โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ
สมาคมเด็กแสบ the sims 3
jerrysoft
#61
03-01-2010 - 17:49:50

#61 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 17:49:50 ]




ข้อความนี้สำหรับทุกๆคน >>>ข้อ1ผิดครับ ข้อ2ป้าจาตอบถูกข้อ3 ป้าเกือบถูกครับใบ้ให้ก็ได้ครับ ใกล้เคียงกับไก่ตายแต่มันยังไม่ตาย ข้อ4 ป้าจาตอบถูกครับเยี่ยมมากเลย ข้อ5ผมเคยเอาข้อมูลมาบอกป้าแต่ข้อมูลนั้นไม่ได้บอกว่ากลางวันมีชีวิตกลางคืนเป็นหิน ใบ้ให้ก็ได้ครับ การ์.....


jerrysoft
#62
03-01-2010 - 17:53:26

#62 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 17:53:26 ]




ผมขอปรึกษา ตัวซิมส์ผมมี2คนต่างละคนมันทำงานเหนื่อยมากกลับมาพร้อม ความต้องการหิวความต้องการพลังงาน ความต้องการปัสาวะ ความต้องการพูดคุย ความต้องการสนุก แต่.... พูดคุยเนี้ยครับคือปัญหา ผมจะให้มันพูดคุยก็ไม่ได้มันจะมีอะไรขัดเยอะแยะ แต่ละคนมันกก็ต้องการนู้นต้องการนี้ แต่มันไม่ได้พูดคุยกันเลยงะ ผมต้องการเป็นอย่างมากไอ้เรื่องสนทนา พอผมให้มันคุยกัน รถทำงานก็มาพอดีมันชอบมีอะไรขุดข้องอะครับช่วยหน่อยสิครับ


pa_fat_cat
#63
03-01-2010 - 17:58:47

#63 pa_fat_cat  [ 03-01-2010 - 17:58:47 ]








ดูที่ช่องเพื่อนนะคะ ข่องที่ 2

จะมีรูปคนที่เรารู้จัก คลิกที่คนนั้น แล้วเลือก chat



จะเข้ามาดูทุกวันนะ
jerrysoft
#64
03-01-2010 - 18:09:30

#64 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 18:09:30 ]




ขอบคุณครับป้าจา คำถามที่ผมถามคิดได้ยังครับข้อ3กับข้อ5ผมใบ้ให้แล้วน้า


pa_fat_cat
#65
03-01-2010 - 18:15:15

#65 pa_fat_cat  [ 03-01-2010 - 18:15:15 ]








อ๋อ ไก่ตัวเมีย ใช่ป่าว

อีกข้อ คือ การ์กอน

แล้วถ้าลูกลิงขึ้นต้นไม้แล้วลงไม่ได้ล่ะ จะทำยังไง ให้ซอสตอบบ้าง



จะเข้ามาดูทุกวันนะ
jerrysoft
#66
03-01-2010 - 18:22:22

#66 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 18:22:22 ]




ผิดครับผมเฉลย ข้อ1 มันอะไรบินไม่ได้ = มันไม่มีหรอก 2ใครเป็นนักฆ่า100ศพ? = แจ็ค เดอะ ริปเปอร์ ป้าจาตอบถูก
3ไก่อะไรไม่ยอมขัน? = ไข้เกียจขัน 4สัตว์ประหลาดอยู่ต้ายท้องทะเลคล้ายไนโดเสาร์นามว่า? = เนสซี่ ป้าตอบถุก 5 .อะไรเอ่ยกลางวันมีชีวิตกลางคืนเป็นหิน? ข้อนี้ป้าตอบเกือบถูก เฉลยข้อ5 คือ การ์กอยล์


jerrysoft
#67
03-01-2010 - 18:25:39

#67 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 18:25:39 ]




แล้วถ้าลูกลิงขึ้นต้นไม้แล้วลงไม่ได้ล่ะ จะทำยังไง ? ตอบ ก็ปีนต้นไม้แล้วก็อุ้มลิงลงมา^^ หรือ หรือถ้าต้นไม้เป็นต้นสนก็ กระโดดร่มไปพอถึงจุดที่ลุกลิงอยู่ก็อุ้มมันลงมา หรือ ใช้ปืนใหญ่ยิงหัวต้นสนแล้วต้นสนจะเขย่าๆ ลูกลิงก็ตกลงมาโดยไม่เจ็บเพราะ มีเบาะลงอยู่ข้างล่าง(กำลังดูหนังยิงกันอยู่)


pa_fat_cat
#68
03-01-2010 - 18:28:09

#68 pa_fat_cat  [ 03-01-2010 - 18:28:09 ]








Edit....ลิงลงไม่ได้ ก็ตัด สระ อิ ออกไง ก็กลายเป็นลงแล้ว


รูปนี้ยาก ทายไม่ถูกค่ะ เพราะคำตอบมันต้องอยู่ในเรื่องที่อ่าน เหมือนท่องหนังสือไปสอบ


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2010-01-06 07:48:47


จะเข้ามาดูทุกวันนะ
jerrysoft
#69
03-01-2010 - 18:28:52

#69 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 18:28:52 ]




ป้าบอกว่า>ป้าตอบคำถามค่ะ.....ซอส

เดี๋ยวคำถามหมด ซอสช่วยป้าหามาอีกนะคะ

หรือจะให้ทายรูปภาพบ้าง ดีมั้ย


งั้นให้ทายรูปครับ
 73631


jerrysoft
#70
03-01-2010 - 18:30:30

#70 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 18:30:30 ]




ใครเอ่ย ???? คริคริ


jerrysoft
#71
03-01-2010 - 18:31:26

#71 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 18:31:26 ]




ภาพนี้ป้าเคยเห็นไหมครับ
 73635


pa_fat_cat
#72
03-01-2010 - 18:35:21

#72 pa_fat_cat  [ 03-01-2010 - 18:35:21 ]






quote : pa_fat_cat



Edit....ลิงลงไม่ได้ ก็ตัด สระ อิ ออกไง ก็กลายเป็นลงแล้ว


รูปนี้ยาก ทายไม่ถูกค่ะ เพราะคำตอบมันต้องอยู่ในเรื่องที่อ่าน เหมือนท่องหนังสือไปสอบ



เป็นเรื่องที่ซอสมาให้อ่าน

ป้าบอกอะไรซอสอย่างนึง อย่าโกรธนะ ป้าว่าซอสเลิกสนใจเรื่องพวกนี้ก่อนดีมั้ย มันจะทำให้เครียด

มาหาเรื่องสนุก ๆ บ้าง ถ้าเครียดมากจะไม่ดีหลายอย่างนะคะ ป้าบอกเพราะเป็นห่วงค่ะ


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2010-01-03 18:40:07


จะเข้ามาดูทุกวันนะ
jerrysoft
#73
03-01-2010 - 18:38:26

#73 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 18:38:26 ]




