อิอิ ขอโทดนะคะ ถ้าซ้ำใครก็ขออภัย ไปหาความรู้มาอะคะจะมาแบ่งปันความรู้
ย้ำ ซ้ำขออภัย(ไปก็อปเค้ามา)
โดราเอมอน (ญี่ปุ่น: ドラえもん Dora'emon โดะระเอะมง ?) เป็นตัวละครจากการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน เป็นหุ่นยนต์แมวจากโลกอนาคต ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 22เกิดวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2655 (ค.ศ. 2112) ลักษณะตัวอ้วนกลมสีฟ้า (เมื่อแรกเกิดมามีสีเหลือง) ไม่มีใบหู เนื่องจากถูกหนูแทะ มีหน้าที่เป็นหุ่นยนต์พี่เลี้ยงซึ่งคนที่ซื้อโดราเอมอนมาคือเซวาชิเหลนชายของโนบิตะ วันหนึ่งเซวาชิเกิดอยากรู้สาเหตุที่ฐานะทางบ้านยากจน จึงได้กลับไปในอดีตด้วยไทม์แมชชีน จึงได้รู้ว่าโนบิตะ (ผู้เป็นปู่ทวด) เป็นตัวต้นเหตุ เซวาชิจึงได้ตัดสินใจให้โดราเอมอนย้อนเวลาไปคอยช่วยเหลือดูแลเวลาโนบิตะโดนแกล้งโดยใช้ของวิเศษที่หยิบจากกระเป๋าสี่มิติ
โดราเอมอนเคยได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของทวีปเอเชีย[1] และในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 มาซาฮิโกะ คามูระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น ได้แต่งตั้งให้โดราเอมอนเป็นทูตสันถวไมตรีอย่างเป็นทางการ เพื่อช่วยในการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของประเทศ โดยนับเป็น "ทูตแอนิเมชัน" ตัวแรกของประเทศญี่ปุ่น
แรงบันดาลใจ
ตัวละครโดราเอมอนนั้น ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 เนื่องจากนักวาดการ์ตูนทั้ง 2 ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาทั้งสองไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจากลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ แต่ในความจริงแล้วทั้งสองยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับทั้งสองเป็นอย่างมาก
ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ หนึ่งในนักวาดการ์ตูน ได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเองเป็นประจำ เขามักจะชอบจับแมวตัวนี้มาหาหมัด จนเวลาล่วงเลยมาถึง 4.00 น. ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่ ทำให้ฮิโรชิโมโหตัวเองเป็นอย่างมาก และคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีน เพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไป จึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่บนพื้น
เหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตาญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ได้เรื่อง และตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ" กับ "เอมอน" ในภาษาญี่ปุ่น โดราเนโกะนั้นแปลว่าแมวหลงทาง ส่วนคำว่า "เอมอน" เป็นคำเรียกต่อท้ายชื่อของเด็กชายในสมัยก่อนของประเทศญี่ปุ่น
ต้นกำเนิดโดเรม่อน
