เด็กหญิงที่โลกเคยหยุดฟัง
“หนูไม่กล้าออกไปสัมผัสแสงแดดกลางแจ้ง เพราะชั้นโอโซนมีรูโหว่ หนูไม่กล้าหายใจ เพราะไม่รู้ว่าในอากาศมีสารเคมีอะไรปะปนอยู่บ้าง ที่แวนคูเวอร์ หนูเคยตกปลากับพ่อ แต่เมื่อ 2-3 ปีมานี้ เราพบว่าในตัวปลาเต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง หนูรู้ว่า ทุกวันนี้พืชและสัตว์หลายชนิดกำลังสูญพันธุ์ มันหายไปจากโลกอย่างถาวร หนูฝันที่จะได้เห็นผืนป่าฝนเขตร้อนที่เต็มไปด้วยนกและผีเสื้อนานาชนิด แต่ตอนนี้หนูไม่แน่ใจว่า สิ่งเหล่านี้จะคงอยู่ให้เด็กๆ รุ่นต่อไปได้เห็นอีกหรือไม่ พวกคุณเคยกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างหรือไม่”
“หนูยังเป็นเด็กและไม่รู้หนทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่หนูอยากให้คุณตระหนักว่า ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะปิดรูโหว่ของชั้นโอโซนได้อย่างไร ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะฟื้นชีวิตสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วอย่างไร และคุณก็ไม่สามารถทำให้ผืนป่าคืนกลับมาในพื้นที่ที่ปัจจุบันกลายเป็นทะเลทราย ถ้าคุณไม่รู้วิธีเยียวยาปัญหาพวกนี้ โปรดหยุดทำลาย”
นี่เป็นข้อความบางส่วนที่เด็กหญิงวัย 12 ขวบชื่อเซเวิร์น ซูซูกิ กล่าวอย่างฉะฉานต่อหน้าบรรดาผู้นำและตัวแทนจากหลายประเทศทั่วโลกในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Earth Summit) ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1992 ณ เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล
สุนทรพจน์ความยาว 6 นาทีเศษจบลงด้วยคำขอบคุณจากผู้ฟัง และเสียงปรบมือกึกก้องก็ดังขึ้นยาวนาน อัลเบิร์ต อาร์โนลด์ นักการเมืองชาวอเมริกัน ซึ่งนั่งฟังตั้งแต่ต้นจนจบ เดินเข้ามา
แสดงความยินดีกับเด็กหญิงและกล่าวชื่นชมว่า เป็นสุนทรพจน์ที่ดีที่สุดที่เขาได้ฟังระหว่างเข้าร่วมการประชุมเอิร์ธซัมมิต เพียงข้ามคืนหลังจากนั้น เธอกลายเป็นคนที่ทุกคนรู้จัก
เมื่ออายุ 6 ขวบ ขณะที่เด็กหญิงคนอื่นๆ ยังเล่นตุ๊กตา เซเวิร์นลุกขึ้นมาช่วยพ่อขายหนังสือเพื่อระดมทุนช่วยเหลือชนพื้นเมืองแถบบริติชโคลัมเบีย เพื่อดำเนินการเรียกร้องสิทธิในที่ดิน
โตขึ้นมาอีกหน่อยในวัย 9 ขวบ เธอติดตามพ่อไปยังประเทศบราซิลและพบเห็นการบุกรุกทำลายผืนป่าอะเมซอนด้วยตนเอง สิ่งที่ประทับเป็นภาพความทรงจำทำให้เซเวิร์นมิอาจนิ่งดูดาย
ดังนั้นเมื่อกลับมาถึงแคนาดา เธอจึงรวบรวมสมาชิกเพื่อนร่วมชั้นที่มีหัวใจสีเขียวดวงน้อยๆ เหมือนกัน ก่อตั้งขึ้นเป็นกลุ่มองค์การเด็กสิ่งหรือเรียกสั้นๆ ว่า ECO โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยกันเรียนรู้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและรณรงค์เผยแพร่สู่เด็กคนอื่นๆ และกลุ่ม ECO น้อยยังสามารถระดมทุนเพื่อจัดซื้อเครื่องกรองน้ำให้แก่ชุมชนพื้นเมืองในประเทศมาเลเซียได้เป็น
แม้แต่การเข้าร่วมประชุมเอิร์ธซัมมิต เธอและเพื่อนอีก 3 คนในฐานะตัวแทนกลุ่ม ECO เดินทางข้ามประเทศเป็นระยะทางกว่า 5,000 ไมล์จากแวนคูเวอร์ไปยังริโอ เดอ จาเนโร ด้วยเงินที่ช่วยกันขายขนมอบและเครื่องประดับทำมือ
เมื่อการประชุมเอิร์ธซัมมิตปิดฉากลง ประตูแห่งโอกาสในการสื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อมของเซเวิร์นก็เปิดกว้างขึ้น นอกจากได้รับรางวัลเกียรติยศจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เธอยังได้รับเชิญไปสัมภาษณ์ผ่านทางทีวีและวิทยุนับครั้งไม่ถ้วน เขียนบทความด้านสิ่งแวดล้อม เขียนหนังสือแนะนำแนวทางการดูแลสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กๆ ชื่อ “Tell the World” และ “The Day You Will Change the World” รวมทั้งรับบทพิธีกรรายการสำหรับเด็กที่ชื่อ Suzuki's Nature Quest
