โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ
[DRAGON] "นาคไทย" กับ "นาคจีน" ต่างคำเรียกแต่คือสิ่งเดียวกัน
shettawat
#1
01-11-2020 - 14:48:30

#1 shettawat  [ 01-11-2020 - 14:48:30 ]





เมื่อพูดถึง "นาค" หลายคนมักจะคิดว่ามันเป็นเพียงสัตว์ในเทพนิยาย เป็นเรื่องเล่าปรัมปราที่ไม่มีอยู่จริง

ก่อนอื่น เราควรมาทำความรู้จักคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกับคำว่า Naga นั่นคือ Dragon กันให้ดีเสียก่อน โดยความหมายของคำว่า Dragon นักวิชาการตะวันตกให้ความหมายไว้ว่า เป็นสัตว์ในตำนาน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายงูหรือสัตว์เลื้อยคลาน เป็นเรื่องลึกลับในหลายวัฒนธรรม


รากศัพท์ของคำว่า Dragon ในภาษาอังกฤษมาจากศัพท์ภาษากรีก-ละตินว่า Drakon-Draconem หมายถึง "งู" (Serpent) ตรงนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า Dragon ยุโรป ถูกยืนยันในภาพลักษณ์ของอสรพิษมานานนับหลายพันปีแล้ว


Drakon (Serpent) ของชาวกรีก

สำหรับศัพท์ภาษานอร์สเรียกว่า Dreki หมายถึง Serpent เหมือนกับกรีก-ละติน


เครื่องราง Dreki ของชาวนอร์ส



กลุ่มดาวเดรโก
Draco Constellation


ปีงูใหญ่ (龍年)
Year of the Dragon

ส่วนคำว่า "นาค" ในภาษาไทย มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า "Naga" อันหมายถึง "งู" (Serpent) เช่นเดียวกัน

กล่าวง่ายๆ ก็คือ Naga กับ Dragon เป็นเผ่าพันธุ์เดียวกัน แต่เรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละภาษาของผู้คนในภูมิภาคนั้นๆ เหมือนกับ Zeus กับ Indra หรือ Poseidon กับ Varuna และ Hades กับ Yama นั่นเอง


เรือไวกิงหัวเรือรูป Dragon


เรือไทยหัวเรือรูป Dragon

เรื่องราวของ Dragon มีปรากฏอยู่ในตำนานทั่วทั้งโลก และสำหรับทวีปเอเชียมีคำเรียก Dragon ในภาษาต่างๆ ดังนี้

1.อินเดีย - नाग (Nāga)
2.จีน - 龍 (Lóng)
3.ญี่ปุ่น - 竜 (Ryū)
4.เกาหลี - 용 (Yong)
5.มองโกล - луу (Luu)
6.ทิเบต - འབྲུག (Druk)
7.กัมพูชา - នាគ (Neak)
8.พม่า - နဂါး (Nagar)
9.ลาว - ນາກ (Nak)
10.ไทย - นาค (Nak)
11.เวียดนาม - Rồng
12.มาเลเซีย - Naga
13.อินโดนีเซีย - Naga


คำว่า "นาค" (नाग) ที่หมายถึง "งู" (Serpent) คนละความหมายกับคำว่า "นคฺค" (नग्ग) ที่แปลว่า "เปลือยกาย" (Naked)


YT: นาคยอร์มุนกานดร์
Dragon Jormungandr

ในคัมภีร์พุทธศาสนากล่าวถึงนาคไว้หลายตอน งูวิเศษชนิดนี้มีอิทธิฤทธิ์ มีพิษร้ายแรงกว่างูทั้งหลาย สามารถพ่นควันได้ พ่นไฟได้ พ่นพิษได้ เหาะเหินไปในอากาศได้ แปลงกายเป็นมนุษย์ก็ได้ และเมืองไทยไม่ใช่ที่เดียวที่มีมิติคู่ขนานที่เรียกกันว่า "โลกทิพย์" ในทวีปอื่นๆ บนโลกนี้ พวกเขาก็มีเรื่องราวของสัตว์ในเทพนิยายเหมือนกันกับเรา อยู่ในภพภูมิทิพย์เหมือนกัน แต่อาจเรียกต่างกันไปตามภาษาพื้นเมืองของเขา ที่ซึ่งเขาเคารพนับถือบูชากันมาเป็นพันปีหมื่นปีแล้ว เช่น นาคจีน (หลง-龍) หรือนาคญี่ปุ่น (ริว-竜) เป็นต้น


นาคมีถิ่นที่อยู่ตามบันไดเวียนชั้นที่ 1 รอบๆ เขาพระสุเมรุ ตรงส่วนที่จมลงในมหาสมุทรสีทันดร และบางส่วนอยู่บนโลกมนุษย์ โดยมีตั้งแต่ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึงต่างๆ ในทะเล ในมหาสมุทร ไปจนถึงในอากาศ


นาคเป็นบริวารของท้าววิรูปักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในท้าวโลกบาลแห่งจาตุมหาราชิกา โดยมี 4 ประเภทใหญ่ ได้แก่

1.วิรูปักษ์ (นาคสีทอง)
2.เอราบถ (นาคสีเขียว)
3.ฉัพยาบุตร (นาคสีรุ้ง)
4.กัณหาโคดมก์ (นาคสีดำ)

(จริงๆ นาคนั้นมีหลายสีหลายประเภท แต่ที่เด่นๆ ใหญ่ๆ มีแค่สี่ประเภท)


นาคมีทั้งที่เสพกามคุณและทั้งที่ไม่เสพกามคุณ มีอายุสั้นบ้าง อายุยืนนานบ้าง

เวลาที่ต้องการท่องเที่ยวไปในมนุษย์โลก บางทีก็ไปในร่างกายเดิมของตน บางทีก็เนรมิตกาย เป็นเสือ เป็นราชสีห์ เป็นมนุษย์ ฯลฯ แล้วจึงท่องเที่ยวไป