โดราเอมอนถูกผลิตขึ้นในโรงงานสร้างหุ่นยนต์ที่เมืองโตเกียว เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 (พ.ศ. 2655) แต่ในระหว่างการผลิตเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ทำให้โดราเอมอนมีคุณสมบัติไม่เหมือนหุ่นยนต์แมวตัวอื่น ต้องเข้ารับการอบรมในห้องเรียนคลาสพิเศษของโรงเรียนหุ่นยนต์ (และได้พบกับเพื่อนๆ แก๊ง ขบวนการโดราเอมอน ที่นั่น) จนกระทั่งวันหนึ่ง ในงาน "โรบ็อต ออดิชัน" ซึ่งเป็นงานที่จัดให้มีการแสดงความสามารถของหุ่นยนต์ที่ได้ผ่านการอบรมแล้ว ด้วยความซุกซนของเซวาชิในวัยเด็ก เขาจึงได้กดปุ่มเลือกซื้อโดราเอมอนมาไว้ที่บ้าน ด้วยเหตุนี้ โดราเอมอนจึงได้มาอยู่อาศัยที่บ้านของเซวาชิ ในฐานะของหุ่นยนต์เลี้ยงเด็ก[3] แต่ในต้นฉบับดั้งเดิมนั้นจะแตกต่างกัน คือ โดราเอมอนได้ถูกนำไปขายทอดตลาด เพราะเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพ จากนั้นพ่อแม่ของเซวาชิจึงมาซื้อโดราเอมอนไปไว้ที่บ้าน
แต่เดิมนั้นตัวโดราเอมอนมีสีเหลือง และมีหู แต่แล้วในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2122 (พ.ศ. 2665) ขณะที่โดราเอมอนหลับอยู่นั้น ใบหูก็โดนหนูแทะจนแหว่งไปทั้ง 2 ข้าง และไม่สามารถซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้ หลังจากรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์แมว "โนราเมียโกะ" (ノラミャー子) แฟนสาวของโดราเอมอนก็มาเยี่ยม แต่พอรู้ว่าโดราเอมอนไม่มีหู เหลือแต่หัวกลม ๆ โนราเมียโกะถึงกับหัวเราะเป็นการใหญ่ ทำให้โดราเอมอนเสียใจเป็นอย่างมาก แต่ก็พยายามทำใจด้วยการดื่มยาเสริมกำลังใจ แต่โดราเอมอนหยิบผิดกลายเป็นดื่มยาโศกเศร้าแทน ทำให้เขาโศกเศร้ากว่าเดิม และร้องไห้ไม่หยุดอยู่ริมชายหาด 3 วัน 3 คืน จนสีลอกเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอย่างที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน หลังจากนั้นโดราเอมอนจึงเกลียดกลัวหนูเป็นอย่างมาก และไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเองเกี่ยวกับเรื่องความรัก
นอกจากนั้น โดราเอมอนยังมีน้องสาวชื่อโดเรมี ที่จริงก็แค่ใช้เศษเหล็กแบบเดียวกันในการผลิต แต่โดเรมีใช้น้ำมันรุ่นใหม่ ขณะที่ผลิตโดราเอมอนอยู่ได้ทำชิปหล่นหายไป 1 ส่วน จึงทำให้หยิบของวิเศษผิดพลาดบ่อยๆ
นักพากย์
ญี่ปุ่น
โคเซ โทมิตะ >> ต่อมาเปลี่ยนเป็น มาซาโกะ โนซาวะ (2516 - 2522)
โนบุโยะ โอยามะ (2522 - 2548)
วาซาบิ มิซึตะ (2548 - ปัจจุบัน)
ไทย
ฉันทนา ธาราจันทร์ (2525 - ปัจจุบัน)
ข้อมูลของโดราเอมอน
เป็นความตั้งใจของผู้วาดการ์ตูนที่ใช้ตัวเลข 129.3 กับตัวละครนี้ โดราเอมอนจึงมีอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับตัวเลขชุดนี้
มีน้ำหนัก 129.3 กิโลกรัม
ความสูง 129.3 เซนติเมตร (แต่เวลานั่ง จะเหลือ 100 เซนติเมตร)
กระโดดได้สูง 129.3 เซนติเมตร (เวลาเจอหนู)
มีพละกำลัง 129.3 แรงม้า
วัดรอบหัว รอบอก รอบเอวได้ 129.3 เซนติเมตร
วิ่งปกติในระยะ 50 เมตรใช้เวลา 15 วินาที แต่ถ้าเจอหนูจะวิ่งได้เร็วถึง 129.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
วันที่ผลิตคือ ปีที่ 2112 เดือน 9 วันที่ 3 (เรียงแบบปฏิทินญี่ปุ่น)
ส่วนประกอบร่างกายโดเรม่อน
นื่องจากเป็นหุ่นยนต์แมวที่ผลิตขึ้นในอนาคตคือคริสต์ศตวรรษที่ 22 ตามจินตนาการของผู้แต่ง ส่วนประกอบในร่างกายของโดราเอมอนจึงเต็มไปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง(แต่จะเสียแล้วเป็นส่วนใหญ่ ทำให้โดราเอมอนมีราคาถูกมาก) ซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
