่มได้เมื่อไหร่ ระหว่างนี้ถ้าคุณจะเริ่มติดต่อสำนักพิมพ์เพื่อเสนอตัวอย่างผลงานบางส่วนก่อนก็สามารถทำได้ เลย อ้อ เวลาเขียนหนังสืออย่าลืมหาพจนานุกรมติดตัวเอาไว้ด้วย หนังสือของคุณจะได้ไม่มีภาษาวิบัติ
5. ขัดเกลาสำนวน เมื่อเขียนจนเสร็จบริบูรณ์แล้ว ควรหาเวลานั่งอ่านต้นฉบับรวดเดียวให้จบเลย จะอ่านด้วยตัวเองหรือวานเพื่อน ฝูงมาช่วยอ่านก็ตามสบาย นอกจากตรวจสอบคำสะกดต่างๆ ให้ถูกต้องแล้ว ควรมีการขัดเกลาสำนวนในบางจุดที่คุณ ยังไม่พอใจ ให้มีความสละสลวยทางภาษามากยิ่งขึ้น
6. เสนองาน นำต้นฉบับที่เสร็จสมบูรณ์แล้วของคุณ ไปเสนอแก่สำนักพิมพ์ที่คุณคิดว่าเหมาะสม แล้วสอบถามให้ชัดเจนว่า จะต้องใช้เวลาในการพิจารณางานของคุณนานเท่าใด หากต้องการทราบความคืบหน้าให้สอบถามจากใคร ตำแหน่ง อะไร
ถ้าคุณต้องการเสนอผลงานให้ทางสำนักพิมพ์แจ่มใสพิจารณา การส่งต้นฉบับอาจส่งโดยทางอีเมล์ editor@jamsai.com ก็น่าจะสะดวกดีกับทุกฝ่าย ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย โดยต้นฉบับควรเป็นไฟล์เอกสาร ของไมโครซอฟต์เวิร์ด (95 หรือ 97 ก็ได้) และถ้ามีภาพประกอบก็ควรเป็นไฟล์นามสกุล .TIF หรือ .EPS (ที่ความละเอียด 150-300 DPI) อย่าใช้ภาพกราฟฟิคนามสกุล JPEG หรือ GIF เพราะภาพอาจมีความละเอียดต่ำ เกินกว่าจะนำไปใช้ในงานสิ่งพิมพ์
7. ติดตามผล การติดตามผลงาน อย่าลืมระวังเรื่องของกาละเทศะด้วย นักเขียนบางคนนั้น จะด้วยความตื่นเต้นหรืออย่าง ไรก็ไม่ทราบ โทรศัพท์วันละหลายครั้งเพื่อสอบถามความคืบหน้า จนถึงขนาดสร้างความรำคาญและบรรยากาศ ที่ไม่ดี ระหว่างตัวนักเขียนกับเจ้าหน้าที่กองบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ที่ไปเสนองาน ส่วนบางคนนั้น หลังจาก ที่เสนองานให้ไปพิจารณาแล้ว กลับไม่กล้าติดต่อไปหาอีกเลย เพราะเกรงว่าจะไปกวนใจเขา หลายเดือนผ่าน ไปปรากฏว่าเขาลืมไปแล้ว พอไปถาม เขาเพิ่งหยิบเรื่องออกมา แล้วให้ร้องเพลงรอต่อไป
8. ประชาสัมพันธ์ เมื่อคุณหาสำนักพิมพ์ที่จะรองรับงานของคุณได้แล้ว อยากแนะนำให้คุณประชาสัมพันธ์หนังสือของคุณเอง ด้วยอีกแรงหนึ่ง จะดีกว่าการไปรอให้สำนักพิมพ์เขาจัดการให้อย่างเดียว คำว่า "ประชาสัมพันธ์" มาจาก ประชา + สัมพันธ์ ดังนั้นในฐานะนักเขียน คุณควรสร้างความสัมพันธ์กับชาวบ้านเขาให้มาก กรณีนี้พวกดาราหรือคน ดังเขาจะได้เปรียบ เพราะเวลาเปิดตัวหนังสือคนดัง สื่อต่างๆ ก็มักจะให้ความสนใจ แต่ถ้าคุณเป็นลูกชาวบ้าน ธรรมดาก็ไม่เป็นไร ทำเท่าที่กำลังของคุณจะอำนวย อย่าฝืนทำจนเกินตัว เกินกำลังไป จะกลายเป็นผลเสีย มากกว่าผลดี
--------------------------------------------------------------------------------