และถึงแม้จะเนรมิตกายเป็น "มนุษย์" ได้ แต่ก็ไม่สามารถจะคงร่างเนรมิตไว้ได้ตลอดไป เพราะจะต้องปรากฏร่างเป็นนาคตามเดิม เมื่ออยู่ในอาการประจำ 5 อย่าง คือ

1.ในขณะปฏิสนธิ (เมื่อเกิด)
2.ในขณะลอกคราบ (เหมือนงูทั่วไป)
3.ในขณะเสพเมถุนกับนางนาค
4.ในขณะนอนหลับโดยปราศจากสติ
5.ในขณะตาย


นาคมีวิชาเวทมนตร์คาถาต่างๆ ด้วย ชื่อว่าวัตถุวิชา คือ วิชาที่เสกวัตถุให้เป็นไปตามปรารถนา เช่น วิชาเสกใบไม้เป็นนก เสกใบมะขามเป็นแตน-ต่อ ฯลฯ และภูมิวิชา คือ วิชาเสกสถานที่หรือวัตถุให้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น วิชาเสกท้องทะเล เสกมหาสมุทร ให้เป็นนาคพิภพ เป็นที่ตั้งวิมานและทิพยสมบัติต่างๆ เป็นต้น



นาคถ้ำ (Cave Dragon)

นาคมีทั้งที่เป็นสัมมาทิฏฐิ (ใจดี) และที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ (ดุร้าย) ซึ่งในตำนานโลกยุคโบราณก่อนสมัยพุทธกาล นาคถือเป็นสัตว์ร้ายและอันตราย คนโบราณจึงกลัวกันมาก เช่น ชาวยุโรป ชาวอินเดีย ชาวอุษาคเนย์ หรืออย่างชาวเมโสอเมริกาที่กลัวจนบูชานาคให้เป็นเทพ Quetzalcoatl


นาคเกวตซัลโกอัตล์
Dragon Quetzalcoatl

ตรงนี้ ในฝั่งตำนานของยุโรปจะมองว่านาคเป็นสัตว์ดุร้ายค่อนข้างชัดเจนกว่าฝั่งเอเชียหรือฝั่งเมโสอเมริกาที่มองว่านาคยังคงเป็นสัตว์เทพ ยิ่งยุโรปในสมัยที่มีศาสนาคริสต์เข้ามาจะยิ่งชัดเจน เพราะตามคำภีร์ไบเบิลนั้น Serpent คือปีศาจร้ายซาตานจำแลงกายมาล่อลวงอดัมกับอีฟ ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเลวทราม ซึ่ง Drakon กับ Draconem มันหมายถึง Serpent ด้วย จึงถูกจัดให้อยู่ในฝ่ายชั่วร้าย ต้องโดนปราบ ยิ่งนาคหลายเศียรยิ่งชั่วร้าย เช่น Leviathan เป็นต้น กลายเป็นที่มาของนิทานพื้นบ้านยุโรปเรื่องอัศวินปราบนาค (Knight vs Dragon)


อัศวินปราบนาค
Knight vs Dragon


พระภิกษุปราบนาค
Monk vs Dragon


วานรินทร์ปราบนาคราช
Monkey King vs Dragon King

นาคนั้นมีอยู่ทั่วโลกทุกประเทศ ในทะเลก็มี (นักเดินเรือโบราณจึงกลัวนาคในมหาสมุทรกันเยอะ) บนท้องฟ้าก็มี ตามป่าตามเขาตามถ้ำก็มี ฯลฯ เป็นต้น


นาคทะเล (Sea Dragon)

สำหรับบั้งไฟนาคา (神龍吐火) นั้น เป็นฤทธิ์แค่ระดับเล็กน้อยที่นาคสามารถทำได้ เป็นของธรรมดา ไม่น่าตื่นตาตื่นใจอะไร ถ้านาคใช้ฤทธิ์จริงๆ จะบันดาลฝนก็ได้ ทำให้ฝนแล้งก็ได้ ทำให้เกิดอุบัติเหตุก็ได้ ฯลฯ


YT: บั้งไฟนาคา (神龍吐火)
Dragon Fireballs


แก้วนาคา (龍珠)
Dragon Ball


มณีนาคา (龍寶石)
Dragon Gem


เทพนาคา (神龍)
Dragon God

เรื่องฤทธาศักดานุภาพหรืออภินิหารเป็นของเฉพาะตัวนาคที่เขาสามารถทำได้ ส่วนเขาจะทำหรือไม่ทำนั่นอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องนี้เรื่องเล็ก เพราะเขาทำเห็นกันเอง รู้กันเอง สัมผัสกันเอง ส่วนมนุษย์ไม่ได้เห็น ไม่ได้รู้ และไม่ได้สัมผัส แต่การที่เขาจะทำฤทธิ์ให้มนุษย์เห็นได้นั้น เขาต้องอาศัยสื่อที่มองเห็นได้ ที่สัมผัสได้สำหรับมนุษย์ มนุษย์ถึงจะรู้ได้สัมผัสได้ เช่น การบันดาลให้ฝนตก เขาก็ทำโดยอาศัยน้ำฝนเป็นสื่อ เป็นต้น หรือถ้าทำในทางไม่ดีก็ทำให้ฝนแล้ง หรือทำให้น้ำท่วม



ส่วน "มังกร" (Makara) คนอินเดียจัดให้ตรงกับ "แคปริคอร์น" (Capricorn) ของตะวันตก เป็นพวกแพะทะเล (Sea Goat)

ซึ่ง "มังกร" มาจากคำว่า "มกร" แปลตามรากศัพท์ได้ว่า ปลาที่ส่ายหน้าเมื่อถูกจับ เรียกในภาษาจีนว่า "โม๋เจี๋ยจั้ว" (摩羯座) และในภาษาอังกฤษว่า "แคปริคอร์น" (Capricorn) เป็นสัตว์น้ำประเภทหนึ่ง ไม่ใช่ "หลง" (龍-龙) หรือ "ดรากอน" (Dragon)