หัว
โดราเอมอนเป็นหุ่นยนต์แมวที่มีการติดตั้งชิปคอมพิวเตอร์ในหัว ทำให้มีความรู้สึกนึกคิด สามารถพูดภาษามนุษย์ (ภาษาญี่ปุ่น) และพูดภาษาแมวได้ แต่ภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาญี่ปุ่น และภาษาสัตว์อื่นๆ จะฟังไม่รู้เรื่อง จึงต้องพึ่ง "วุ้นแปลภาษา"[4] กับ "หูฟังภาษาสัตว์" แทน[5] อีกทั้งยังสมองไม่ไวเท่าที่ควร เวลาคำนวณเลขยากๆ จึงต้องใช้กระดาษทด[6] หรือเครื่องคิดเลขช่วย[7]
นอกจากนี้ หัวของโดราเอมอนยังแข็งราวกับหิน ซึ่งเขาถือว่าเป็นอาวุธลับขั้นสุดท้ายของตัวเอง โดยสามารถเอาหัวโขกจนประตูพังได้ และวิ่งกระโจนเอาหัวพุ่งใส่แทงค์แก๊ส(ที่ทำจากโลหะผสมชนิดพิเศษ) จนแทงค์เป็นรูเสียหาย (แต่ตนเองก็หมดสติไปเลยเช่นกัน) [8]
ใบหน้า
ใบหน้าของโดราเอมอน มีลักษณะเป็นทรงกลม จมูกกลมสีแดง และมีหนวด 6 เส้น ดูคล้ายกับแมว แต่คนอื่นๆ มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นทานูกิ หรือแรคคูน ซึ่งโดราเอมอนจะไม่พอใจทุกครั้งที่ถูกเรียกแบบนั้น[9]
ตา
ตาแสงอินฟราเรด สามารถมองเห็นได้แม้แต่ในที่มืด(ชำรุด)
จมูก
มีลักษณะเป็นลูกกลมๆ สีแดง เหมือนกับปลายหาง รับรู้กลิ่นได้ไวกว่ามนุษย์ 20 เท่า แต่ปัจจุบันชำรุด จึงสามารถดมกลิ่นได้เท่าจมูกคนเท่านั้น
หนวด
มี 6 เส้น เป็นหนวดเรดาร์ สามารถจับวัตถุระยะไกลได้ แต่อยู่ระหว่างรอซ่อมแซม
ร่างกาย
ผิวหนังเป็นโลหะผสมพิเศษต้านแรงดึงดูด ทำให้ฝุ่นละอองไม่สามารถจับเกาะได้ นอกจากนี้ยังมีความทนทานสูง แม้อยู่ในอวกาศหรือใต้ทะเลลึกก็ไม่เป็นปัญหา[10] โดนของเหลวคล้ายกรดสาดใส่ก็ไม่ละลาย[11] แต่ก็มีข้อเสียหลายอย่างเช่นกัน คือ แพ้อากาศร้อน[10] และแพ้อากาศหนาว จนถึงขั้นเป็นหวัดได้[12] หากโดนไฟฟ้าช็อตก็จะเสียหาย[8][13] และพอกินอะไรเข้าไปจะกลายพลังงานทั้งหมด
มือ
รูปร่างกลมสีขาวไม่มีนิ้วมือ จึงไม่สามารถเล่นพันด้าย[14] และเป่ายิ้งฉุบได้ เล่นบาร์โหนก็ไม่ถนัด[15] แต่สามารถดูดจับสิ่งของได้ทุกอย่าง[16]
ปาก
ปากขนาดกว้าง สามารถรับประทานได้ทุกอย่าง โดยจะเปลี่ยนเป็นพลังงานปรมาณูโดยมีเตาปฏิกรณ์อยู่ที่ส่วนกระเพาะ ภายในปากจะมีฟันที่เรียกว่า "ฟู้ดคัตเตอร์" ซึ่งจะปรากฏให้เห็นเฉพาะเวลาที่โดราเอมอนโกรธจนต้องยิงฟันเท่านั้น แต่ในตอนพิเศษ "ไดโนเสาร์ของโนบิตะ 2006" โดราเอมอนกลับถูกวาดให้มองเห็นซี่ฟันอย่างชัดเจน
กระพรวน
ไว้ห้อยคอ มีสีเหลือง ส่วนสายคาดมีสีแดง เมื่อสั่นกระพรวนจะสามารถเรียกแมวที่อยู่ใกล้เคียงมาชุมนุมกันได้ โดยจะปล่อยคลื่นเสียงพิเศษ แต่ตอนนี้ใช้งานไม่ได้[9] ปัจจุบันจึงได้เปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่เพื่อใช้งานเป็นกล้องถ่ายรูปขนาดเล็กแทน[9]
กระเป๋าหน้าท้อง
เป็นกระเป๋าสี่มิติ ไว้สำหรับเก็บของวิเศษ พื้นที่เก็บของไม่มีจำกัด สามารถถอดไปทำความสะอาดได้ โดยระหว่างนั้นจะนำกระเป๋าสี่มิติใบสำรอง หรือที่มักเรียกว่า "กระเป๋าสำรอง" มาใช้แทน ซึ่งกระเป๋าทั้งสองจะมีมิติเชื่อมต่อกัน ของที่เอาใส่ในกระเป๋าใบหนึ่ง จะสามารถนำออกมาจากกระเป๋าอีกใบหนึ่งได้[17]
เท้า