ข้างบนนั้นคือการฺกอยล์ ข้างล้างก็การ์กอยล์ เป็นตำนาน บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
การ์กอยล์ ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามโบสถ์ มหาวิหาร อาคารต่างๆของซีกโลกตะวันตก มหาวิหารดังๆที่โลกรู้จักกันก็มี มังกรการ์กอยล์ อาศัยอยู่ เช่น วิหารนอเตรอดาม แห่ง กรุงปารีส (Notre Dame de Paris) มหาวิหารนอเตรอ-ดาม แห่ง ดิฌง (Notre Dame de Dijon) วิหารแห่งชาติ ณ กรุงวอชิงตัน (Washington National Cathedral) 2 แห่งแรกนี่เรียกยาก ผมสะกดผิดก็อย่าว่ากันนะคับ แต่แห่งหลังเนี่ยถูกต้องชัวร์ๆ นับว่าเจ้ารูปสลัก การ์กอยล์ เนี่ย เป็นประติมากรรมที่สวยงามชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว และก็ไม่ได้มีไว้ประดับประดาอาคารเพื่อความสวยงามเท่านั้น ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย นั่นคือ เป็นที่ระบายน้ำฝน





ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า รูปสลักหน้าตาประหลาด ๆ เหล่านี้มักมีอากัปกิริยาแตกต่างกันไป แต่จะมีจุดหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ มีช่องทางให้ระบายน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็นทางปาก จมูก หู หรือส่วนอื่น ๆ ของรูปสลักเหล่านี้ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีรูปร่างพิลึกพิลั่นอยู่บ้าง มากล่าวถึงชื่อที่เรียกว่า การ์กอยล์ กันบ้าง สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ลา การ์กุยย์ (La Gargouille) ในภาษาฝรั่งเศส อันมีรากศัพท์มาจาก เกอร์กูลิโอ (Gurgulio) ในภาษาละติน หมายถึง คอ และ พ้องกับเสียงของน้ำที่ไหลผ่านรางน้ำฝนบนตัวอาคาร



มีตำนานมากมายกล่าวถึงที่มาของชื่อ การ์กอยล์ หรือ ลา การ์กุยย์ นี้ แต่ตำนานเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ ตำนานอันเก่าแก่ของฝรั่งเศส ที่เล่าขานกันว่า ประมาณ ศตวรรษที่ 7 ณ หมู่บ้านรูออง (Rouen) ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส มีมังกรไฟตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยดุร้ายอาศัยอยู่ในถ้ำใกล้ริมแม่น้ำแซน (Seine) เจ้ามังกรตัวนี้ยื่นคำขาดให้ผู้คนในหมู่บ้านส่งหญิงพรหมจรรย์มาสังเวยมันทุกปี (ว๊าว! ข้อเสนอของมันเล่นซะจนผมยังต้องอิจฉามันเลย หญิงพรหมจรรย์ทุกปี ถ้าเป็นผมนะ จะยื่นขอเสนอใหม่เป็นทุกเดือน รู้สึกจะแสดงอาการออกนอกหน้าเกินไปแล้วเรา) มิฉะนั้นมันจะพ่นไฟให้ทั้งหมู่บ้านจมอยู่ในกองเพลิงภายในพริบตา ด้วยความกลัว ชาวบ้านจึงจำต้องส่งหญิงสาวไปให้มันทุกปี หากปีใดไม่สามารถหาสาวบริสุทธ์ได้ก็จำต้องส่งนักโทษไปแทน แน่นอนว่าเจ้ามังกรตัวนี้ไม่พอใจอย่างยิ่ง (เป็นผมผมก็ไม่พอใจ จากหญิงสาวพรหมจรรย์เปลี่ยนไปเป็นนักโทษ คนละขั้วกันเลย) ดังนั้นมันจะมาบินวนรอบ ๆ หมู่บ้านพร้อมกับพ่นไฟและ ส่งเสียงขู่คำรามในลำคอ อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกเจ้ามังกรตัวนี้ว่า ลา การ์กุยย์ ชาวบ้านรูอองต้องหวาดกลัวเจ้ามังกรพ่นไปตัวนี้เป็นเวลานาน



จนกระทั่งวันหนึ่ง นักบวช แซงต์ รูมานีส์ (Saint Romanis) (ไม่ใช่อัศวินขี่ม้าขาวหรอกหรือ? แต่เป็นนักบวช) ได้มาเดินทางเยือนหมู่บ้านแห่งนี้ เมื่อได้รับรู้ชะตากรรมของชาวบ้าน ท่านก็เสนอตัวเข้าช่วยเหลือ โดยมีข้อแม้ว่า หากท่านปราบมังกรตัวนี้ได้ ชาวบ้านจะต้องสร้างโบสถ์ให้ท่านหนึ่งหลัง ซึ่งชาวบ้านก็ตกลงรับเงื่อนไขนี้โดยดี (โบสถ์หนึ่งหลังแลกกับไปฆ่ามังกร คุ้มคับคุ้ม) ท่านนักบวชได้เดินทางไปยังถ้ำมังกรโดยไม่มีอาวุธใด ๆ นอกจากไม้กางเขนและศรัทธาต่อ พระเจ้าเท่านั้น แต่กระนั้น ท่านก็สามารถสยบเจ้ามังกรร้ายตัวนี้ได้ และนำมันกลับมายังหมู่บ้าน ชาวบ้าน รูอองรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พวกเขาจะได้อยู่อย่างสงบสุขเสียที หลังจากต้องหวาดกลัวมังกรร้ายมาตลอดเวลา



ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามังกรไฟ ลา การ์กุยย์ นี้จะไม่สามารถกลับมาทำร้ายใครได้อีก ชาวบ้านจึงจับมังกรนี้มัดและเผามันทั้งเป็น แต่เนื่องจากเจ้า ลา การ์กุยย์ เป็นมังกรพ่นไฟ เพลิงจึงเผาผลาญทุกส่วนของมัน ยกเว้น หัวและคอ ซึ่งไม่ว่าใช้วิธีใดก็ไม่สามารถทำลายมันได้ ดังนั้น เมื่อชาวบ้านสร้างโบสถ์ให้นักบวช แซงต์ รูมานีส์ ตามสัญญา นักบวชเลยแนะนำให้เอาหัวมังกรไปประดับไว้กับตัวโบสถ์เพราะเจ้ามังกรตัวนี้มีอำนาจศักด์สิทธิ์ ดังนั้นมันจะสามารถขับไล่มิให้ภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามาใน ตัวโบสถ์ได้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การนำเอารูปสลักสัตว์หน้าตาประหลาดต่าง ๆ มาประดับโบสถ์วิหารก็กลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ในยุโรปและเมื่อชาวยุโรปได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำประติมากรรมประหลาดนี้ไปด้วย ดังนั้น ตามวิหารหรืออาคารจำนวนไม่น้อยในสหรัฐอเมริกาจึงประดับด้วยรูปสลักการ์กอยล์นี้เช่นกัน หากว่าใครแวะไปเที่ยวที่มหาวิหารที่ผมกล่าวมาเนี่ย ก็แวะไปเยี่ยมเยียน เจ้ามังกรการ์กอยล์กันบ้าง และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องจำเอาไว้และปฎิบัติตามเคร่งครัดก็คือ อย่าลืมของฝากนะคับ! (ซื้อฝากนะไม่ได้ให้ฝากซื้อ)