ส่วน "นาค" กับ "ดรากอน" นั้นเหมือนกัน แปลตามรากศัพท์ได้ว่า "งู" (Serpent) ดังที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น


มังกร (摩羯座)
Capricorn

สำหรับ "นาคจีน" หรือ "หลง" (龍-龙) นั้น รากศัพท์ของจีน หมายถึง สัตว์บินที่ตัวงอแบบช้อน ซึ่งก็คือ "งู" (蛇) อันตรงกับรากศัพท์ Dragon ในภาษาอังกฤษที่หมายถึง Serpent

匕 แปลว่า ช้อน เห็นชัดสุดในคำว่า 龙 [นาค] กับ 蛇 [งู]

(ในสารคดีลุ่มแม่น้ำโขงได้บอกเอาไว้ว่า ต้นสายของแม่น้ำบนสุด เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ที่คนจีนเชื่อว่าเป็นที่อยู่อาศัยของหลง)


YT: นาคเหินฟ้า (飛龍)


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2020-11-08 00:12:12

shettawat
#2
01-11-2020 - 14:54:09

#2 shettawat  [ 01-11-2020 - 14:54:09 ]





ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานจะมีผู้ที่ดำรงตำแหน่งธรรมบาล (धर्मपाल) อันมีหน้าที่เพื่อปกป้องพิทักษ์พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า "อัษฎาเสน" (अष्टसेना) หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อ "เทียนหลงปาปู้" (天龍八部) ของจีน


เหล่าธรรมบาลในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานทั้ง 8 นั้น มีดังนี้

1.เทพ (देव | 天眾)
2.นาค (नाग | 龍眾)
3.ยักษ์ (यक्ष | 夜叉)
4.คนธรรพ์ (गन्धर्व | 乾達婆)
5.อสูร (असुर | 阿修羅)
6.ครุฑ (गरुड़ | 迦樓羅)
7.กินนร (किंनर | 緊那羅)
8.มโหราค (महोरग | 摩睺羅伽)

ในข้อที่สองอย่างนาคนั้น ชาวจีนจะเรียก "นาค" (नाग) เป็นคำว่า "หลง" (龍) แทน เพราะนาคกับหลงก็คือสิ่งเดียวกัน


YT: มังกรมีจริงมั้ย? หลวงตาม้า


GG 泰國龍 (หลงไทย)
ภาพนาคขึ้นเต็มเลย

ตำนานของชนชาติไทยเรา ในพงศาวดารอยุธยาฉบับวันวลิต (Van Vliet's Siam) ซึ่งบันทึกและเรียบเรียงขึ้นโดย "เยเรเมียส ฟาน ฟลีต" (Jeremias van Vliet) ชาวฮอลันดาที่เข้ามาในอาณาจักรอยุธยาสมัยพระเจ้าปราสาททอง เมื่อก่อน พ.ศ. 2200 ก็ได้พูดถึงตำนานเรื่องพระเจ้าอู่ทองปราบนาค (Dragon) แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาเอาไว้ด้วยเช่นกัน


ดังมีเรื่องราวในบันทึกว่า ขณะที่พระเจ้าอู่ทองทรงทราบว่าเกาะที่จะเป็นที่ตั้งเมืองอยุธยาเป็นสถานที่สวยงาม แต่ไม่มีผู้พำนักอาศัย ไม่มีผู้ตั้งเมืองขึ้น พระองค์ทรงพบกับพระฤๅษีตนหนึ่ง แล้วพระฤๅษีตนนั้นได้กราบทูลพระองค์ว่า ก่อนหน้านี้มีเมืองที่ชื่ออยุธยาตั้งอยู่ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของการเสื่อมโทรม และทักว่าจะไม่มีใครสร้างเมืองบนเกาะนี้ได้อีก เหตุผลก็คือมีสถานที่แห่งหนึ่งชื่อ WHOO TELENKENGH (สันนิษฐานว่า คือ วัดตะแลงแกง) ปัจจุบันตั้งอยู่ใจกลางเมือง มีบ่อซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของ DRAGON ดุร้ายตัวหนึ่ง ซึ่งชาวสยามเรียกว่า "นาคราช" (NACK RHAJI) เมื่อไรก็ตามที่นาคตัวนี้ถูกรบกวนก็จะพ่นน้ำลายพิษออกมา ซึ่งทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่รอบๆ บริเวณนั้นเกิดโรคระบาดและเสียชีวิตลงนั่นเอง


นาคพวกนี้เป็น "นามกาย" ไม่ใช่ "รูปกาย" แบบกายเนื้อเหมือนมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉานอย่างที่พวกเราเห็นกันเป็นปกติด้วย "ตาเนื้อ" ในชีวิตประจำวัน

ซึ่งการที่มนุษย์เราจะเห็นพวกนามกายที่อาศัยอยู่ในอีกมิติ ภพซ้อนภพหรือโลกทิพย์ได้นั้น เราต้องฝึกสมาธิให้จักษุ (ดวงตา) ของเราพัฒนาจนเป็นทิพยจักษุ (ตาทิพย์) แล้วเท่านั้น


ด้วยเหตุนี้ จงอย่าพยายามตามหาซากฟอสซิลของนาค เพราะมันเสียเวลาเปล่าๆ ต่อให้งมน้ำในแม่น้ำโขงแบบเป็นจริงเป็นจัง ก็ไม่มีวันได้เจอได้เห็นนาค ถ้าจะเจอจะเห็นก็คงเป็นปลาไหลน้ำจืดแทน เพราะสัตว์เทพอันน่าอัศจรรย์เหล่านี้พวกเขาอยู่กันคนละมิติกับพวกเรา