ลักษณะแบนเรียบ สีขาว มีพลังต้านแรงดึงดูด ส่งผลให้เท้าอยู่ลอยจากพื้น 3 มิลลิเมตร เลยไม่จำเป็นต้องใส่รองเท้าเพราะไม่มีฝุ่นผงติดเท้า เดิมทีเท้าของโดราเอมอนจะเป็นแบบที่สามารถเดินได้โดยไม่มีเสียงเหมือนกับแมวย่อง แต่ปัจจุบันชำรุดไปแล้ว ทำให้เวลาเดินจึงมีเสียงจากแรงเสียดสีกับอากาศ
สำหรับเวลาขี่จักรยานต้องใช้ปากจับแฮนด์ และใช้มือถีบที่ปั่นจักรยานแทน เนื่องจากขาหยั่งไม่ถึง[18]
หาง
เป็นสวิตช์ปิด-เปิด ถ้าถูกดึง ทุกอย่างจะหยุดทำงาน โดราเอมอนสามารถดึงหางเพื่อปิดสวิตช์ตัวเอง แต่ไม่สามารถดึงเพื่อเปิดเองได้ ปัจจุบันคุณสมบัตินี้ถูกยกเลิกไปแล้ว
สิ่งที่ชอบ-เกลียดของโดเรม่อน
สิ่งที่ชอบที่สุดคือขนมหวานญี่ปุ่นที่เรียกว่า โดรายากิ (แป้งทอด) โดยสามารถกินโดรายากิขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ขนาดใหญ่เท่าห้องของโนบิตะ) ได้คนเดียวหมด[19] และเคยชนะเลิศการแข่งขันกินโดรายากิเร็วมาแล้ว[20] และเพียงแค่ไม่ได้กินโดรายากิติดต่อกัน 3 วัน ก็แทบจะทนมีชีวิตอยู่ไม่ได้[21] สาเหตุที่ชอบกินโดรายากินั้น เป็นเพราะสมัยอยู่ในศตวรรษที่ 22 โดราเอมอนเคยได้รับโดรายากิจากแมวสาว "โนราเนียโกะ" มันจึงกลายเป็นของโปรดของเขามาตั้งแต่บัดนั้น[3] เขาสามารถทำได้ทุกอย่างโดยไม่เลือกวิธีการเพื่อให้ได้โดรายากิมา หากได้ยินว่ามีร้านค้าร้านไหนที่ขายโดรายากิลดราคาก็จะรีบบึ่งไปซื้อมาในทันที ซึ่งจากความชอบจนกลายเป็นของโปรดนี้เอง จึงทำให้โดราเอมอนให้ความสำคัญกับเรื่องรสชาติความหวานของโดรายากิเป็นอย่างมาก จนถึงกับเคยมีเรื่องถกเถียงกับเจ้าของร้านขายขนมมาแล้ว หลังจากที่ทางร้านทำโดรายากิออกมาหวานเกินไป[22]
นอกจากโดรายากิแล้ว อาหารอย่างอื่นที่โดราเอมอนชอบก็คือ ขนมโมจิ ซึ่งเคยได้กินในตอนแรกสุด ที่เพิ่งเดินทางมาหาโนบิตะด้วยไทม์แมชชีน โดยเมื่อโดราเอมอนได้กิน ก็บอกว่า อร่อยมาก ขนาดกินจนหมดแล้วยังถึงกับเลียจานเลยทีเดียว[23]
ส่วนสิ่งที่โดราเอมอนเกลียดและกลัวที่สุดคือ หนูเพราะเคยโดนหนูกัดหูจนหูแหว่งไปทั้ง 2 ข้างตอนหลับ นอกจากนั้นยังกลัวแฮมสเตอร์ด้วย เพราะโดราเอมอนถือว่าเป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับหนู
ชื่อเรียกโดเรม่อนในภาษาต่างๆ
โดราเอมอนมีการตีพิมพ์ไปในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้บางครั้งอาจจะมีมีการเรียกโดราเอมอนต่างกันในแต่ละภาษา
ภาษาจีนกลาง - 小叮当 (Xiǎo Dīng Dāng, เสี่ยวติงตัง ) หรือ 机械猫 (Jīxièmāo) หรือ 机器猫 (Jīqìmāo)
ภาษาจีนกวางตุ้ง ในฮ่องกง - 多啦A夢 (ตั๊วะหลาเอม่ง) แต่ก็นิยมเรียกว่า 叮噹 (Ding Dong)
ภาษาเวียดนาม - Đôrêmon
ภาษาจีนกลาง ในประเทศไต้หวัน - 哆啦A夢 แต่ก็นิยมเรียกว่า 小叮噹
ภาษาตากาล็อก - Damulag
ภาษาเกาหลี - ฉบับไพเรทใช้ชื่อว่า 동짜몽 (โดงซาโมง) ส่วนฉบับลิขสิทธิ์ใช้ชื่อว่า 동짜몽 도라에몽 (โดงซาโมง โดราแอโมง)
ภาษามาเลย์- Doraemon แต่ออกเสียงว่า โดเรมอน (do.re.mon)
ภาษาไทย - จะเรียกกันติดปากว่า"โดเรม่อน"แต่ถ้าเป็นภาษาเขียนจะเขียนว่า"โดราเอมอน"
ภาษาลาว - ໂດຣາເອມອນ
นอกจากนี้ในภาษาฮินดี และภาษาอินโดนีเซีย ยังคงเรียก Doraemon ตามต้นฉบับ
อ้างอิง
↑ TIMEasia.com: Asian Heroes - Doraemon
↑ "โดราเอมอน" ลั่นพร้อมทำงานเพื่อชาติ, ผู้จัดการออนไลน์, 19 มี.ค. 2551, เรียกข้อมูลเมื่อ 22 มี.ค. 2551
