โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ
ความรู้เพิ่มเติม
ฟูกิจัง
#1
ฟูกิจัง
24-07-2013 - 19:26:28

#1 ฟูกิจัง  [ 24-07-2013 - 19:26:28 ]




By Lady Manager

“โรคซึมเศร้า” ชื่อโรคที่หลายคนเริ่มคุ้นหูจากคำเล่าลือว่า เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการเครียดเศร้า และมีแนวโน้มทำให้คิดฆ่าตัวตาย! ที่สำคัญจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าในปัจจุบันก็มีมากถึง 5-7% ของจำนวนประชากรเลยทีเดียว



แม้จะเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยคิดสั้นปลิดชีพตัวเอง แต่หลายคนกลับไม่รู้ตัวว่ากำลังป่วยด้วยโรคซึมเศร้าอยู่

โอกาสนี้เราเลยขอพาคุณไปเจาะลึกถึงเรื่องราวของโรคซึมเศร้า ว่าแท้จริงแล้วเกิดจากสาเหตุใด เมื่อเป็นโรคแล้วผู้ป่วยจะมีอาการอย่างไร และเราจะสามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร กับคุณหมอคนสวยอดีตนางสาวไทยปี 2542 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ หรือคุณหมอเบิร์ท จิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลศรีธัญญา

“สาเหตุการฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อย และคนไม่ค่อยทราบกันคือ เรื่องของโรคซึมเศร้า เนื่องจากมีคนจำนวนมาก ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแต่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย ซึ่งหากป่วยแล้วปล่อยไว้นานๆ โดยไม่ได้รักษา ก็จะส่งผลให้คนไข้มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายได้” คุณหมออภิสมัยเกริ่นนำถึงภัยร้ายแรงของโรคซึมเศร้า

ต้นตอสำคัญมาจากพันธุกรรม!

“อาการที่เด่นชัดของโรคซึมเศร้าคือ อาการหงุดหงิด ก้าวร้าว อารมณ์เศร้า ถ้าผู้ป่วยเป็นวัยรุ่น อาจจะมีอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว อยู่ๆ ก็อยากหงุดหงิด ซึ่งจุดนี้บางคนคิดว่าเมื่อไปเจอเรื่องราวมรสุมชีวิต เลยกลายเป็นโรคซึมเศร้า แต่จริงๆ ไม่ใช่ ปัจจุบันทางการแพทย์เราเชื่อว่า โรคซึมเศร้านี้ เมื่อคนเราเกิดมา ร่างกายก็มียีน (Gene) ติดตัวมาอยู่แล้ว ดังนั้นหากพ่อแม่เป็นโรคซึมเศร้า หรือปู่ ย่า ตา ยาย เป็นโรคซึมเศร้า คนๆ นั้นก็มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคู่แฝด ถ้าฝาแฝด คนใดคนหนึ่งเป็น แฝดอีกคนก็จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 50% หรือมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า

ดังนั้นโรคซึมเศร้าจึงไม่ใช่ว่าชีวิตต้องเจอกับมรสุมอะไร คนไข้หลายคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มักจะบอกกับหมอว่า ชีวิตก็ดี งานก็ดี ลูกก็ดี แต่ไม่รู้ทำไมอยู่ๆ ถึงเศร้าขึ้นมา คำตอบก็คือ ยีน ที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดนี่แหละ แต่ปัจจัยภายนอกก็มีผลเช่นกัน เพราะบางคนที่มียีนอยู่แล้ว ติดตัวมาแต่เกิด และเมื่อโตขึ้นก็ไปเจอมรสุมชีวิตอีก มันก็ยิ่งเป็นเหมือนการกระตุ้นให้อาการป่วยแสดงออกมา” จิตแพทย์แห่งโรงพยาบาลศรีธัญญาอธิบายถึงต้นตอของโรค

สัญญาณบอกเหตุโรคซึมเศร้า



หลังบอกถึงสาเหตุหลักของโรคแล้ว คุณหมอนางงามอธิบายต่อถึงสัญญาณบอกเหตุของโรคซึมเศร้าว่ามีด้วยกัน 9 ประการ ซึ่งหากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ 5 ข้อติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน ว่าอาจถูกเจ้าโรคซึมเศร้ามาเยือนเข้าแล้ว

“ 1. อารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว
2. ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง
3. สมาธิเสีย คือ ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่างๆ
4. รู้สึกอ่อนเพลีย
5. เชื่องช้า ทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด
6. รับประทานอาหารมากขึ้น หรือรับประทานน้อยลง
7. นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง
8. ตำหนิตัวเอง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่พบได้มากในคนเป็นโรคซึมเศร้า
9. ฆ่าตัวตาย หากมีการพยายามฆ่าตัวตาย ก็ตั้งข้อสันนิษฐานได้เช่นกันว่า คนนั้นอาจเป็นโรคซึมเศร้า

ทั้งนี้อาการของโรคซึมเศร้า ต้องมี 5 ใน 9 อย่างนี้นาน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน”

สาวๆ หลายคนเชียวค่ะที่มีปัญหาหงุดหงิดหรือซึมเศร้าระหว่างมีประจำเดือน จึงมักเกิดคำถามว่าอาการซึมเศร้าเมื่อมีรอบเดือนนั้น คือ อีกสัญญาณบอกเหตุของโรคซึมเศร้าหรือไม่ จิตแพทย์สาวอธิบายให้โล่งใจว่า