และนาคก็ไม่ได้มีอยู่แค่ในแม่น้ำโขงของประเทศไทยเท่านั้น แต่มีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของไทย ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ลากยาวไปจนถึงภาคใต้ อธิบายแบบรวบรัดง่ายๆ คือ นาคมีอยู่ทั่วโลก ไม่ได้มีแค่ที่ประเทศไทยประเทศเดียว เพียงแต่ว่าศิลปะตามแต่ละท้องที่แต่ละประเทศจะจินตนาการถึงความสง่างามและถ่ายทอดรูปลักษณ์ของนาคออกมาในรูปแบบใดก็เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ศิลปะจำพวกเทพงูใหญ่ในตำนานทั่วทั้งโลกจึงถ่ายทอดรูปลักษณ์ออกมาได้ไม่เหมือนกัน หากแต่สิ่งที่ยังมีเหมือนกันคือพื้นฐานของความเป็น Serpent นั่นเอง


นันโทปนันท์นาคราช
難陀婆難陀龍王


พระนาคปรก
七龍佛小金身


เรื่องราวเกี่ยวกับนาค [龍-龙]
ตามคติพุทธพากย์จีน [中文]


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2020-11-06 18:20:23

shettawat
#3
01-11-2020 - 14:57:28

#3 shettawat  [ 01-11-2020 - 14:57:28 ]





ครุฑยุดนาค
迦樓羅 vs 龍

คำอธิบายใต้ภาพจากเว็บจีน :
http://read01.com/5nQJOxQ.html#.X5eFrFM5qDb

「迦樓羅」是印度教和佛教典籍中記載的神鳥,即是俗稱的金翅大鵬鳥,叫聲悲苦,以龍為食。

ครุฑ (迦樓羅) เป็นวิหคเทพที่มีบันทึกไว้ในคัมภีร์ของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า นกเผิงปีกทอง (金翅大鵬鳥) มันมีเสียงร้องที่วังเวงและกินนาค (龍) เป็นอาหาร


ต่อมาเว็บจีนอีกเว็บหนึ่ง :
http://xw.qq.com/cmsid/20190721A0DHG100

อธิบายความประมาณว่า เผ่าพันธุ์นาคโดนพวกครุฑจับกินเป็นจำนวนมาก ทำให้ท่านนาคราช (龍王) ต้องไปขอคำชี้แนะจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (佛陀) เพื่อที่จะไม่ให้เหล่านาคบริวารของตนต้องถูกพวกครุฑจับกินเป็นอาหารประหนึ่งบุฟเฟต์อีก (อ่านละเห็นใจทั้ง 龍 ทั้ง 迦樓羅 เลย)


ครุฑแต่ละประเภทกับการฉุดนาค ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกเถรวาท

พระไตรปิฎกเล่มที่ 17 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 9 สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค หรันติสูตร ว่าด้วยครุฑฉุดนาค

[393] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

“ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ 4 ประเภทนี้ กำเนิดของครุฑ 4 ประเภท อะไรบ้าง คือ

1.ครุฑที่เป็นอัณฑชะ
2.ครุฑที่เป็นชลาพุชะ
3.ครุฑที่เป็นสังเสทชะ
4.ครุฑที่เป็นโอปปาติกะ

ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ 4 ประเภทนี้ ในครุฑ 4 จำพวกนั้น ครุฑที่เป็นอัณฑชะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะไปได้ แต่นำนาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะไปไม่ได้

ครุฑที่เป็นชลาพุชะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะ และชลาพุชะไปได้ แต่นำนาคที่เป็นสังเสทชะ และโอปปาติกะไปไม่ได้

ครุฑที่เป็นสังเสทชะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ และสังเสทชะไปได้ แต่นำนาคที่เป็นโอปปาติกะไปไม่ได้

ส่วนครุฑที่เป็นโอปปาติกะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะไปได้”

http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=288


ถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยของเรานั้นก็เป็น Land of the Dragon ไม่แพ้ประเทศจีนเลย สังเกตได้จากรูปปั้น 龍 ที่มีอยู่ทั่วทุกวัดในแผ่นดินไทย โดยเรียกในภาษาของเราว่า "นาค"

ซึ่งการเรียกสัตว์ในตำนานประเภทงูใหญ่ทั่วโลกด้วยภาษาบาลี-สันสกฤตว่า "นาค" (Naga) นี้ มันตรงตามรากศัพท์เสียยิ่งกว่าเรียกด้วยคำว่า "มังกร" (Makara) เสียอีก


พระพิรุณกับมังกร (Crocodile)
และ นาค (Dragon)

Myanmar Cambodia Malaysia Indonesia เขา Translate คำว่า Naga ออกมาในภาษาอังกฤษว่า Dragon กันหมด แต่เรา Translate คำว่า Makara ออกมาในภาษาอังกฤษว่า Dragon แทนคำว่า Naga

ซึ่งคำว่า "मकर" (Makara) นี้ India เขา Translate ออกมาในภาษาอังกฤษว่า Capricorn (แคปริคอร์น) อันเป็นสัตว์ประเภท Sea Goat (แพะทะเล)


มังกร (Makara)
แบบยุโรป


มังกร (Makara)
แบบอินเดีย-ศรีลังกา


Makara กับ Varuna


Makara กับ Ganga

สำหรับ "เหรา" นั้น เป็นสัตว์แต่งใหม่ในอุษาคเนย์ ของเดิมที่อินเดียไม่มี

เหรา คือ การเอา "นาค" มาผสมกับ "มังกร" ของศิลปินโบราณในแถบบ้านเรา จนออกมาเป็นรูปร่างลักษณะมีเศียรเป็นนาค ตัวยาวเหมือนนาค แต่ขาจะเป็นมังกร (จระเข้)

ลองวาดภาพจินตนาการเหราเล่นน้ำแล้วจะเห็นว่าเมื่อขาเหรามันจมลงไปในน้ำ มันก็คือนาคดีๆ นี่เอง


สำหรับตัวหลงของจีนเองก็มีลักษณะตัวยาวแบบงูเป็นพื้นฐาน เวลาค้นศัพท์ "龍" ก็จะเจอคำว่า "蛇" (Serpent) ประกบอยู่ด้วยเสมอ และถ้าลองวาดภาพจินตนาการหลงจีนให้ไม่มีขา จะเห็นชัดเลยว่ารูปลักษณ์พื้นฐานของหลงจีนเป็น Serpent เหมือนกับนาค