และถ้าเป็นกลางวันการ์กอยล์จะเป็นหิน กลางคือนะมีชีวิต (ตำนานครับ)ปนาลี หรือ การ์กอยล์ (ภาษาอังกฤษ: Gargoyle) ความหมายของปนาลีทางสถาปัตยกรรมหมายถึงหินที่แกะเป็นรูปอัปลักษณ์ (grotesque) ยื่นออกไปจากสิ่งก่อสร้างที่มีรางและช่องให้น้ำจากหลังคาไหลห่างจากตัวสิ่งก่อสร้าง

คำว่า “gargoyle” มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “gargouille” ซึ่งแปลว่าคอหอย[1] ซึ่งมาจากภาษาละติน “gurgulio, gula” หรือคำที่มีรากมาจาก “gar” ที่แปลว่า กลืน ซึ่งคล้ายเสียงน้ำไหลในท่อ (ตัวอย่าง: ภาษาสเปน “garganta” แปลว่าคอหอย จึงใช้คำว่า “garganta” สำหรับ “gargoyle”)

รูปอัปลักษณ์ที่มิได้ใช้เป็นรางน้ำแต่ใช้เป็นสิ่งตกแต่ง ตามภาษาสามัญก็ยังเรียกว่า ปนาลี[1] ถึงแม้ว่าทางสถาปัตยกรรมจะแยกการใช้ระหว่างคำว่า “ปนาลี” และคำว่า “รูปอัปลักษณ์” ปนาลีจะเป็นคำที่ใช้สำหรับรูปอัปลักษณ์ที่ใช้เป็นรางน้ำ และ คำว่า“รูปอัปลักษณ์” จะหมายถึงรูปสลักที่มิได้ใช้เป็นรางน้ำ

ปนาลี จะเป็นรูปสลักตามมุมต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมในแบบกอธิคใน ยุโรป โดยมากจะสลักเป็นรูป มังกร หรือ ปีศาจ ในท่วงท่าต่าง ๆ โดยท่าที่รู้จักมากที่สุด คือ นั่งยอง ๆ ตามองไปทางข้างหน้า

ปนาลี เชื่อว่า เดิมเป็นมังกร ชาวยุโรปในยุคกลางเชื่อว่า การ์กอยล์เมื่อตอนกลางวันจะเป็นรูปสลัก ตกกลางคืนจะกลายร่างเป็นมังกรบินไปทั่วหมู่บ้านหรือเมืองที่อาศัย เพื่อปกป้องดูแลมิให้มีสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามารังควาน

การ์กอยล์ อาศัยอยู่ตามโบสถ์ มหาวิหาร อาคารต่างๆของซีกโลกตะวันตก มหาวิหารดังๆที่โลกรู้จักกันก็มี มังกรการ์กอยล์ อาศัยอยู่ เช่น วิหารนอเตรอดาม แห่ง กรุงปารีส (Notre Dame de Paris)
มหาวิหารนอเตรอ-ดาม แห่ง ดิฌง (Notre Dame de Dijon) วิหารแห่งชาติ ณ กรุงวอชิงตัน (Washington National Cathedral) นับว่าเจ้ารูปสลัก การ์กอยล์ เนี่ย เป็นประติมากรรมที่สวยงามชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว และก็ไม่ได้มีไว้ประดับประดาอาคารเพื่อความสวยงามเท่านั้น ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย นั่นคือ เป็นที่ระบายน้ำฝน ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า รูปสลักหน้าตาประหลาด ๆ เหล่านี้มักมีอากัปกิริยาแตกต่างกันไป แต่จะมีจุดหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ มีช่องทางให้ระบายน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็นทางปาก จมูก หู หรือส่วนอื่น ๆ ของรูปสลักเหล่านี้ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีรูปร่างพิลึกพิลั่นอยู่บ้าง
มากล่าวถึงชื่อที่เรียกว่า การ์กอยล์ กันบ้าง สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ลา การ์กุยย์ (La Gargouille) ในภาษาฝรั่งเศส อันมีรากศัพท์มาจาก เกอร์กูลิโอ (Gurgulio) ในภาษาละติน หมายถึง คอ และ พ้องกับเสียงของน้ำที่ไหลผ่านรางน้ำฝนบนตัวอาคาร มีตำนานมากมายกล่าวถึงที่มาของชื่อ การ์กอยล์ หรือ ลา การ์กุยย์ นี้ แต่ตำนานเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ ตำนานอันเก่าแก่ของฝรั่งเศส ที่เล่าขานกันว่า ประมาณ ศตวรรษที่ 7 ณ หมู่บ้านรูออง (Rouen) ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส มีมังกรไฟตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยดุร้ายอาศัยอยู่ในถ้ำใกล้ริมแม่น้ำแซน (Seine) เจ้ามังกรตัวนี้ยื่นคำขาดให้ผู้คนในหมู่บ้านส่งหญิงพรหมจรรย์มาสังเวยมันทุกปี มิฉะนั้นมันจะพ่นไฟให้ทั้งหมู่บ้านจมอยู่ในกองเพลิงภายในพริบตา ด้วยความกลัว ชาวบ้านจึงจำต้องส่งหญิงสาวไปให้มันทุกปี หากปีใดไม่สามารถหาสาวบริสุทธ์ได้ก็จำต้องส่งนักโทษไปแทน แน่นอนว่าเจ้ามังกรตัวนี้ไม่พอใจอย่างยิ่ง ดังนั้นมันจะมาบินวนรอบ ๆ หมู่บ้านพร้อมกับพ่นไฟและ ส่งเสียงขู่คำรามในลำคอ อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกเจ้ามังกรตัวนี้ว่า ลา การ์กุยย์ ชาวบ้านรูอองต้องหวาดกลัวเจ้ามังกรพ่นไปตัวนี้เป็นเวลานาน จนกระทั่งวันหนึ่ง นักบวช แซงต์ รูมานีส์ (Saint Romanis) ได้มาเดินทางเยือนหมู่บ้านแห่งนี้ เมื่อได้รับรู้ชะตากรรมของชาวบ้าน ท่านก็เสนอตัวเข้าช่วยเหลือ โดยมีข้อแม้ว่า หากท่านปราบมังกรตัวนี้ได้ ชาวบ้านจะต้องสร้างโบสถ์ให้ท่านหนึ่งหลัง ซึ่งชาวบ้านก็ตกลงรับเงื่อนไขนี้โดยดี (โบสถ์หนึ่งหลังแลกกับไปฆ่ามังกร คุ้มคับคุ้ม)
ท่านนักบวชได้เดินทางไปยังถ้ำมังกรโดยไม่มีอาวุธใด ๆ นอกจากไม้กางเขนและศรัทธาต่อ พระเจ้าเท่านั้น แต่กระนั้น ท่านก็สามารถสยบเจ้ามังกรร้ายตัวนี้ได้ และนำมันกลับมายังหมู่บ้าน ชาวบ้าน รูอองรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พวกเขาจะได้อยู่อย่างสงบสุขเสียที หลังจากต้องหวาดกลัวมังกรร้ายมาตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามังกรไฟ ลา การ์กุยย์ นี้จะไม่สามารถกลับมาทำร้ายใครได้อีก ชาวบ้านจึงจับมังกรนี้มัดและเผามันทั้งเป็น แต่เนื่องจากเจ้า ลา การ์กุยย์ เป็นมังกรพ่นไฟ เพลิงจึงเผาผลาญทุกส่วนของมัน ยกเว้น หัวและคอ ซึ่งไม่ว่าใช้วิธีใดก็ไม่สามารถทำลายมันได้ ดังนั้น เมื่อชาวบ้านสร้างโบสถ์ให้นักบวช แซงต์ รูมานีส์ ตามสัญญา นักบวชเลยแนะนำให้เอาหัวมังกรไปประดับไว้กับตัวโบสถ์เพราะเจ้ามังกรตัวนี้มีอำนาจศักด์สิทธิ์ ดังนั้นมันจะสามารถขับไล่มิให้ภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามาใน ตัวโบสถ์ได้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การนำเอารูปสลัก!หน้าตาประหลาดต่าง ๆ มาประดับโบสถ์วิหารก็กลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาในยุโรปและเมื่อชาวยุโรปได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำประติมากรรมประหลาดนี้ไปด้วย ดังนั้น ตามวิหารหรืออาคารจำนวนไม่น้อยในสหรัฐอเมริกาจึงประดับด้วยรูปสลักการ์กอยนี้เช่นกัน การ์กอยล์ ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามโบสถ์ มหาวิหาร อาคารต่างๆของซีกโลกตะวันตก มหาวิหารดังๆที่โลกรู้จักกันก็มี มังกรการ์กอยล์ อาศัยอยู่ เช่น วิหารนอเตรอดาม แห่ง กรุงปารีส (Notre Dame de Paris) มหาวิหารนอเตรอ-ดาม แห่ง ดิฌง (Notre Dame de Dijon) วิหารแห่งชาติ ณ กรุงวอชิงตัน (Washington National Cathedral) 2 แห่งแรกนี่เรียกยาก ผมสะกดผิดก็อย่าว่ากันนะคับ แต่แห่งหลังเนี่ยถูกต้องชัวร์ๆ นับว่าเจ้ารูปสลัก การ์กอยล์ เนี่ย เป็นประติมากรรมที่สวยงามชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว และก็ไม่ได้มีไว้ประดับประดาอาคารเพื่อความสวยงามเท่านั้น ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย นั่นคือ เป็นที่ระบายน้ำฝน ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า รูปสลักหน้าตาประหลาด ๆ เหล่านี้มักมีอากัปกิริยาแตกต่างกันไป แต่จะมีจุดหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ มีช่องทางให้ระบายน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็นทางปาก จมูก หู หรือส่วนอื่น ๆ ของรูปสลักเหล่านี้ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีรูปร่างพิลึกพิลั่นอยู่บ้าง มากล่าวถึงชื่อที่เรียกว่า การ์กอยล์ กันบ้าง สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ลา การ์กุยย์ (La Gargouille) ในภาษาฝรั่งเศส อันมีรากศัพท์มาจาก เกอร์กูลิโอ (Gurgulio) ในภาษาละติน หมายถึง คอ และ พ้องกับเสียงของน้ำที่ไหลผ่านรางน้ำฝนบนตัวอาคาร
มีตำนานมากมายกล่าวถึงที่มาของชื่อ การ์กอยล์ หรือ ลา การ์กุยย์ นี้ แต่ตำนานเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ ตำนานอันเก่าแก่ของฝรั่งเศส ที่เล่าขานกันว่า ประมาณ ศตวรรษที่ 7 ณ หมู่บ้านรูออง (Rouen) ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส มีมังกรไฟตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยดุร้ายอาศัยอยู่ในถ้ำใกล้ริมแม่น้ำแซน (Seine) เจ้ามังกรตัวนี้ยื่นคำขาดให้ผู้คนในหมู่บ้านส่งหญิงพรหมจรรย์มาสังเวยมันทุกปี (ว๊าว! ข้อเสนอของมันเล่นซะจนผมยังต้องอิจฉามันเลย หญิงพรหมจรรย์ทุกปี ถ้าเป็นผมนะ จะยื่นขอเสนอใหม่เป็นทุกเดือน รู้สึกจะแสดงอาการออกนอกหน้าเกินไปแล้วเรา) มิฉะนั้นมันจะพ่นไฟให้ทั้งหมู่บ้านจมอยู่ในกองเพลิงภายในพริบตา ด้วยความกลัว ชาวบ้านจึงจำต้องส่งหญิงสาวไปให้มันทุกปี หากปีใดไม่สามารถหาสาวบริสุทธ์ได้ก็จำต้องส่งนักโทษไปแทน แน่นอนว่าเจ้ามังกรตัวนี้ไม่พอใจอย่างยิ่ง (เป็นผมผมก็ไม่พอใจ จากหญิงสาวพรหมจรรย์เปลี่ยนไปเป็นนักโทษ คนละขั้วกันเลย) ดังนั้นมันจะมาบินวนรอบ ๆ หมู่บ้านพร้อมกับพ่นไฟและ ส่งเสียงขู่คำรามในลำคอ อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกเจ้ามังกรตัวนี้ว่า ลา การ์กุยย์ ชาวบ้านรูอองต้องหวาดกลัวเจ้ามังกรพ่นไปตัวนี้เป็นเวลานานจนกระทั่งวันหนึ่ง นักบวช แซงต์ รูมานีส์ (Saint Romanis) (ไม่ใช่อัศวินขี่ม้าขาวหรอกหรือ? แต่เป็นนักบวช) ได้มาเดินทางเยือนหมู่บ้านแห่งนี้ เมื่อได้รับรู้ชะตากรรมของชาวบ้าน ท่านก็เสนอตัวเข้าช่วยเหลือ โดยมีข้อแม้ว่า หากท่านปราบมังกรตัวนี้ได้ ชาวบ้านจะต้องสร้างโบสถ์ให้ท่านหนึ่งหลัง ซึ่งชาวบ้านก็ตกลงรับเงื่อนไขนี้โดยดี (โบสถ์หนึ่งหลังแลกกับไปฆ่ามังกร คุ้มคับคุ้ม) ท่านนักบวชได้เดินทางไปยังถ้ำมังกรโดยไม่มีอาวุธใด ๆ นอกจากไม้กางเขนและศรัทธาต่อ พระเจ้าเท่านั้น แต่กระนั้น ท่านก็สามารถสยบเจ้ามังกรร้ายตัวนี้ได้ และนำมันกลับมายังหมู่บ้าน ชาวบ้าน รูอองรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พวกเขาจะได้อยู่อย่างสงบสุขเสียที หลังจากต้องหวาดกลัวมังกรร้ายมาตลอดเวลา

ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามังกรไฟ ลา การ์กุยย์ นี้จะไม่สามารถกลับมาทำร้ายใครได้อีก ชาวบ้านจึงจับมังกรนี้มัดและเผามันทั้งเป็น แต่เนื่องจากเจ้า ลา การ์กุยย์ เป็นมังกรพ่นไฟ เพลิงจึงเผาผลาญทุกส่วนของมัน ยกเว้น หัวและคอ ซึ่งไม่ว่าใช้วิธีใดก็ไม่สามารถทำลายมันได้ ดังนั้น เมื่อชาวบ้านสร้างโบสถ์ให้นักบวช แซงต์ รูมานีส์ ตามสัญญา นักบวชเลยแนะนำให้เอาหัวมังกรไปประดับไว้กับตัวโบสถ์เพราะเจ้ามังกรตัวนี้มีอำนาจศักด์สิทธิ์ ดังนั้นมันจะสามารถขับไล่มิให้ภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามาใน ตัวโบสถ์ได้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การนำเอารูปสลักสัตว์หน้าตาประหลาดต่าง ๆ มาประดับโบสถ์วิหารก็กลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ในยุโรปและเมื่อชาวยุโรปได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำประติมากรรมประหลาดนี้ไปด้วย ดังนั้น ตามวิหารหรืออาคารจำนวนไม่น้อยในสหรัฐอเมริกาจึงประดับด้วยรูปสลักการ์กอยล์นี้เช่นกัน หากว่าใครแวะไปเที่ยวที่มหาวิหารที่ผมกล่าวมาเนี่ย ก็แวะไปเยี่ยมเยียน เจ้ามังกรการ์กอยล์กันบ้าง และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องจำเอาไว้และปฎิบัติตามเคร่งครัดก็คือ อย่าลืมของฝากนะคับ! (ซื้อฝากนะไม่ได้ให้ฝากซื้อ)



jerrysoft
#74
03-01-2010 - 18:38:58

#74 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 18:38:58 ]




รูปที่ผมทายคือ....เนสซี่ คร๊าบบบ


jerrysoft
#75
03-01-2010 - 18:40:06

#75 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 18:40:06 ]




แต่คำว่า เมดูซ่า - Medusa เป็นคำที่มีมานานมากแล้ว ที่ยังคงเป็นรากศัพท์ไว้ในหลายๆภาษาโบราณ เช่น ในภาษาสันสกฤต คือ "เมธา ในภาษากรีก คือ Metis และในภาษาอียิปต์โบราณคือคำว่า Met หรือ Maat มีแหล่งกำเนิดจากตำนานของประเทศลิเบีย ที่นำเข้ามารวมในตำนานกรีกทีหลัง เป็นที่นับถือของชาวลิเบียโบราณว่าเป็น เทพแห่งงู หรือเจ้าป่าเจ้าเขาผู้มีอำนาจดุร้าย ในยุโรปสมัยโบราณยุคหิน งู ยังไม่ได้เป็นสัญญลักษณ์ของความชั่วร้าย ซึ่งเป็นทัศนคติตามคริสตศาสนาที่เกิดขึ้นมาภายหลัง หากเป็นสัญญลักษณ์ของพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ และก็อาจเป็นไปได้ที่ว่า เมดูซ่า เจ้าแม่ผู้ทรงพลังจากสังคมโบราณ เป็นเค้าเงื่อนที่ชาวอินเดียนำไปผูกเป็น เจ้าแม่ทุรคา หรือ กาลี ก็ได้
เมดูซ่า นั้น แต่เดิมทีหลายพันหลายหมื่นปีมาแล้วก็คงเป็น เจ้าป่าเจ้าเขาที่มีอำนาจ มีผมขอดหยิกหยักถักเป็นเปียเล็กๆทั่วทั้งหัวแบบชาวอัฟริกัน (แบบที่เรียกว่า dreadlocks) ที่ดูคล้ายงูในสังคมดึกดำบรรพ์ ที่ยังนับถือยกย่องให้ผู้หญิงเป็นใหญ่ ภายหลังที่สังคมกรีกกลายมาให้ผู้ชายเป็นใหญ่ ภาพพจน์ของ เมดูซ่า ก็ค่อยๆเปลี่ยนไป เนื่องจากเทพบุรุษเข้ามาแทนที่เทพสตรี ในสังคมกรีก ในช่วงพันปีแรกของอาณาจักรกรีก จนมาถึงประมาณ ๖๐๐ ปีก่อนคริสตศตวรรษ วิหารบูชา เมดูซ่า ก็ถูกทำลายลงไปไม่เหลือซาก ชาวกรีกคงเอามาผูกเป็นตำนานให้เป็นนางมารร้ายไปในภายหลัง ชื่อของเธอ ก็กลายไปเป็นเพียงตำนานแห่งความพ่ายแพ้ ที่ถูกฆ่าโดย เพอร์ซีอุส แล้วชาวกรีก ก็ถ่ายทอดพลังอำนาจของ เมดูซ่า มาให้ เทพอะธีน่า ผู้เป็นเทพสตรีตัวอย่างของสังคม ที่ชาวกรีกต้องการใช้เป็นแบบอย่าง คือรักษาพรหมจรรย์ และรับใช้ครอบครัว ยึดมั่นในความซื่อสัตย์จงรักภักดีและเทิดทูน เทพเซอุส พระบิดา เหนือตนเอง ตามตำนานกรีกนั้น เมทิส แม่ของเมดูซ่าและพี่น้องอีกสองสาว ทั้งเมดูซ่าและพี่สาวแต่เดิมนั้น เป็นสาวงามมาก ต่อมา เมทิส แม่ของนาง ถูก เทพเซอุส ข่มขืน แล้วกลืนลงท้องไป เมทิส เป็นเจ้าแห่งปัญญา และสามารถแปลงร่างต่างๆได้ เซอุส จึงอาศัยพลังปัญญาและเวทย์มนต์ของ เมทิส มาเพิ่มอำนาจให้ตัวเอง ช่วยให้ เซอุส มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าเทพทั้งปวง และยังสามารถแปลงร่างได้ดังใจนึก ไปเอาสตรีมากมายเป็นภรรยาได้ในภายหลัง พลังของ เมทิส สำลักออกทางหน้าผากของเซอุส กลายเป็นเทพธิดา อะธีน่า ผู้ได้รับมรดกทางปัญญาจาก เมทิส ผู้เป็นแม่ ตั้งแต่เกิดมา อะธีน่า ก็ถือ เมดูซ่า เป็นศัตรูคู่แค้นที่จักต้องพิฆาตให้ดับสิ้น เพราะในบรรดาพี่น้อง มีแต่เมดูซ่า ผู้เดียวที่เป็นมนุษย์ พี่สาวชาวกอร์กอนทั้งสองร่วมท้องแม่ของเธอ มีสถานะเป็นเทพ จึงฆ่าไม่ตาย อะธีน่า จึงหันมาหาทางทำลาย เมดูซ่า แต่ผู้เดียวในบรรดาลูกแม่เดียวกันทั้งหมด วันหนึ่งใน วิหารอะธีน่า ที่ชาวกรีกสร้างไว้บูชาสักการะแต่ละเทพเป็นวิหารๆไป เทพอะธีน่า เป็นเทพอุปถัมภ์ของสาวพรหมจารี ที่สตรีพรหมจรรย์ชาวมนุษย์มักไปบูชา สาวงาม เมดูซ่า ที่มีชายมากหลายหมายปอง ก็ไปบูชา เทพอะธีน่า ยังวิหารตามปกติ เทพโพไซดอน ได้ประจักษ์เห็นความงามของนางแล้ว ก็ต้องการครอบครองโดยใช้กำลังขืนใจ อะธีน่า จึงได้โอกาสใส่ความว่า เมดูซ่า บังอาจลบหลู่นางด้วยการสู่สมในวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ แล้วฉวยโอกาสสาบ เมดูซ่า ให้กลายเป็นมารร้ายน่าเกลียดน่ากลัว และสาปให้ผมอันสวยงามลือชื่อของนาง กลายเป็นงูเต็มหัว จากสาวงามเลื่องชื่อ ต้องมากลายเป็นมารร้ายที่น่าชิงชังขยะแขยง จนใครที่ได้เห็น จะต้องกลายเป็นหินไป เมดูซ่า ทั้งชอกช้ำ ทั้งอับอาย ก็แปรความเจ็บช้ำที่ได้รับให้กลายเป็นความเคียดแค้นชิงชัง ต้องการทำร้ายหมายมาดทุกชีวิตที่ขวางหน้า โดยทำให้กลายเป็นหินไปจากการมองหน้าของนาง เป็นการตอบโต้ความอยุติธรรม ที่ทำให้นางต้องรับ ชะตากรรมอันโหดร้าย เมดูซ่า จึงกลายเป็นมารร้าย ผู้เป็นที่กล่าวขวัญถึง มากที่สุดในตำนาน กรีก มีทั้งภาพสลัก รูปปั้นต่างๆของเมดูซ่าตามวิหารต่างๆมากมาย