B. กรณีที่เป็นหนังสือซึ่งแปลมาจากหนังสือต่างประเทศ 1. เสนอเรื่อง ถ้าคุณเป็นนักอ่านหนังสือต่างประเทศอยู่เป็นประจำ หากคุณพบหนังสือที่มีเนื้อหาสาระดี น่าแปลออกมา เป็นหนังสือภาษาไทย คุณสามารถแจ้งความประสงค์ไปยังสำนักพิมพ์ที่คุณสนใจจะร่วมงาน เพื่อให้เขาติดต่อ ซื้อลิขสิทธิ์ของหนังสือนั้นมาเพื่อพิมพ์จำหน่ายเป็นภาษาไทย
สำหรับสำนักพิมพ์แจ่มใส คุณสามารถส่งเรื่องมาที่ editor@jamsai.com โดยระบุชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อสำนักพิมพ์ต่างประเทศ และเนื้อเรื่องโดยย่อของหนังสือเล่มนั้น ตลอดจนจุดเด่นที่คุณคิดว่าน่าสนใจ
2. ติดต่อลิขสิทธิ์ ควรให้สำนักพิมพ์ที่คุณติดต่อ เป็นผู้ดำเนินการประสานงานกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในต่างประเทศ อย่าเพิ่งรีบ แปลโดยเด็ดขาด จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งกระบวนการนี้บางครั้งใช้ เวลาค่อนข้างนาน คงต้องอดทนรอคอยไปก่อน เมื่อติดต่อลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงค่อยเจรจาในราย ละเอียดกับสำนักพิมพ์นั้นอีกครั้ง ว่าคุณจะได้ค่าเหนื่อยเท่าใด
3. เริ่มลงมือแปล ในการแปลหนังสือภาษาต่างประเทศไทยเป็นภาษาไทยนั้น ถ้าพอมีเวลา ผมอยากแนะนำให้คุณอ่าน หนังสือที่ต้องการแปล ตั้งแต่ต้นจนจบอย่างน้อย 2-3 รอบ พยายามสรุปเนื้อความและบรรยากาศ ตลอดถึง อารมณ์ที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดมาสู่ผู้อ่านให้เข้าใจเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยเริ่มลงมือแปล งานแปลของคุณ ก็จะราบรื่นยิ่งขึ้น ไม่ใช่เป็นการแปลแบบคำต่อคำ ซึ่งบางทีเมื่อเรียงเป็นประโยคแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง นอกจากนี้ยังอาจมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางตอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของนักอ่านชาวไทยด้วย แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่การดัดแปลงไปจากเดิมมากจนเกินไป
ข้อมูลจาก : www.jamsai.com
สำนักพิมพ์ come onสำนักพิมพ์รับต้นฉบับแนวไหนบ้าง ปัจจุบัน เรารับพิจารณา เรื่องยาว ไม่จำกัดแนวค่ะ ทั้งแนว วัยรุ่น , รัก , โรแมนติก , แฟนตาซี , ลึกลับ , สยองขวัญ อ่านแล้วชอบ ก็จัดพิมพ์ค่ะ สำนักพิมพ์ไม่จำกัดตัวเองอยู่ที่แนวใดแนวหนึ่ง ถ้าต้นฉบับดีจริงๆก็ได้พิมพ์แน่นอน
ยังเขียนไม่จบ ส่งต้นฉบับให้พิจารณาได้ไหม ไม่ได้จ้ะ เขียนจบแล้วส่งมาให้พิจารณาทั้งเรื่องในทีเดียวเลยดีกว่าค่ะ
ต้นฉบับมีมาตรฐานอย่างไร จัดหน้าตามมาตรฐาน ขอบบน ล่าง ซ้าย ขวา ตามที่โปรแกรม Microsoft Word ตั้งไว้
เป็นเอกสารรูปแบบไฟล์ Microsoft Word ใช้ฟอนท์ Cordia หรือ Angsana ขนาด 14 Pt.