สรุป คือ คำว่า Dragon ในภาษาไทยควรแปลเป็นคำว่า "นาค" ไม่ใช่คำว่า "มังกร" เช่น Dragon Smaug ในเรื่อง The Hobbit ก็แปลเป็นไทยไปเลยว่า "นาคสม็อก"


นาคสม็อก (Dragon Smaug)


ชิริวผู้มีพลังเทพนาคา (神竜) กับท่าไม้ตายหมัดนาคาผงาดโรซัน (廬山昇竜覇) จาก Saint Seiya (聖闘士星矢)


นาคราช (龍王)
Dragon King


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2020-11-02 00:06:43

shettawat
#4
01-11-2020 - 14:59:43

#4 shettawat  [ 01-11-2020 - 14:59:43 ]





Dragon of Mesopotamia


Dragon of Hittite


Dragon of Egypt


Dragon of Greek


Dragon of Norse


Dragon of Mesoamerican


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2020-11-01 15:23:46

shettawat
#5
01-11-2020 - 15:00:48

#5 shettawat  [ 01-11-2020 - 15:00:48 ]





ก่อนที่จะหันมานับถือพระพุทธศาสนา กลุ่มชนชาติไท-กะได นับถือ "เงือก" (จีน = 龍) ต่อมาภายหลังรับศาสนาพุทธเข้ามาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า "นาค" ตามภาษาบาลี-สันสกฤตของอินเดีย

และการที่จีนปรับเปลี่ยน "หลง" (龍) ให้เข้ากันกับคติพุทธสายเหนือที่รับมาจากอินเดียผ่านเส้นทางสายไหม ทำให้หลงจีนแพ้ครุฑ พร้อมกับเรียกหลงอีกชื่อในภาษาบาลี-สันสกฤตรูปคำจีนว่า "หน้าเจีย" (那迦) ซึ่งตรงนี้ก็เหมือนกับไทยที่ปรับเปลี่ยน "เงือก" ให้เข้ากันกับคติพุทธสายใต้ที่รับมาจากอินเดียผ่านเส้นทางสายเครื่องเทศ ทำให้เงือกไทยแพ้ครุฑ พร้อมกับเรียกเงือกอีกชื่อในภาษาบาลี-สันสกฤตรูปคำไทยว่า "นาค"

เรียกได้ว่า "หลง" (龍) และ "หน้าเจีย" (那迦) เป็นเสมือนคำไวพจน์ Dragon of Chinese ที่สามารถใช้แทนกันได้อยู่เสมอ

ก็เหมือนกับไทย คือ "เงือก" และ "นาค" เป็นคำไวพจน์ Dragon of Thais ที่สามารถใช้แทนกันได้อยู่เสมอเช่นกันไม่ต่างกับหลงของจีน อย่างวรรณกรรมในสมัยอยุธยาก็มักจะแต่งประพันธ์โดยใช้คำว่า "เงือก" และ "นาค" สลับกันไปมา เหมือนกับจีนที่ใช้ "หลง" (龍) กับ "หน้าเจีย" (那迦) หรือ "เผิง" (鵬) กับ "เจียโหลวหลอ" (迦樓羅) แทนกัน


ตำนานแห่งนาค (Dragon)


เพลง บั้งไฟพญานาค (中文)

ทุกวันนี้ชาวจ้วงก็ยังเรียกว่าเงือก (龍) อยู่ และภาพด้านล่าง คือ ประเพณีแห่เงือกใบตองของชาวจ้วง


ประเพณีแห่เงือกใบตองของชาวจ้วง

แม่น้ำโขงในเขตจีน คนจีนเชื่อว่าหลง (龍) อาศัยอยู่ ใต้ลงมาเข้าเขตไทย คนไทยเชื่อว่านาค (नाग) อาศัยอยู่ มีนามขานเรียกเท่ๆ ว่า The River of Nine Dragons (แม่น้ำนวนาค)

แม่น้ำ = River | นว = Nine | นาค = Dragon > ภาษาจีน = 九龍江 [ควรเรียกว่า "แม่น้ำนวนาค" ไม่ใช่ "แม่น้ำเก้ามังกร"]


แม่น้ำนวนาค (九龍江)
The River of Nine Dragons

"จูล่ง" หรือ "จื่อหลง" (子龍) ในวรรณกรรมสามก๊ก แปลเป็นชื่อไทยได้ว่า "นาคบุตร" ไม่ใช่ "บุตรมังกร"


จูล่ง (子龍)

หรืออย่างชื่อของพระนาคเสนในมิลินทปัญหา ตรงคำว่า "นาคเสน" (Nagasena) ที่เป็นภาษาบาลี-สันสกฤตนั้น ในภาษาอังกฤษแปลความหมายได้ว่า "Army of Dragons" หรือ "Host of Dragons"


พระนาคเสน (Nagasena)
กับ พระเจ้ามิลินท์ (Milinda)

แล้วความเชื่ออีกอย่างที่เหมือนกันเกี่ยวกับเรื่อง Dragon ของระหว่างไทย-จีน คือ นาคไทยกับนาคจีนจะคายอัญมณีหรือแก้วศักสิทธิ์ดวงกลมๆ ออกมาจากทางปากทางน้ำลาย รวมไปถึงการลอกคราบของนาคไทยกับนาคจีนที่เหมือนกัน


ศิลปะหลงจีน (玉猪龙) ยุคต้นๆ
ลักษณะตัวเป็นงูแต่มีหงอน

ขงจื้อเคยกล่าวยกย่องเล่าจื้อไว้ว่า

“鸟,吾知其能飞;兽,吾知其能走;走者可以为罔,游者可以为纶,飞者可以为矢曾。至于龙,吾不能知其乘风云而上天。吾今日见老子,其犹龙邪!”,就是说,老子在揭示一种代表天意的“道”,这个“道”是人所不能左右的,人只能顺从它,而不能违抗它,而“鸟,吾知其能飞”等等道理,是一般人都知道的,因此大家也能够掌握和对付的。