ผู้ที่ฆ่า เมดูซ่า ได้คือ เพอร์เซอุส เมื่อ เพอร์ซีอุส ตกหลุมรัก โพลีเดคเทส ก็ต้องออกล่าหา เมดูซ่า เพื่อตัดหัวมาตามสัญญาที่ให้ไว้กับ เทพอะธีน่า ซึ่งรอคอยหาคนมากำจัด เมดูซ่า ให้อยู่นานแล้ว เพราะความเป็นเทพของนาง ทำให้ไม่สามารถไปแสดงอำนาจพาลได้ถนัด ยังต้องอาศัยเหตุผลข้ออ้าง และน้ำมือคนอื่นไปกำจัดศัตรูให้ กี่คนๆมาแล้วที่ต้องการไต่เต้าสร้างวีรกรรม ที่ได้กลายเป็นหินไปหมด ทันทีที่ เพอร์ซีอุส มาเข้าทางตน อะธีน่า ก็กุลีกุจอปรากฏตัวขึ้นทันที เพื่อช่วยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามแผนกำจัด เมดูซ่า ของนางโดยราบรื่น อะธีน่า จึงช่วยบอกทางให้ เพอร์ซีอุส ไปยัง ซามอส อันเป็นที่พำนักของ นางกอร์กอนสามพี่น้อง เทพอะธีน่า ก็ได้ประทานโล่ห์ที่เป็นเงามันวับเหมือนกระจก แล้วช่วยให้ภาพปรากฏของนางมารทั้งสาม เพื่อ เพอร์ซีอุส จะได้เห็นว่าหน้าตาเป็นอย่างไร และเตือน ไม่ให้มองหน้าเมดูซ่าตรงๆ เพราะจะทำให้กลายเป็นหินไปเสียก่อน จากนั้น อะธีน่า ก็ให้อนุชา คือ เทพเฮอร์มีส (ที่ชาวโรมันเรียกว่า เมอร์คิวรี่ นั่นเอง) ซึ่งก็เป็นเทพบุตรของ เซอุส อีกผู้หนึ่ง ไปนำ ดาบโค้ง ของโครนัสมาให้



เพอร์ซีอุส เพื่อใช้ฆ่า เมดูซ่า เพื่อให้เป็นหลักประกันว่า เพอร์ซีอุส จะปฏิบัติการได้สำเร็จ ก็ต้องอาศัยของวิเศษอื่นๆอีก อะธีน่า จึงช่วยบอกอุบายรายละเอียด และชี้ทางให้ เพอร์ซีอุส ไปหานางแม่มดสามพี่น้องแห่ง เกรยี ผู้เป็นแม่เฒ่ามาตั้งแต่เกิด นางทั้งสามมีตาเพียงดวงเดียว และมีฟันเพียงซี่เดียว ต้องแบ่งกันใช้ แต่ก็ทะเลาะเบาะแว้งแย่งตาแย่งฟันกันมาชั่วชีวิต เพอร์ซีอุส จึงอาศัยความชุลมุนจากการแก่งแย่งนั้น เข้าไปขโมยดวงตาและฟันพวกแม่มดเกรยีมา เพื่อบังคับให้นางทั้งสามบอกทางไปหานางนิ้มฟ์ผู้ใจดีแห่งอุตรทิศ แล้วจึงจะคืนตาและฟันให้ เมื่อ เพอร์ซีอุส รู้ทางแล้ว ก็ไปหา นางนิมฟ์ผู้ใจดี ผู้ให้ยืมรองเท้ามีปีกที่ทำให้เหาะได้ หมวกวิเศษที่ทำให้ล่องหนได้ และกระเป๋าวิเศษเพื่อไว้ใส่หัวเมดูซ่า เมื่อได้ของวิเศษต่างๆแล้ว เพอร์ซีอุส ก็เข้าไปยังถ้ำของนางมารกอร์กอนสามพี่น้อง เมื่อไปถึงก็พบว่า เมดูซ่า กำลังนอนหลับกับพี่สาวทั้งสอง เพอร์ซีอุส ก็ได้ อะธีน่า ที่ตามมาช่วยอยู่ตลอดเวลา ช่วยถือโล่ห์ให้ จากภาพเงาของเมดูซ่าในโล่ห์มันวับ เพอร์ซีอุส ก็ตัดหัว เมดูซ่า ขาดแล้วเก็บใส่ถุงวิเศษทันที เลือดไหลนอง ออกจากคอของ เมดูซ่า ก่อกำเนิดเกิดออกมาเป็น ม้ามีปีก เพกาซัส แล้ว เมดูซ่า ก็จบสิ้นความระทมทุกข์ทรมาน จากชีวิตอันโหดร้ายของเธอ ส่งผลให้ เพอร์ซีอุส กลายเป็นวีรบุรุษอมตะ ผู้ปราบมาร ของชาวกรีกไป