เว้นวรรค ให้เคาะspacebarเพียงหนึ่งเคาะ
ไม่ต้องเว้นบรรทัดทุกครั้งที่ขึ้นย่อหน้าใหม่ ให้เว้นบรรทัดเฉพาะเวลาขึ้นเรื่องราวใหม่ คั่นฉาก หรือคั่นตอน เท่านั้น
ขึ้นย่อหน้าใหม่ให้ใช้ Tab
ขึ้นตอนใหม่ หรือ บทใหม่ ไม่ต้องขึ้นหน้ากระดาษใหม่
ตรวจเช็คคำศัพท์และตัวสะกดให้ถูกต้องที่สุด
กรณีเรื่องยาว ควรไม่น้อยกว่า 100 หน้ากระดาษ A4
ควรเขียน ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ หรือเบอร์โทรที่ติดต่อได้ ไว้ในต้นฉบับด้วย
พิจารณาต้นฉบับนานเท่าไรคะ ไม่เกิน 3 เดือนค่ะ หากต้นฉบับผ่าน สำนักพิมพ์จะติดต่อกลับไปไม่เกิน 3 เดือน หากเกิน 3 เดือนไปแล้ว ก็หมายถึงต้นฉบับไม่ผ่านค่ะ
ทั้งนี้ ถ้าเป็นช่วงงานมหกรรมหนังสือ ก็จะช้าหน่อยนะคะ
และ ถ้าสงสัยว่าต้นฉบับของตนเองอยู่ในขั้นตอนไหน (รอคิวอ่าน | กำลังอ่าน | ผ่าน | ไม่ผ่าน ) ก็เมลมาถามกันได้ เพราะต้นฉบับที่อ่านแล้ว บางที ก็ไม่มีชื่อ อีเมล์ หรือ เบอร์โทรศัพท์ ให้ติดต่อกลับ
ส่งต้นฉบับทางไหนได้บ้าง ส่งต้นฉบับได้สองทางค่ะ
1. ทางอีเมล์ klui@emotionway.com
ใช้ subject ว่า "ส่งต้นฉบับเพื่อพิจารณา"
ให้ attach ไฟล์ Microsoft Word ต้นฉบับ เขียนชื่อหรือนามปากกา และแนะนำตัวเองมาสั้นๆ
หากไฟล์มีขนาดใหญ่ ให้ zip มาด้วย
2. ทางไปรษณีย์
ส่งมาเป็นแผ่นดิสก์(Floppy Disk) หรือ แผ่นซีดี(CD) เท่านั้น
และสำนักพิมพ์จะไม่มีการส่งต้นฉบับคืน
ให้ เขียนชื่อ หรือ อีเมล์ หรือ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ มาด้วย
ส่งถึง
สำนักพิมพ์สีม่วงอ่อนและCome On
45/16 ม.เพชรอำไพ
ต.คลองสาม อ.คลองหลวง
จ.ปทุมธานี 12120
(วงเล็บมุมซองด้วยว่า ต้นฉบับเพื่อพิจารณา)
แปะในเว็บจะได้รับการพิจารณาหรือไม่
ได้รับพิจารณาก่อนใครเลยค่ะ เพราะถือว่า นักเขียนเข้ามาแปะเรื่องในเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ก็เพื่อต้องการเสนอผลงานอยู่แล้ว และยังแสดงว่า นักเขียนได้รู้จักสำนักพิมพ์พอสมควร ดังนั้นเราต้องเข้ามาค้นหาต้นฉบับในเว็บของสำนักพิมพ์ก่อนแน่นอนค่ะ
หากงานไม่ผ่าน สำนักพิมพ์จะแจ้งให้ทราบหรือไม่ กรณีส่งทางอีเมล์ จะแจ้งผลกลับไปยังอีเมล์ที่ส่งผลงานมา ดังนั้นควรใช้อีเมล์ที่ใช้งานจริง เพื่อติดต่อได้อย่างรวดเร็ว
กรณีส่งทางไปรษณีย์ จะแจ้งผลกลับไปยังอีเมล์ที่แนบมาด้วยค่ะ