↑ 3.0 3.1 โดราเอมอน ตอน กำเนิดโดราเอมอน ปี 2112, โยชิโทโมะ โยเนทานิ (เขียนบท-กำกับ), ชินเอโดงะ (ผลิต), 2538
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 12 ตอน ย้ายไปอยู่ปราสาทผีสิง, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 22 ตอน ดินแดนของ "หนึ่ง" สุนัขพเนจร, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 3 ตอน โบนัส 1024 เท่า, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 18 ตอน เรื่องเงินไหลมาเทมา, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ 8.0 8.1 โดราเอมอน ตอน บุกอาณาจักรเมฆ, หน้า 180-183, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ 9.0 9.1 9.2 โดราเอมอน ตอน ตะลุยดาวต่างมิติ, หน้า 66 และ 132, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ 10.0 10.1 โดราเอมอน ตอน ตะลุยปราสาทใต้สมุทร, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน ตอน ไซอิ๋ว, สึโตมุ ชิบายามะ (กำกับ), ชินเอโดงะ (ผลิต), 2531
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 3 ตอน นางฟ้านำทาง, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน ตอน ฝ่าแดนเขาวงกต, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 15 ตอน โลกของการดึงด้าย, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 19 ตอน บ้านนักกรีฑา, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 30 ตอน คนโทรศัพท์กวนเมืองกลางดึก, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 25 ตอน มีกระเป๋าสำรองอยู่ในกระเป๋าสี่มิติ, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 36 ตอน จิโซ เทพเด็กทิ่มสวรรค์, หน้า 189, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 42 ตอน ทำเกินไปแล้ว! เครื่องบรรลุความหวัง, หน้า 146-147, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์, 19 กุมภาพันธ์ 2550
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 31 ตอน สนุกด้วยเครื่องบันทึกประสบการณ์, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 36 ตอน เล่นเป็นเทวดา, หน้า 105, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 37 ตอน เครื่องสั่นคลอนความมั่นใจ, หน้า 52-59, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน เล่มที่ 1 ตอน ผู้มาจากอนาคต, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
↑ โดราเอมอน ตอน กำเนิดประเทศญี่ปุ่น, สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
ขอกำลังใจสักนิดหรืออะไรก็ได้ เพราะก็อปมาก็เหนื่อย(มาก) - -*
บายเด้อค้าดาวสักนิดก็ดี ><''
อธิบายเรื่องโดเรม่อน
Mine20773 | #1 30-07-2013 - 18:03:29 | ||||
|
cooly | #2 30-07-2013 - 18:23:01 | ||||
|
Bell20773 | #3 31-07-2013 - 19:34:13 | ||||
|
|
best10210 | #4 02-08-2013 - 19:54:52 | ||
|
|
Mine20773 | #5 05-08-2013 - 17:41:28 | ||||
|
Mine20773 | #6 02-09-2013 - 17:26:25 | ||||
|
- 1
ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้ |
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล] |