pa_fat_cat
#76
03-01-2010 - 18:40:47

#76 pa_fat_cat  [ 03-01-2010 - 18:40:47 ]






quote : pa_fat_cat
quote : pa_fat_cat



Edit....ลิงลงไม่ได้ ก็ตัด สระ อิ ออกไง ก็กลายเป็นลงแล้ว


รูปนี้ยาก ทายไม่ถูกค่ะ เพราะคำตอบมันต้องอยู่ในเรื่องที่อ่าน เหมือนท่องหนังสือไปสอบ



เป็นเรื่องที่ซอสมาให้อ่าน

ป้าบอกอะไรซอสอย่างนึง อย่าโกรธนะ ป้าว่าซอสเลิกสนใจเรื่องพวกนี้ก่อนดีมั้ย มันจะทำให้เครียด

มาหาเรื่องสนุก ๆ บ้าง ถ้าเครียดมากจะไม่ดีหลายอย่างนะคะ ป้าบอกเพราะเป็นห่วงค่ะ


เลิกสนใจเรื่องพวกนี้นะคะ สนใจมากเกินไปแล้วค่ะ


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2010-01-03 18:42:38


จะเข้ามาดูทุกวันนะ
jerrysoft
#77
03-01-2010 - 18:41:05

#77 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 18:41:05 ]




"วันนี้ขอนำเสนอ หอล้างบาป " หอศีลจุ่ม หรือ หอล้างบาป (อังกฤษ: Baptistery หรือ Baptistry) เป็นคริสต์ศาสนสถาน ที่สร้างเป็นอิสระจากสิ่งก่อสร้างอื่นโดยมีอ่างศีลจุ่มเป็นศูนย์กลาง หอศีลจุ่มอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของวัดหรือมหาวิหารซึ่งมีแท่นบูชาและคูหาสวดมนต์ของตนเอง ในวัดสมัยคริสเตียนยุคแรกหอศีลจุ่มจะเป็นสถานสำหรับผู้จะเข้ารีตเรียนรู้เรื่องศาสนาก่อนจะรับศีลจุ่ม และเป็นที่ทำพิธีรับศีลจุ่ม

การสร้างหอศีลจุ่มอย่างสวยงามเป็นการแสดงถึงความสำคัญของการรับศีลจุ่มในคริสต์ศาสนา หอศีลจุ่มแปดเหลี่ยมของมหาวิหารเซนต์จอห์นแลเตอร์รันเป็นหอศีลจุ่มแรกที่สร้างเพื่อการพิธีนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นแบบลักษณะตัวอย่างของหอศีลจุ่มที่สร้างกันต่อมา ซึ่งบางครั้งจะเป็นสิบสองเหลี่ยม หรือกลมอย่างที่ปิซา ในบริเวณก่อนเข้าไป (narthex) เป็นบริเวณที่ใช้สำหรับใช้เรียนคำสอนและสารภาพความศรัทธาก่อนที่จะทำการรับศีลจุ่ม โถงกลางจะมีอ่างศีลจุ่มเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นที่ที่ผู้รับศีลจะลงไปใต้น้ำสามหน จากอ่างจะเป็นบันไดสามขั้นลงไปในอ่าง ห้อยอยู่เหนืออ่างอาจจะเป็นนกพิลาปทองหรือเงินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ รูปสัญลักษณ์ที่ทำจากโมเสกบนผนัง หรือจิตรกรรมฝาผนังมักจะเป็นฉากชีวิตของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ อ่างศีลจุ่มในระยะแรกมักจะทำด้วยหิน แต่ต่อมาก็มีการทำด้วโลหะบ้าง

แหล่งน้ำของหอศีลจุ่มของมหาวิหารเซ็นต์จอห์นแลเตอร์รันมาจากน้ำพุธรรมชาติ ก่อนที่จะมาเป็นมหาวิหารสิ่งก่อสร้างเดิมเป็นวังของครอบครัวพลอติอิ แลเตอร์รัน (Plautii Laterani) ผู้เป็นผู้บริหารของจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมัน จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1เป็นผู้ถวายวังนี้ให้กับบาทหลวงมิลทิอาเดส (Bishop Miltiades) น้ำพุธรรมชาติเป็นแหล่งน้ำของสิ่งก่อสร้างหลายสิ่งก่อสร้างภายในวัง เมื่อมีการเปลี่ยนศาสนาผู้เปลี่ยนก็ต้องรับศีลจุ่มทำให้แหล่งน้ำกลายเป็นความจำเป็น คาสสิโอโดรัสนักการเมืองและนักเขียนชาวโรมันบรรยายไว้ในปี ค.ศ. 527 ถึงการจัดงานเทศกาลฉลองที่วัดเดิมของผู้นอกศาสนาทางใต้ของอิตาลีที่ยังมีวัฒนธรรมกรีก ที่เปลี่ยนเป็นมาเป็นหอศีลจุ่มสำหรับวัดคริสต์ศาสนา (“วาเรีย” 8.33) ในเอกสาร ค.ศ. 1999, ซามูเอล เจ บาร์นิช ยกตัวอย่างของการเปลี่ยนจากน้ำพุศักดิ์สิทธิ์เป็นหอศีลจุ่มจากนักบุญเกรกอรีแห่งทัวร์ (เสียชีวิตราว ค.ศ. 594) และ นักบุญแม็กซิมัสแห่งตูริน (เสียชีวิตราว ค.ศ. 466)