จำกัดอายุนักเขียนหรือไม่ ไม่จำกัดค่ะ จะอายุเท่าไร ถ้ามีใจจะเขียนนิยาย ก็ส่งมาได้เลย
ต้องส่งภาพปกมาพร้อมต้นฉบับหรือไม่ ไม่ต้องค่ะ ถ้าต้นฉบับผ่านแล้ว ค่อยคุยกันในขั้นตอนต่อไปค่ะ ทางสำนักพิมพ์จะมีนักวาดที่วาดประจำอยู่แล้วค่ะ
ส่งต้นฉบับเป็นลายมือได้ไหม ไม่ได้ค่ะ เพราะไม่สะดวกในการอ่านของกองบก.ค่ะ
เขียนให้จบแล้วนำมาพิมพ์เป็นไฟล์ ถือเป็นการอ่านทวนต้นฉบับอีกที จะเห็นคำผิดและขัดเกลาต้นฉบับได้อีกขั้นนะคะ
การพิจารณา อ่านเฉพาะเรื่องย่อ หรืออ่านจนจบคะ อ่านตั้งแต่ต้นจนจบค่ะ
ต้นฉบับผ่านหรือไม่ผ่าน พิจารณาจากอะไรบ้างคะ สำนักพิมพ์พิจารณา สำนวน การใช้ภาษา การดำเนินเรื่อง และพล๊อต ที่สำคัญต้องเขียนภาษาไทยถูกต้อง (หากเขียน เธอ เป็นเทอ เขียนใจ เป็นจัย สำนักพิมพ์สงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาต้นฉบับนั้น)
ส่งต้นฉบับทีละหลายๆสำนักพิมพ์ได้หรือเปล่าคะ หากสำนักพิมพ์ตรวจสอบ พบว่านักเขียนส่งต้นฉบับหลายสำนักพิมพ์พร้อมๆกัน สำนักพิมพ์สงวนสิทธิ์ ไม่พิจารณาต้นฉบับนั้น โดยไม่ต้องแจ้งให้นักเขียนทราบค่ะ
ข้อมูลจาก :
http://www.emotionway.com/สำนักพิมพ์นกฮูกวิธีการส่งต้นฉบับมาให้ทาง สำนักพิมพ์ นกฮูก พิจารณา1. ความยาวของเรื่องไม่ต่ำกว่า 80 หน้า A4 จัดหน้าแบบปกติ (ใช้ตัวหนังสือ Cordia หรือ Angsana ขนาด 14) ขึ้นไป ไม่เว้นบรรทัดบทสนทนา และ ขึ้นย่อหน้าใหม่โดยไม่เว้นบรรทัด
2. ไม่จำกัดแนวการเขียน จะเป็นแนวโรแมนติก อิโรติก คอมเมดี้ ลึกลับสยองขวัญ แฟนตาซี วิทยาศาสตร์ ก็ได้ ต้นฉบับบันทึกเป็นไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด (.doc) ต้องเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเองไม่ได้คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง และไม่เคยตีพิมพ์กับสนพ. อื่นมาก่อน
3. เขียนสรุปเนื้อเรื่องย่อของนิยายทั้งหมด อธิบายพอให้ทราบพล็อตเรื่องคร่าวๆ ความยาวไม่เกิน 2 หน้า A4 ใช้ตัวหนังสือ Cordia หรือ Angsana ขนาด 14 (แยกเป็นไฟล์ต่างหากกับตัวต้นฉบับ) ส่งต้นฉบับพร้อมกับประวัติสั้นๆ ของผู้เขียน เช่น ชื่อนามสกุล ชื่อเล่น อายุ เบอร์โทรศัพท์และอีเมลล์ที่ติดต่อได้อย่างสะดวก ส่งมาที่ nikom105@gmail.com หรือ nikom105@hotmail.com
ข้อมูลจาก :