ในปี ค.ศ. 2002 เซเวิร์นเขียนบทความชื่อ “The Young Can't Wait” ลงในนิตยสารไทม์
“ผู้เข้าร่วมประชุมบางคนถึงกับน้ำตาเอ่อ คำพูดของฉันน่าจะกระทบใจและมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงได้บ้าง แต่เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งทศวรรษ ฉันคิดว่าสุนทรพจน์ไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งความหวังความเชื่อมั่นในตัวผู้นำที่มีอำนาจตัดสินใจและความศรัทธาในพลังของคนเล็กๆ ที่ส่งเสียงเรียกร้องถึงผู้นำเหล่านั้นก็เหือดแห้งไปจนหมด”
และเธอได้กล่าวไว้ว่าเธอเห็นด้วยอย่างยิ่งกับวาทะของคานธี ที่ว่า “We must become the change we want to see” เราต้องลงมือเปลี่ยนแปลง ในสิ่งที่เราอยากให้โลกเปลี่ยนแปลง
ปัจจุบันนอกจากรั้งตำแหน่งหนึ่งในคณะกรรมการอนุรักษ์ภาคประชาชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งบริติชโคลัมเบีย เซเวิร์นยังคงเดินหน้าสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมผ่านการพูดคุยกับผู้ฟังในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ภาคธุรกิจ รวมทั้งหน่วยงานของรัฐอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ตอนที่อายุ 12 ขวบเราคงไม่ได้ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากเท่าเด็กหญิงเซเวิร์น แต่วันนี้เราเติบโตขึ้นและมีโอกาสรับรู้ปัญหาวิกฤตของโลกมากขึ้น เราจะสามารถหมุนโลกไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้นได้สักครึ่งหนึ่งของเธอหรือไม่ คำถามนี้ต้องตอบด้วยการกระทำเท่านั้น
“หนูไม่กล้าออกไปสัมผัสแสงแดดกลางแจ้ง เพราะชั้นโอโซนมีรูโหว่ หนูไม่กล้าหายใจ เพราะไม่รู้ว่าในอากาศมีสารเคมีอะไรปะปนอยู่บ้าง ที่แวนคูเวอร์ หนูเคยตกปลากับพ่อ แต่เมื่อ 2-3 ปีมานี้ เราพบว่าในตัวปลาเต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง หนูรู้ว่า ทุกวันนี้พืชและสัตว์หลายชนิดกำลังสูญพันธุ์ มันหายไปจากโลกอย่างถาวร หนูฝันที่จะได้เห็นผืนป่าฝนเขตร้อนที่เต็มไปด้วยนกและผีเสื้อนานาชนิด แต่ตอนนี้หนูไม่แน่ใจว่า สิ่งเหล่านี้จะคงอยู่ให้เด็กๆ รุ่นต่อไปได้เห็นอีกหรือไม่ พวกคุณเคยกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างหรือไม่”
“หนูยังเป็นเด็กและไม่รู้หนทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่หนูอยากให้คุณตระหนักว่า ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะปิดรูโหว่ของชั้นโอโซนได้อย่างไร ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะฟื้นชีวิตสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วอย่างไร และคุณก็ไม่สามารถทำให้ผืนป่าคืนกลับมาในพื้นที่ที่ปัจจุบันกลายเป็นทะเลทราย ถ้าคุณไม่รู้วิธีเยียวยาปัญหาพวกนี้ โปรดหยุดทำลาย”
นี่เป็นข้อความบางส่วนที่เด็กหญิงวัย 12 ขวบชื่อเซเวิร์น ซูซูกิ กล่าวอย่างฉะฉานต่อหน้าบรรดาผู้นำและตัวแทนจากหลายประเทศทั่วโลกในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Earth Summit) ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1992 ณ เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล
สุนทรพจน์ความยาว 6 นาทีเศษจบลงด้วยคำขอบคุณจากผู้ฟัง และเสียงปรบมือกึกก้องก็ดังขึ้นยาวนาน อัลเบิร์ต อาร์โนลด์ นักการเมืองชาวอเมริกัน ซึ่งนั่งฟังตั้งแต่ต้นจนจบ เดินเข้ามา