สัตว์ปีกบินแน่ๆ เราใช้ตาข่ายดักได้ สัตว์บกเดินแน่ๆ ก็มีกับดัก ดักได้ หากแต่นาคนั้น ไม่รู้ว่าจะเล่นเมฆล่อลม บินเหิน เหาะดั้นฟ้า หรือไปทางไหน ปัญญาคุณธรรมเล่าจื้อ ดุจดั่งนาค ฯ



แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2020-11-11 23:30:10

shettawat
#6
01-11-2020 - 15:02:35

#6 shettawat  [ 01-11-2020 - 15:02:35 ]





ในช่วง 2,000-3,000 ปีที่ผ่านมา สารรูปของนาคจีนหรือหลง (龍) ไม่ได้มีรูปลักษณ์อย่างที่พวกเราคุ้นตากันอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ ศิลปินจีนต่างยุคต่างสมัยล้วนพากันจินตนาการ “สารรูปของหลง” กันไปต่างๆ นานา โดยบางยุคนาคจีนหล่อเหลามีหัวเป็นหมูป่า แต่มีตัวเป็นงู


บางยุคนาคจีนเป็นงูที่มีหัวหมูป่า พ่นไฟได้ และเหาะเหินเดินอากาศได้...

อ่านเพิ่มเติมได้ที่กระทู้ :
http://pantip.com/topic/40067297





ถึงตรงนี้ ทำให้นึกถึง "จู๋หลง" (燭龍) ที่มีลำตัวเป็นงู (蛇) หรือเป็นหลง (龍) มีหัวเป็นคน มีผมสีแดง ซึ่งคำว่ามีผมสีแดงนั้น ในตำนานเงือกของชาวไทกลุ่มต่างๆ เช่น ไทดำ เป็นต้น ก็จะบอกว่า "มีหงอนสีแดง" แทน






แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2020-11-01 15:24:18

shettawat
#7
01-11-2020 - 15:03:56

#7 shettawat  [ 01-11-2020 - 15:03:56 ]




อัษฏนาคราช (八大龍王)
Eight Great Dragon Kings


นาคราชทั้งแปด (八大龍王)

八大龍王中,娑伽罗龙王爲雨神,是中国民间信仰中所祭拜的龙王的原型;難陀龙王和跋難陀龙王,曾和娑伽羅龍王戰鬥,在悉达多太子降生之時,两龙王曾吐清净水灌太子身。

ในบรรดานาคราชทั้งแปด สาครนาคราชเป็นเทพแห่งฝนและเป็นต้นแบบของนาคราชที่ถูกสักการะบูชาในความเชื่อของชาวจีน ส่วนอนันต์นาคราชและอุปนันท์นาคราชที่ต่อสู้กับสาครนาคราชเมื่อตอนที่พระสิทธัตถราชกุมารประสูตินั้น นาคราชทั้งสองตนนี้ก็ได้เคยบันดาลวารีบริสุทธิ์ออกมาถวายให้แก่พระราชกุมาร


พระนามของนาคราชทั้งแปด (八大龍王) ในสัทธรรมปุณฑริกสูตร (妙法蓮華經) มีดังนี้

1.อนันต์นาคราช (難陀龍王)
2.อุปนันท์นาคราช (跋難陀龍王)
3.สาครนาคราช (娑伽羅龍王)
4.วาสุกรีนาคราช (和修吉龍王)
5.ตักษาก์นาคราช (德叉迦龍王)
6.อโนดาตนาคราช (阿那婆達多龍王)
7.มนัสวินนาคราช (摩那斯龍王)
8.อุตบาลก์นาคราช (優鉢羅龍王)

ที่มา :
http://zh.wikipedia.org/wiki/八大龍王


สำหรับภาพด้านล่าง คือ นักพรตที่กำลังบำเพ็ญเพียรสู่ความเป็นนักสิทธิ์ (仙) โดยมีพื้นหลังเป็นนาค (龍)


นักสิทธิ์ (仙)
และ นาค (龍)

"นักสิทธิ์" (सिद्ध) ชาวจีนเรียก "เซียน" (仙) เป็นนักพรต (สมณะ-ดาบส) ผู้สำเร็จทางด้านจิตวิญญาณ เพราะมีศรัทธาแรงกล้าและคุณธรรมสูง ถือเป็นผู้วิเศษ มักอาศัยอยู่บนยอดเขาหรือบนท้องฟ้าระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์

มีฤทธิ์วิเศษ 8 ประการ ได้แก่

1.อณิมัน (अणिमन्)
- อำนาจย่อขนาดตามปรารถนา

2.มหิมัน (महिमन्)
- อำนาจเพิ่มขนาดตามปรารถนา

3.ลฆิมัน (लघिमन्)
- อำนาจให้ตัวเบายิ่ง

4.คริมัน (गरिमन्)
- อำนาจให้ตัวหนักยิ่ง

5.ปรบดี (प्राप्ति)
- อำนาจที่จะได้รับสิ่งใดๆ ตามปรารถนา

6.ปรกัมย์ (प्राकाम्य)
- อำนาจทำสิ่งใดๆ ที่ปรารถนา

7.อีศิดพ (ईशित्व)
- ความเป็นใหญ่ หรืออำนาจที่เป็นนายผู้อื่น

8.วศิดพ (वशित्व)
- อำนาจควบคุมความรู้สึก (ควบคุมความปรารถนาของตนเอง)

สังเกตว่าอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการบำเพ็ญเพียรทางสมาธิ จะต้องมีนาคโผล่ปรากฏอยู่ด้วยเสมอ อย่างพระนาคปรก (七龍佛小金身) ของพุทธเถรวาทในไทยที่มุจลินท์นาคราชโผล่มาบังสายฝนให้แก่องค์ภควันต์ (佛陀) ขณะที่พระพุทธองค์กำลังประทับนั่งคู้บัลลังก์เสวยวิมุตติสุข


มุจลินท์นาคราช
目支鄰陀龍王


การ์ตูนพุทธมหายาน
แปล "龍" เป็นไทยว่า "นาค"