http://www.nokhook.co.th/สำนักพิมพ์ชูการ์เรน สำนักพิมพ์รับต้นฉบับแนวไหนบ้าง สำนักพิมพ์รับพิจารณาต้นฉบับ ไม่จำกัดแนว ได้แก่ นวนิยาย กุ๊กกิ๊กสดใสวัยรุ่น , รัก , โรแมนติก , ลึกลับสยองขวัญ , จิตวิทยาความรัก / กำลังใจ , บทความ , ฮาวทู หรืองานไอเดียแปลกๆ ที่ดูน่าสนใจ พูดกันง่ายๆ ก็คือ ขอเชิญนักเขียนและนัก (อยาก) เขียน ทุกคนส่งมาได้เลยค่ะ
ยังเขียนไม่จบ ส่งต้นฉบับให้พิจารณาได้ไหม ผลงานที่ยังเขียนไม่จบจะยากต่อการพิจารณา ควรเขียนให้จบก่อนแล้วค่อยส่งมาให้พิจารณาดีกว่าค่ะ
ต้นฉบับมีมาตรฐานอย่างไร จัดหน้าตามมาตรฐาน ขอบบน ล่าง ซ้าย ขวา ตามที่โปรแกรม Microsoft Word ตั้งไว้ เป็นเอกสารรูปแบบไฟล์ Microsoft Word ใช้ฟอนท์ Cordia หรือ Angsana ขนาด 14 Pt. เว้นวรรค ให้เคาะspacebarเพียงหนึ่งเคาะ ไม่ต้องเว้นบรรทัดทุกครั้งที่ขึ้นย่อหน้าใหม่ ให้เว้นบรรทัดเฉพาะเวลาขึ้นเรื่องราวใหม่ คั่นฉาก หรือคั่นตอน เท่านั้น ขึ้นย่อหน้าใหม่ให้ใช้ Tab ตรวจเช็คคำศัพท์และตัวสะกดให้ถูกต้องที่สุด
* กรณีเรื่องยาว ควรไม่น้อยกว่า 100 หน้ากระดาษ A4 ควรเขียน ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ หรือเบอร์โทรที่ติดต่อได้ ไว้ในต้นฉบับด้วย
พิจารณาต้นฉบับนานเท่าไร ไม่เกิน 1 เดือน หากต้นฉบับผ่าน สำนักพิมพ์จะติดต่อกลับภายใน 1 เดือน หากเกิน 1 เดือนไปแล้ว ก็หมายถึงต้นฉบับไม่ผ่านค่ะ ถ้ามีข้อสงสัยว่าต้นฉบับของตนเองอยู่ในขั้นตอนไหนก็เมลมาถามกันได้ เพราะบางทีไม่มีชื่อ อีเมล์ หรือ เบอร์โทรศัพท์ ให้ติดต่อกลับ
(อย่าลืมเขียน ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ไว้ในต้นฉบับด้วย)
ส่งต้นฉบับได้สองทางค่ะ
1. ทางอีเมล์ editor@sugarrainbooks.com ใช้ subject ว่า "ส่งต้นฉบับเพื่อพิจารณา" ให้ attach ไฟล์ Microsoft Word ต้นฉบับ เขียนชื่อหรือนามปากกา และแนะนำตัวเองมาสั้นๆ หากไฟล์มีขนาดใหญ่ ให้ zip มาด้วย
แปะในเว็บจะได้รับการพิจารณาหรือไม่ ได้ค่ะ อาจเร็วกว่าเกณฑ์พิจารณาปกติ เพราะมีโอกาสได้อ่านเรื่องในเว็บไซต์ก่อน ถ้าเข้าตาสำนักพิมพ์จะติดต่อ กลับทันทีค่ะ
หากงานไม่ผ่าน สำนักพิมพ์จะแจ้งให้ทราบหรือไม่ กรณีส่งทางอีเมล์ จะแจ้งผลกลับไปยังอีเมล์ที่ส่งผลงานมา ดังนั้นควรใช้อีเมล์ที่ใช้งานจริง เพื่อติดต่อได้ อย่างรวดเร็ว กรณีส่งทางไปรษณีย์ จะแจ้งผลกลับไปยังอีเมล์ที่แนบมาด้วยค่ะ * ในกรณีสุดวิสัยที่ติดต่อแจ้งกลับไม่ได้ หากนานเกินกว่า 1 เดือน ให้ถือว่าต้นฉบับนั้นไม่ผ่านการพิจารณา