แสดงความยินดีกับเด็กหญิงและกล่าวชื่นชมว่า เป็นสุนทรพจน์ที่ดีที่สุดที่เขาได้ฟังระหว่างเข้าร่วมการประชุมเอิร์ธซัมมิต เพียงข้ามคืนหลังจากนั้น เธอกลายเป็นคนที่ทุกคนรู้จัก
เมื่ออายุ 6 ขวบ ขณะที่เด็กหญิงคนอื่นๆ ยังเล่นตุ๊กตา เซเวิร์นลุกขึ้นมาช่วยพ่อขายหนังสือเพื่อระดมทุนช่วยเหลือชนพื้นเมืองแถบบริติชโคลัมเบีย เพื่อดำเนินการเรียกร้องสิทธิในที่ดิน
โตขึ้นมาอีกหน่อยในวัย 9 ขวบ เธอติดตามพ่อไปยังประเทศบราซิลและพบเห็นการบุกรุกทำลายผืนป่าอะเมซอนด้วยตนเอง สิ่งที่ประทับเป็นภาพความทรงจำทำให้เซเวิร์นมิอาจนิ่งดูดาย
ดังนั้นเมื่อกลับมาถึงแคนาดา เธอจึงรวบรวมสมาชิกเพื่อนร่วมชั้นที่มีหัวใจสีเขียวดวงน้อยๆ เหมือนกัน ก่อตั้งขึ้นเป็นกลุ่มองค์การเด็กสิ่งหรือเรียกสั้นๆ ว่า ECO โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยกันเรียนรู้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและรณรงค์เผยแพร่สู่เด็กคนอื่นๆ และกลุ่ม ECO น้อยยังสามารถระดมทุนเพื่อจัดซื้อเครื่องกรองน้ำให้แก่ชุมชนพื้นเมืองในประเทศมาเลเซียได้เป็น
แม้แต่การเข้าร่วมประชุมเอิร์ธซัมมิต เธอและเพื่อนอีก 3 คนในฐานะตัวแทนกลุ่ม ECO เดินทางข้ามประเทศเป็นระยะทางกว่า 5,000 ไมล์จากแวนคูเวอร์ไปยังริโอ เดอ จาเนโร ด้วยเงินที่ช่วยกันขายขนมอบและเครื่องประดับทำมือ
เมื่อการประชุมเอิร์ธซัมมิตปิดฉากลง ประตูแห่งโอกาสในการสื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อมของเซเวิร์นก็เปิดกว้างขึ้น นอกจากได้รับรางวัลเกียรติยศจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เธอยังได้รับเชิญไปสัมภาษณ์ผ่านทางทีวีและวิทยุนับครั้งไม่ถ้วน เขียนบทความด้านสิ่งแวดล้อม เขียนหนังสือแนะนำแนวทางการดูแลสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กๆ ชื่อ “Tell the World” และ “The Day You Will Change the World” รวมทั้งรับบทพิธีกรรายการสำหรับเด็กที่ชื่อ Suzuki's Nature Quest
ในปี ค.ศ. 2002 เซเวิร์นเขียนบทความชื่อ “The Young Can't Wait” ลงในนิตยสารไทม์
“ผู้เข้าร่วมประชุมบางคนถึงกับน้ำตาเอ่อ คำพูดของฉันน่าจะกระทบใจและมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงได้บ้าง แต่เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งทศวรรษ ฉันคิดว่าสุนทรพจน์ไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งความหวังความเชื่อมั่นในตัวผู้นำที่มีอำนาจตัดสินใจและความศรัทธาในพลังของคนเล็กๆ ที่ส่งเสียงเรียกร้องถึงผู้นำเหล่านั้นก็เหือดแห้งไปจนหมด”
และเธอได้กล่าวไว้ว่าเธอเห็นด้วยอย่างยิ่งกับวาทะของคานธี ที่ว่า “We must become the change we want to see” เราต้องลงมือเปลี่ยนแปลง ในสิ่งที่เราอยากให้โลกเปลี่ยนแปลง
ปัจจุบันนอกจากรั้งตำแหน่งหนึ่งในคณะกรรมการอนุรักษ์ภาคประชาชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งบริติชโคลัมเบีย เซเวิร์นยังคงเดินหน้าสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมผ่านการพูดคุยกับผู้ฟังในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ภาคธุรกิจ รวมทั้งหน่วยงานของรัฐอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ตอนที่อายุ 12 ขวบเราคงไม่ได้ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากเท่าเด็กหญิงเซเวิร์น แต่วันนี้เราเติบโตขึ้นและมีโอกาสรับรู้ปัญหาวิกฤตของโลกมากขึ้น เราจะสามารถหมุนโลกไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้นได้สักครึ่งหนึ่งของเธอหรือไม่ คำถามนี้ต้องตอบด้วยการกระทำเท่านั้น
http://www.youtube.com/watch?v=TQmz6Rbpnu0