เมียนมาร์แปล "Dragon" กับ "龍"
เป็นคำว่า "နဂါး" (Nagar)


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2020-11-11 23:29:33

shettawat
#8
05-11-2020 - 00:13:19

#8 shettawat  [ 05-11-2020 - 00:13:19 ]




นาคอ๋าวปิ่ง (敖丙龍)
ผู้ถูกปราบโดยนาจา (哪吒)


นาจา ปะทะ อ๋าวปิ่ง
哪吒 vs 敖丙

วันหนึ่งนาจาได้ชวนเพื่อนไปเล่นน้ำทะเล และระหว่างเล่นน้ำก็ได้สะบัดผ้าแดงที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ทำให้น้ำทะเลสั่นสะเทือนเป็นอย่างมาก และคลื่นพลังก็ส่งผลสร้างความเดือดร้อนให้กับวังบาดาลของอ๋าวกวงนาคราช (敖光龍王) หรือตงไห่นาคราช (東海龍王) ผู้เป็นนาคเจ้าสมุทรแห่งทะเลตะวันออก อ๋าวกวงจึงส่งทหารไปดู เมื่อทหารเจอนาจาซึ่งเป็นเด็กก็พากันกรูเข้าไปเพื่อที่จะฆ่า แต่นาจามีพละกำลังที่มหาศาลเลยลงมือฆ่าทหารของอ๋าวกวงตายเรียบคาที่

ราชกุมารแห่งวังนาคาอ๋าวปิ่ง (敖丙) รู้สึกสงสัยที่ทหารออกไปนานทั้งที่ควรจะกลับกันมาแล้ว อ๋าวปิ่งจึงขึ้นจากทะเลไปดูและได้พบกับนาจาที่กำลังเล่นน้ำอยู่ ราชกุมารนาคอ๋าวปิ่งจึงสอบถามนาจาว่าเห็นทหารของตนหรือไม่ นาจาตอบว่าฆ่าทิ้งไปแล้ว อ๋าวปิ่งโกรธมากจึงแปลงกายเป็นนาค (龍) และคิดที่จะล้างแค้นให้กับทหารของตน แต่นาจาก็โต้กลับและสามารถสังหารราชกุมารนาคอ๋าวปิ่งได้ จากนั้นนาจาก็ได้ถอดกระดูกสันหลังของนาคอ๋าวปิ่งและคิดที่จะนำมันกลับไปถวายให้แก่บิดาเพื่อที่จะนำไปทำเป็นเสื้อเกราะ


อ๋าวปิ่ง (敖丙)

เมื่ออ๋าวกวงนาคราชได้ทราบข่าวจากทหารว่าอ๋าวปิ่งบุตรชายของตนถูกนาจาสังหารก็โกรธแค้นเป็นอย่างมาก จึงขึ้นจากวังบาดาลมายังเมืองมนุษย์ และไปหาแม่ทัพหลี่จิ้ง (李靖) เพื่อถามเรื่องนาจาที่ฆ่าบุตรตน และคิดที่จะไปฟ้องเง็กเซียนฮ่องเต้ (พระอินทร์) แต่นาจารู้เรื่องเสียก่อนจึงไปขัดขวางพร้อมกับเสกอ๋าวกวงนาคราชให้กลายเป็นงูเขียว เหตุการณ์นี้ทำให้นาคราชผู้เป็นบิดาของอ๋าวกวงโกรธแค้นมาก จึงกรีฑาทัพหมายจะมาทำลายล้างเมืองของแม่ทัพหลี่จิ้งด้วยการบันดาลให้เกิดพายุคลื่นทะเลยักษ์ถล่มเมือง โดยยื่นเงื่อนไขก่อนว่า ถ้าไม่ส่งตัวนาจามาให้เมืองทั้งเมืองจะต้องพังพินาศย่อยยับ หลี่จิ้งที่ไม่ชอบนาจาอยู่แล้วจึงตำหนินาจาและจะสังหาร แต่นาจาเห็นว่าตนเป็นสาเหตุหลัก จึงตัดสินใจเฉือนเนื้อคืนให้กับแม่ และเลาะกระดูกคืนให้พ่อ

เมื่อนาจาตายเป็นวิญญาณแล้วก็ได้ไปเข้าฝันฮูหยิน (殷氏) ผู้เป็นแม่ โดยบอกให้ฮูหยินสร้างศาลเจ้าสักการะให้เพื่อที่ตนจะได้กลับมาเกิดใหม่ได้อีกครั้ง เมื่อศาลเจ้าสร้างเสร็จก็มีผู้คนมาไหว้บูชากันเป็นจำนวนมาก หลี่จิ้งที่ยังโกรธแค้นนาจาอยู่จึงได้ไปทำลายศาลเจ้าพร้อมกับบอกว่า “นาจาเป็นกาลกิณี" สร้างความโกรธแค้นให้กับนาจาเป็นอย่างมาก วิญญาณของนาจาไม่มีที่ไปจึงไปหาไท้อี่เจินเหริน (太乙真人) ซึ่งเป็นนักสิทธิ์ (仙) แห่งเขาคุนหลุน (崑崙山) ไท้อี่เจินเหรินจึงได้คืนชีวิตให้กับนาจา โดยการใช้รากบัวมาต่อแทนร่างกายและเสกให้วิญญาณกลับมามีชีวิตเหมือนดังเดิม นาจาจึงมีชีวิตใหม่มาจากดอกบัว และมีไท้อี่เจินเหรินเป็นอาจารย์


นาจา (哪吒)

นาจามีที่มาจากเทพปกรณัมอินเดีย โดยคำว่า "นาจา" มาจากคำว่า "นลกุเวร" ผู้เป็นบุตรชายของท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวรรณ) ฐานยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างคำทั้งสองนี้ปรากฏอยู่ในพระสูตรมหามยุรีวิทยราชาสูตรของพุทธศาสนาในนิกายตันตระต้นฉบับภาษาสันสกฤตที่ถูกแปลเป็นภาษาจีน โดยการแปลแต่ละครั้งก็มีการแปลชื่อนี้ออกมาไม่เหมือนกัน แต่ที่สุดแล้วคำว่า "นลกุเวร" ก็ถูกเรียกอย่างสั้นๆ ในแบบจีนว่า "นาจา" โดยมีพุทธศาสนานิกายตันตระเป็นตัวเชื่อมโยง