การพิจารณา อ่านเฉพาะเรื่องย่อ หรืออ่านจนจบคะ อ่านตั้งแต่ต้นจนจบค่ะ
ต้นฉบับผ่านหรือไม่ผ่าน พิจารณาจากอะไรบ้างคะ สำนักพิมพ์พิจารณา สำนวน การใช้ภาษาที่สะกดคำถูกต้อง การดำเนินเรื่อง และพล็อต
ส่งต้นฉบับทีละหลายๆสำนักพิมพ์ได้หรือเปล่าคะ ไม่ควรส่งต้นฉบับหลายสำนักพิมพ์พร้อมๆกันค่ะ และสำนักพิมพ์อาจจะไม่พิจารณาต้นฉบับนั้น โดยไม่ต้องแจ้งให้นักเขียนทราบค่ะ
ข้อมูลจาก : www.dek-d.com
สำนักพิมพ์เลิฟเบอรี่การส่งต้นฉบับเพื่อให้สำนักพิมพ์เลิฟเบอรี่พิจารณามีดังนี้ค่ะ
ข้อ 1. ต้นฉบับ พิมพ์ต้นฉบับงานเขียนลงในกระดาษขนาด A4 และอย่าลืมเซฟไฟล์งานเก็บไว้ที่ตัวเองด้วยนะจ๊ะ เพราะเลิฟเบอร์รี่จะขออุ๊บอิ๊บเก็บไว้เลย ไม่มีการส่งต้นฉบับกลับคืนไปให้จ้ะ อ้อ ! อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากๆ เลยจ้ะ ต้องทำตามการพิมพ์ต้นฉบับที่เลิฟเบอร์รี่แนะนำด้วยนะจ๊ะ และจะเยี่ยมมากๆ ถ้าก่อนส่งอ่านตรวจทานคำผิดอีกครั้งหนึ่ง
ข้อ 2. เรื่องย่อ ข้อนี้เป็น ‘ใบเบิกทาง’ ชั้นยอดที่ทำให้ผลงานได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว หลักการเขียนเรื่องย่อก็คือ ย่อเรื่องให้กระชับ และน่าสนใจ ความยาวประมาณ 1-2 หน้ากระดาษ A4 ข้อนี้ไม่ยากเกินฝีมือนักเขียนอย่างเธอหรอกใช่ม้า...
ข้อ 3. แนะนำตัวเอง นักเขียนหน้าใหม่ใสกิ๊งรายงานตัวครับผ๊ม !!! แค่ประโยคนี้ยังไม่พอจ้ะ สิ่งที่เขียน (หรือพิมพ์) ลงในกระดาษอย่างน้อยต้องมี ชื่อ-นามสกุล-ชื่อเล่น / นามปากกา / ที่อยู่ / เบอร์โทรศัพท์ / e-mail address (ถ้ามี) ถึงจะครบถ้วนกระบวนความจ้ะ
ข้อ 4. การส่งงานเพื่อพิจารณา รวบรวมข้อ 1-3 (ต้นฉบับ-เรื่องย่อ-แนะนำตัวเอง) มาอยู่ปึ้กเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องเข้าเล่มเป็นปกสวยงามหรอกนะจ๊ะ แค่เย็บแม็ค หรือหนีบรวมกันก็โอเคจ้ะ นำใส่ซองแล้วจัดส่งมาทางไปรษณีย์มาที่
สำนักพิมพ์เลิฟเบอร์รี่บุ๊ค
105/158 บ้านบัวทอง (ซอย 20/4)
ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
ย้ำอีกครั้งกันลืมเลิฟเบอร์รี่รับพิจารณาต้นฉบับที่พิมพ์ใส่กระดาษเรียบร้อยแล้วเท่านั้น (ไม่รับเป็นไฟล์งานในรูปแบบของ CD หรือส่งผ่านทาง e-mail)
สอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับต้นฉบับงานเขียน
ติดต่อที่ e-mail : editor_loveberrybook@windowslive.com