“การมีประจำเดือนก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ แต่กรณีนี้อาจจะไม่ถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าค่ะ เราต้องกลับไปดูเกณฑ์ 9 ข้อ ว่าเราเข้าเกณฑ์ 5 ใน 9 นั้นมั้ย นั่นคือ ถ้ามีอาการซึมเศร้าแค่ช่วงมีรอบเดือนแล้วหาย มันยังไม่เข้าเกณฑ์เป็นโรคซึมเศร้า เพราะเกณฑ์การเป็นโรคซึมเศร้าต้องเป็นต่อเนื่องกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ถ้าซึมเศร้าระยะเวลาน้อยกว่านั้น คือ เป็นเฉพาะตอนมีประจำเดือนแค่ไม่กี่วัน อันนั้น เป็นผลที่เกิดมาจากฮอร์โมน(Hormone)”

ร้ายแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย …แต่รักษาได้ไม่ยากเย็น



“ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นจำนวนมาก ประมาณ 5-7% ของประชากรเลยทีเดียว แต่โรคนี้ก็รักษาได้ง่ายมากรักษา 2 สัปดาห์ก็เห็นผลชัด ซึ่งบางคน 2 สัปดาห์ก็กลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติแล้ว แต่หากไม่รักษาอาจจะชีวิตพัง เช่น หย่าร้างกับคู่ ต้องออกจากงาน หรือถึงขั้นฆ่าตัวตาย

การรักษาโรคซึมเศร้ามี 3 องค์ประกอบด้วยกัน อย่างแรกคือ ยา ที่จะช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้สมดุล แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าคือ องค์ประกอบที่ 2 นั่นคือ การทำจิตบำบัดให้คนไข้ เช่นคนไข้มีปัญหาที่การควบคุมอารมณ์ ก็แก้ที่การควบคุมอารมณ์

นอกจากนี้องค์ประกอบที่ 3 คือ เรื่องของสังคม ก็มีส่วนช่วยบำบัดฟื้นฟูมาก เช่น คนไข้ที่เมื่อมารักษากับแพทย์ กลับบ้านไปแล้วมีกิจกรรมทำ กลับไปเรียนหนังสือตามปกติ ไปทำงานมีเพื่อนฝูงตรงนี้จะยิ่งทำให้คนไข้ฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้ไว เทียบกับคนที่กินยา แต่เก็บเนื้อเก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร แม้จะกินยาเหมือนกันแต่ว่าผลในการบำบัดรักษาฟื้นฟูจะแตกต่างกัน คือ กลุ่มที่เก็บเนื้อเก็บตัว ผลการรักษาจะไม่ดีเท่าไหร่” คุณหมอเบิร์ท อธิบายให้ทราบถึงแนวทางการรักษา พร้อมบอกถึงวิธีเตรียมตัวรับมือกับโรคซึมเศร้ามาว่า

“โรคซึมเศร้าจะมีเกณฑ์ว่ามักเริ่มเป็นตอนอายุ 25 ปี แล้วก็จะเป็นไประยะยาวเลย แม้จะรักษาแล้วก็ยังต้องเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เหมือนโรคเบาหวาน ความดัน ที่ต่อให้ไม่มีอาการแล้วก็ต้องทานยาควบคุมไม่ให้อาการกำเริบ แต่โรคนี้ก็มีข้อดีตรงที่ เมื่อเข้ารับการรักษาแล้ว สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ เป็นคนเก่ง เรียนถึงปริญญาโท ปริญญาเอก เป็นผู้บริหารระดับสูง เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในสังคมได้หมด

ดังนั้นสำหรับการรักษา หากกินยาจนครบ หมอจะให้หยุดยา แต่ก็ยังต้องเฝ้าสังเกตอาการ เพราะมันอาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้ เหมือนอย่างโรคมะเร็ง พอเราฆ่าเชื้อมะเร็งหมดไป เราก็ต้องเฝ้าดูอาการว่ามะเร็งมันจะกลับมาเป็นซ้ำหรือเปล่า โรคซึมเศร้าก็เป็นลักษณะนั้น ดังนั้นการรับมือกับโรคนี้คือ หมั่นสังเกตอาการที่บอกไป 9 อย่าง อย่าละเลยจนให้ถึงกับว่าคนๆ หนึ่งต้องออกจากงาน หย่าร้างกับสามี ตีลูกโดยไม่มีเหตุผล เพราะแม่ที่เป็นลูกซึมเศร้า เลี้ยงลูก ลูกก็มีปัญหา ฉะนั้นหากเจอสัญญาณอันตราย การเป็นโรคนี้แต่เนิ่นๆ อย่ารอจนเขามีความคิดฆ่าตัวตาย ควรรีบเข้าสู่กระบวนการรักษาให้เร็วที่สุด” คุณหมออภิสมัยให้ข้อมูลทิ้งท้าย


cr: http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9540000122753
 1992842


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2013-07-24 19:28:10
Venom


.
ฟูกิจัง
#2
ฟูกิจัง
25-07-2013 - 17:31:28

#2 ฟูกิจัง  [ 25-07-2013 - 17:31:28 ]




ประชาคมอาเซียน คือ
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
แต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” >>ไปที่ thai-aec.com<<
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

- See more at: http://xn--42cle0dg2bid7g0axd4b6k.net/#sthash.85pJ2VCe.dpuf



.
  • 1

ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก
ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก



โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