เอามาให้ดู นี่คือ ทำการซ้อนพื้นผิว ...ไหมไทยแล้ว
แต่ว่า ...ผมมือใหม่สุดๆ นี่คือชิ้นแรก
เลยใช้เทคนิคอะไร ที่จะเชื่อมต่อ ...เรื่องการปรับสีไปที่ซิมส์ ...ยังไง
ผมทำไม่เป็น
... คนที่นิยมโหลดลาย แปลกๆมาใช้ คงทราบดีว่า
บางลายเราปรับสีได้อิสระ ...คือคนสร้างเค้าเก่ง เค้าเป็นงาน
แต่บางลาย มองดูมันสวยมันละเอียด ...แต่ปรับสีไม่ได้นะ
... ข้าวของเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ อาการเดียวกัน
รับการปรับสีบ้าง ไม่รับบ้าง
ทีนี้ ...ปัญหาขณะนี้
อันนี้ขอคำแนะนำ
คือ
ส่งเข้าซิมส์ 3 มีปัญหาอยู่
TSR ผมลงมา 7-8 รอบ มันติดขั้นตอนสุดท้าย ...ติดตั้งไม่ได้
ครั้นจะใช้ Delphy
ทุกเวอร์ชั่น โหลดมาได้ ...แต่ลงแล้ว 4-5 รอบ ไม่ติด งง ไปหมด ตอนนี้คือ จะเอาเข้าไปลองในเกมส์ยังไง
จะได้รู้ว่า ...งานเรามันปรับสีได้ไหม
ถ้าไม่ได้แก้ได้ไหม ...แล้วต้องแก้ตรงไหน
... คือ พอชิ้นแรก ติดแบบนี้ ...ชิ้นที่ 2 ก็ไม่ต้องทำ
ผมยังเหลือลายอีกเยอะ เช่น
- ลายที่เค้าปรับจาก ลายดอกพุดตานโบราณ จะเอามาทำกระเบื้องห้องน้ำ
- จิตรกรรมฝาผนัง จะเอามาทำฝาบ้านภายในบางส่วน
- ผนังไม้นอกบ้าน ที่ต้องทำลูกฟัก และอาจรวมถึง ...ฝาปะกน
- ภาพช้าง พริกขี้หนู มวยไทย ต้นข้าว พวกนี้จะทำรูปติดผนัง
(อยู่ในสต๊อคผมหมดแล้ว)
.........
ใครพอแนะนำได้ ขั้นตอนพวกนี้
ผมรอรับความรู้อยู่ ...จะให้สอนผม 555555++
.........
เพิ่มความรู้ให้อีกนิดนะ เพราะอยากได้ความเห็นที่มีประโยชน์ ลองไป Google นะ
แล้วใส่ คีเวิร์ด
- Traditional japanese patterns ...ผลออกมาจะได้ลายโบราณ
บางลายอาจใช้มาตั้งแต่สมัย มุโรมาจิ ...เอโดะ ...คะมะกุระ
(ยุคปัจจุบัน คือ เฮเซ)
- Modern japanese patterns ...ผลก็จะต่างกัน
ญี่ปุ่นแทบจะเป็น ชาติเดียวในเอเชีย ที่ทำมานาน
พยายามสร้างลวดลายใหม่ ...ซึ่งพยายามคงความเป็นญี่ปุ่น
และแยกแยะชัดเจน ...แบบไหนลายเก่า แบบไหนลายใหม่
ไทยและชาติอื่นๆ ก็พยายามจะทำ
ตอนนี้ถ้าเสริชแค่ Google
ถ้าใครพอแยกลายเป็น จะดูออก ...แบบไหนลายเก่า อันไหน คือใหม่
... สัก 10ปีก่อน เสริชดู ก็เจอแค่ ...ประจำยาม เทพพนม พุดตาน นรสิงห์ ฯลฯ
ซึ่งอาจจะดูจาก ...วัดเป็นหลัก
ละเลย ลายบนถ้วยชา เครื่องกระเบื้อง เครื่องมุก เครื่องทองลงยา ฯลฯ
และตอนนั้นลายใหม่ยังไม่มีใครคิด