ข้อมูลจาก : www.dek-d.com
สำนักพิมพ์ฟิสิกข์เซ็นเตอร์คำแนะนำในการส่งต้นฉบับอย่างมีประสิทธิภาพหลัง จากที่ผ่านๆมา พี่ที่กองบ.ก. เกือบแย่ เพราะได้รับต้นฉบับที่มีความยาวมโหฬารเป็นจำนวนมาก ทำให้คิดได้ว่า เราควรจะมีการจัดระเบียบในการส่งต้นฉบับกันนิดนึงนะคะ เพื่อให้การดำเนินการพิจารณาเรื่องที่ส่งเข้ามาเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว ยิ่งขึ้นค่ะ
เอ้า...พร้อมแล้วเริ่มกันเลยนะคะ
ข้อ 1. ต้นฉบับการ จัดการกับต้น ฉบับที่ดี ก็คือให้อ่านง่าย สบายตาค่ะ ให้น้องๆ ใช้ฟอนท์ที่อ่านง่าย ขนาดพอสมควร ไม่เล็กจนเกินไปนะคะ อาทิเช่น Cordia UPC หรือ Angsana UPC ขนาด 14 pt. ขึ้นไปค่ะ พิมพ์ต้นฉบับลงในไฟล์งานขนาด A4 นะคะ และทำตัวหนา ตัวเอียง สำหรับข้อความที่ต้องการเน้นมาให้เรียบร้อยด้วย ที่สำคัญอย่าลืมอ่านทวนซ้ำ และตรวจทางคำผิดสัก 1-2 รอบก่อนส่งมาให้พี่นะคะ
มีข้อควรระวังนิดนึง เรื่องการเว้นบรรทัดค่ะ ให้เว้นบรรทัดเฉพาะเวลาขึ้นบทให้ หรือตัดฉากเท่านั้นนะคะ ไม่จำเป็นต้องเว้นทุกครั้งที่มีการสลับบทพูดของตัวละครค่ะ
ข้อ 2. เรื่องย่ออัน นี้จะช่วยให้พี่ อ่านเรื่องของน้องได้เร็วขึ้น และดูได้ด้วยว่าเรื่องนี้น่าสนใจขนาดไหน ตรงกับแนวทางของสนพ. หรือไม่ ให้พยายามเขียนเรื่องย่อให้กระชับ น่าสนใจ และอยู่ในความยาวไม่เกิน 2 หน้า A4 นะคะ
สำหรับฟอนท์ และขนาดตัวอักษรที่ใช้ก็ให้ใช้เหมือนในข้อ. 1 ค่ะ
ย้ำนะคะ เรื่อง ย่อสำคัญมาก...ถ้าไม่เขียนมา บางครั้งพี่ก็ไม่รู้ว่าเรื่องราวที่ส่งมาน่าสนใจขนาดไหน (ในกรณีที่เนื้อเรื่องของน้องไปเข้มข้น...สนุกสนาน ตอนท้ายๆ หรือกลางๆ เรื่อง ซึ่งพี่อาจจะยังอ่านไปไม่ถึงนะคะ) เพราะฉะนั้น อยากให้แนบเรื่องย่อมาให้ด้วยทุกครั้งนะคะ
ข้อ 3. จดหมายแนะนำตัวแนะนำตัวให้รู้จักกันด้วยค่ะ...บอกชื่อ-นามสกุล นามปากกา email และเบอร์โทรติดต่อกลับ พิมพ์ลงในไฟล์ word เป็นอีกไฟล์นึงนะคะ
ข้อ 4. ภาพประกอบน้องๆ คนไหนที่ต้องการวาดรูปทำปกเอง หรือมีปกในดวงใจอยู่แล้ว อย่าลืมแนบรูปมาพร้อมกันกับต้นฉบับ เรื่องย่อ และจดหมายแนะนำตัวนะคะ
พี่จะช่วยดูให้แล้วจะแจ้งให้ทราบว่าจะต้องแก้ไขปรับปรุงตรงไหนค่ะ
ข้อ 5. ส่งไฟล์ทั้งหมดเสร็จแล้วก็ทำการส่งไฟล์ทั้งหมดมาให้พี่ๆ ที่กองบ.ก. ได้ 2 วิธีด้วยกัน ดังนี้