สำหรับนาจาในวรรณกรรมไทยของเรา คือ โกมินทร์ บุตรแห่งพระราชาโกสุธรรม ส่วนราชกุมารนาคอ๋าวปิ่ง คือ ราชกุมารนาคอัคคี บุตรแห่งกโตหลนาคราช


ต่อไป คือ หลักฐานจากพระไตรปิฎกเถรวาทที่บ่งบอกว่าในทะเลหรือมหาสมุทรก็มีนาคอาศัยอยู่

พระไตรปิฎก เล่มที่ 7 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 7 จุลวรรค ภาค 2 ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในมหาสมุทร 8 ประการ

[449] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในมหาสมุทร 8 อย่างนี้ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วพากันชื่นชม อยู่ในมหาสมุทร 8 อย่างเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลุ่มลึกลาดลงไปโดยลำดับ มิใช่ลึกมาแต่เดิมเลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรลุ่มลึกลาดลงไปโดยลำดับมิใช่ลึกมาแต่เดิมเลย นี้เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในมหาสมุทรเป็นข้อที่ 1 ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร ฯลฯ

[452] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง แม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำคงคายมุนา อจิรวดี สรภู มหิ ไหลถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ ไหลถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในมหาสมุทรข้อที่ 4 ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในมหาสมุทร ฯลฯ

[456] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ใหญ่ๆ

สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้น เหล่านี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ

อสูร นาค คนธรรพ์ อยู่ในมหาสมุทร มีลำตัวตั้งร้อยโยชน์ก็มี สองร้อยโยชน์ก็มี สามร้อยโยชน์ก็มี สี่ร้อยโยชน์ก็มี ห้าร้อยโยชน์ก็มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ใหญ่ๆ

สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้น เหล่านี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ

อสูร นาค คนธรรพ์ อยู่ในมหาสมุทร มีลำตัวตั้งร้อยโยชน์ก็มี ห้าร้อยโยชน์ก็มี

แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในมหาสมุทรเป็นข้อที่ 8 ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร ฯลฯ

http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=7&A=5404

จากพระไตรปิฎกปรากฏว่า อสูร นาค และคนธรรพ์ ที่อาศัยในมหาสมุทรนั้นมีอยู่


龍,梵文音譯為那伽
"หลง" ทับศัพท์สันสกฤตได้ว่า "นาค"
Dragon, Sanskrit transliterated as Naga.
http://www.mercy.tw/bookcontents.php?dpageid=255


เมียนมาร์แปล Dragon ว่า "နဂါး" (Nagar)


กัมพูชาแปล Dragon ว่า "នាគ" (Neak)


Naga ของชาวอินโดนีเซีย


Naga Tiongkok ภาษาอินโด
แปลว่า Chinese Dragon (นาคจีน)


Naga ของชาวมาเลเซีย
Naga Cina คือ นาคจีน
Naga Jepun คือ นาคญี่ปุ่น


Naga Eropa ภาษาอินโด
Naga Eropah ภาษามาเลย์
แปลว่า European Dragon (นาคยุโรป)

ส่งท้ายกระทู้ด้วย Youtube นาคสม็อกถล่มเอเรบอร์ใน The Hobbit ซับภาษาอินโดนีเซีย (Sub Indo)

Dragon - English
Draca - Old English
Naga - Pali | Sanskrit

ภาษาอินโดนีเซีย Naga Eropa และภาษามาเลเซีย Naga Eropah แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า European Dragon กอปรกับแปลเป็นภาษาเมียนมาร์ว่า "ဥရောပနဂါး" (Urawp Nagar) และแปลเป็นภาษาไทย คือ "นาคยุโรป"

"นาค" คือ อดีตมนุษย์ที่ทำบุญเจือด้วยราคะ ซึ่งการทำบุญที่เจือด้วยราคะนี้ก็คือการทำบุญแล้วอธิษฐานขอในสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เช่น ทำบุญแล้วเจาะจงว่าขอให้รวยขึ้น ขอให้ถูกหวย หรือทำบุญแล้วเจาะจงว่าขอให้สวย ขอให้หล่อ กล่าวคือ เป็นการทำบุญแล้วอธิษฐานด้วยความโลภนั่นเอง

"โลภะ" กับ "ราคะ" แท้ที่จริงแม้ใช้ชื่อต่างกันแต่เป็นความติดข้องเหมือนกัน เพียงแต่ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ชื่อที่ต่างกัน ก็เพื่อแสดงลักษณะของโลภะที่มีมากมายต่างๆ กันไป เพื่อให้สัตว์โลกได้เข้าใจความจริงของโลภะ ที่มีความติดข้องในระดับต่างๆ

นาค (Dragon) ในตำนานยุโรปถูกสื่อออกมาในรูปแบบที่ต้องเฝ้าทรัพย์สมบัติตามสถานที่ต่างๆ โดยนาคบางตนมีความโลภในสมบัติอย่างยิ่ง สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ติดข้องในบ่วงแห่งราคะ

ดังนั้น นาคในความเชื่อของยุโรป จึงเป็นตัวแทนของความโลภ ความชั่วร้าย ซึ่งโทลคีน (Tolkien) ผู้ประพันธ์นวนิยาย The Hobbit ก็ได้ต้นแบบนาคสม็อกมาจากเบวูล์ฟ (Beowulf) ตำนานวีรบุรุษชาวกีตส์ที่ต้องสู้กับนาค


นาคสม็อกถล่มเอเรบอร์
Sub Indonesia


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2020-11-08 17:39:33

  • 1

ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก
ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก



ข้อมูลเมื่อ 17th November 2024 04:32

โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