หอศีลจุ่มเกิดขึ้นในสมัยที่มีผู้เข้ารีตที่เป็นผู้ใหญ่เป็นจำนวนมากที่ต้องรับศึลจุ่มก่อนเป็นคริสต์ศาสนิกชนเต็มตัว และเมื่อกฏบังคับว่าการรับศีลจุ่มต้องเป็นการดำลงใต้น้ำมิใช่แต่เพียงพรมน้ำอย่างสมัยหลัง หอศีลจุ่มมาสร้างกันภายหลังสมัยคอนสแตนตินผู้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมัน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 อ่างศีลจุ่มจะสร้างภายในบริเวณซุ้มหน้าวัดหรือภายในตัววัด หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 จำนวนเด็กที่รับศีลจุ่มเพิ่มมากขึ้น แต่การสร้างหอศีลจุ่มลดน้อยลง หอศีลจุ่มเดิมที่สร้างบางหอก็มีขนาดใหญ่จนสามารถใช้เป็นที่ประชุมสังคายนาได้ การสร้างหอศีลจุ่มใหญ่ในสมัยคริสเตียนยุคแรกก็เพื่อให้บาทหลวงทำพิธีศึลจุ่มหมู่ให้กับผู้ต้องการมานับถือคริสต์ศาสนาในสังฆมณฑลได้ ฉะนั้นหอศีลจุ่มจึงมักเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างติดกับมหาวิหารซึ่งเป็นวัดของบาทหลวง และไม่สร้างสำหรับวัดประจำท้องถิ่น นอกจากนั้นการทำพิธีศึลจุ่มหมู่ก็ทำกันเพียงสามครั้งต่อปี ซึ่งก็หมายความว่าก็จะมีผู้รับศีลและผู้เข้าร่วมพิธีมากในเดือนที่มิได้ทำพิธีศีลจุ่มประตูหอศีลจุ่มก็ปิดตายโดยตราของบาทหลวงเพื่อรักษากฏปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของการทำพิธีศีลจุ่มภายในสังฆมณฑล การทำพิธีศีลจุ่มบางครั้งแบ่งเป็นสองตอนๆ หนึ่งเป็นพิธีสำหรับผู้ชายและอีกตอนหนึ่งเป็นพิธีสำหรับผู้หญิง บางครั้งหอศีลจุ่มก็จะแยกเป็นสองหอๆ หนึ่งสำหรับผู้ชายและอีกหอหนึ่งสำหรับผู้หญิง บางครั้งก็อาจจะมีเตาผิงเพื่ออุ่นผู้ที่ขึ้นจากน้ำ

แม้ว่าประกาศจากการประชุมสภาสงฆ์ที่อ็อกแซร์ (Council of Auxerre) ในปี ค.ศ. 578 จะระบุห้ามการใช้หอศีลจุ่มเป็นที่ฝังศพ แต่ก็ยังมีการทำกัน พระสันตะปาปาเท็จจอห์นที่ 23 ถูกฝังไว้ที่หอศีลจุ่มซานจิโอวานนีที่ฟลอเรนซ์ (Battistero di San Giovanni (Florence) หน้ามหาวิหารฟลอเรนซ์ เป็นพิธีใหญ่โตเมื่อสร้างอนุสรณ์ อัครบาทหลวงสมัยแรกๆ ของสังฆมณฑลแคนเตอร์บรี ก็ฝังไว้ภายในหอศีลจุ่มของมหาวิหารแคนเตอร์บรี

การเปลื่ยนการรับศีลจุ่มจากการดำลงไปทั้งตัวมาเป็นการพรมน้ำทำให้ความจำเป็นในการใช้หอศีลจุ่มทึ่มีอ่างศีลจุ่มใหญ่เพื่อการนั้นลดน้อยลง ในปัจจุบันก็มีการใช้กันอยู่บ้างเช่นในเมืองฟลอเรนซ์และปิซา

หอศีลจุ่มของมหาวิหารเซ็นต์จอห์นแลเตอร์รันเห็นจะเป็นหอศีลจุ่มที่เก่าที่สุดที่ยังใช้กันอยู่ ตัวสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ตรงกลางหอเป็นอ่างศีลจุ่มแปดเหลี่ยมล้อมรอบด้วยคอลัมน์หินพอร์ไฟรี (Porphyry) สีม่วงแดง หัวเสาเป็นหินอ่อนและการตกแต่งตอนบนเป็นแบบคลาสสิค (กรีกโรมัน) รอบเป็นจรมุขหรือทางเดินรอบและผนังแปดเหลี่ยม ด้านหนึ่งทางด้านมหาวิหารเป็นซุ้มพอร์ไฟรีที่ตกแต่งอย่างวิจิตร วัดกลมซานตาคอสแทนซา (Santa Costanza) จากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ใช้เป็นหอศีลจุ่มและเป็นที่เก็บศพของคอสแทนซาพระราชธิดาของจักรพรรดิคอนแสตนติน โครงสร้างยังอยู่ในสภาพที่ดีมากโดยมีโดมกลาง, คอลัมน์, และงานโมเสกแบบคลาสสิค ในซุ้มเล็กสองซุ้มเป็นงานโมเสกที่เก่าที่สุดที่เป็นเรื่องคริสต์ศาสนา ภาพหนึ่งเป็นโมเสส รับพระกฏบัตรเดิม และอีกภาพหนึ่งเป็นพระเยซูมอบพระกฏบัตรใหม่ที่ประทับด้วยอักษร “XP” ให้นักบุญปีเตอร์

สิ่งก่อสร้างที่เก่าที่สุดอีกแห่งหนึ่งที่เคยใช้เป็นหอศีลจุ่มที่มีลักษณะเหมือนที่เก็บศพก็คือหอศีลจุ่มที่ดูรา-ยูโรพาส (Dura-Europas) และทึ่ขุดพบที่อควิลเลีย (Aquileia) หรือที่ ซาโลนา (Salona) ราเวนนามีหอศีลจุ่มที่ภายในตกแต่งด้วยโมเสกอย่างงดงาม หอหนึ่งสร้างในสมัยกลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 และอีกหอหนี่งที่ 6 ซึ่งเป็นสมัยเดียวกัยอีกหอหนี่งที่เนเปิลส์

ทางตะวันออกหอศีลจุ่มที่อิสตันบูลยังอยู่ติดด้านข้างของสุเหร่าซึ่งเดิมเป็นมหาวิหารเซนต์โซเฟีย หอศีลจุ่มที่พบที่อื่นก็มีซีเรีย, ฝรั่งเศส และ อังกฤษ



jerrysoft
#78
03-01-2010 - 18:41:36

#78 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 18:41:36 ]




OKครับ


jerrysoft
#79
03-01-2010 - 18:42:02

#79 jerrysoft  [ 03-01-2010 - 18:42:02 ]




ไม่สนใจก็ได้ครับแล้วผมจะมาสนใจอีกทีตอนไหนครับ


pa_fat_cat
#80
03-01-2010 - 18:44:38

#80 pa_fat_cat  [ 03-01-2010 - 18:44:38 ]








ค่ะ ตอนนี้ซอสลองเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเช่น เล่นเกมส์ซิมส์ อะไรอีกนึกไม่ออก


เอาแค่เล่นซิมส์ก่อน เล่นอยู่ป่าว อยากคุย msn ซอสว่างตอนไหน


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2010-01-03 18:47:17


จะเข้ามาดูทุกวันนะ

ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก
ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก



โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