1. ทางอีเมล ให้น้องๆ zip ไฟล์ทั้งหมดข้างต้น แล้วส่งมาที่ editor@pc-bookclub.com ค่ะ
2. ทางไปรษณีย์ ให้น้องๆ ส่งสำเนาต้นฉบับมาที่
กองบรรณาธิการ สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์
45 จรัญสนิทวงศ์ 40 บางยี่ขัน บางพลัด กทม. 10700
(วงเล็บมุมซองว่า “ต้นฉบับเพื่อพิจารณา”)
ย้ำอีกทีว่าส่ง “สำเนาต้นฉบับ” นะคะ เพราะทางสำนักพิมพ์จะไม่ส่งต้นฉบับคืนให้ (ถ้าต้องการต้นฉบับคืน ให้น้องๆ สอดซองจ่าหน้าถึงตัวเอง และติดแสตมป์มาด้วยค่ะ)
เว็บไซต์สำนักพิมพ์
http://www.pc-bookclub.comข้อมูลจาก : www.dek-d.com
สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์/พิมพ์คำสำนักพิมพ์ในเครือ บริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด ยินดีพิจารณาต้นฉบับจากนักเขียนหน้าใหม่ทุกท่าน ทั้งนวนิยาย วรรณกรรมเยาวชน และวรรณกรรมแนวจิตวิทยา (ไม่รับพิจารณาเรื่องสั้น บทความ กลอน สารคดี และแบบเรียนต่าง ๆ) เรื่องที่ส่งให้พิจารณาต้องเป็นต้นฉบับที่จบสมบูรณ์แล้ว และเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์ขึ้นเอง ไม่ได้คัดลอก หรือลอกเลียนแบบมาจากผลงานของผู้อื่น ทั้งในด้านลักษณะเด่นของตัวละคร และโครงเรื่อง
โดยต้นฉบับดังกล่าวควรใช้ตัวอักษร Angsana new ขนาด 14 pt. มีความยาวมากกว่า 150 หน้า A4 มีจำนวน 3 แสนตัวอักษรขึ้นไป (นับจำนวนคำได้ใน microsoft word) และต้องมีเรื่องย่อที่สรุปเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบแนบมาด้วย
เรื่องย่อ เป็นการสรุปเนื้อหาทั้งหมด ไม่ใช่การเขียนคำโปรยที่ชวนให้อยากอ่าน
หลังได้รับต้นฉบับ จะมีเมลตอบกลับเพื่อยืนยันว่าทางบริษัทได้รับต้นฉบับที่ส่งมาให้พิจารณาแล้ว โดยคณะบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบประมาณ 3 เดือน นับจากวันที่ได้รับต้นฉบับ หากพ้นกำหนด 3 เดือน ยังไม่ได้รับผลการพิจารณา สามารถสอบถามได้ที่ satapornbooks@yahoo.com
การสอบถามผลการพิจารณา กรุณาระบุช่องทางในการส่งต้นฉบับ ชื่อเรื่อง และชื่อนามสกุลจริงของผู้เขียน
ผลงานที่ส่งให้สำนักพิมพ์พิจารณา ต้องเป็นผลงานที่ผู้เขียนสร้างสรรค์ขึ้นเอง มิได้คัดลอกหรือดัดแปลง มาจากผลงานของผู้อื่น หากผลงานของท่านได้รับการตีพิมพ์และพบในภายหลังว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของผู้อื่น จะถูกเรียกร้องค่าเสียหายและ