10 อันดับ ปะเทศที่ อันตรายที่สุด
1. อิรัก
(Iraq)
อิรักซึ่งครั้งอดีตขึ้นชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมของโลก มาบัดนี้กลายเป็นประเทศสวรรค์แห่งก่อการร้าย แม้สงครามอ่าวใน ค.ศ.1990 ซึ่งทหารฝ่ายอิรักเสียชิวิตกว่า 100,000 นายในการปะทะกับกองกำลังฝ่ายพันธมิตรจะจบไปแล้ว แต่จุดที่หมายสำคัญๆในอิรักก็ยังคงถูกโจมตีอยู่เป็นเพราะขบการก่อการร้ายนั้นยังคงเกลียดชังตะวันตก ซึ่งเห็นได้ข่าวอยู่เป็นระยะๆคนตายเพราะมือระเบิดฆ่าตัวตายแทบเป็นปกติอีกทั้งสองมุสลินก็หาเรื่องฆ่ากันตายไม่เว้นแต่ละวันซึ่งล่าสุดโอบาม่าคิดวางแผนถอนกำลังทหารจากอิรักซึ่งเราบอกเลยว่าเป็นเรื่องยากมากๆ
2. อัฟกานิสถาน (Afghanistan)
ในปี 1973 รัฐบาลของซาอีร์ ชาห์ ถูกโค่นลงด้วยการปฏิวัติของกองทัพซึ่งนำโดยเดาอุด ข่านและพรรคพีดีพีเอ (พรรคคอมมิวนิสต์อัฟกัน)ข่านได้ล้มเลิกระบบราชาธิปไตยและประกาศตัวขึ้นเป็นประธานาธิบดีต่อมาก็มีการสถาปนาสาธารณรัฐอัฟกานิสถาน ในปี 1978 ข่านได้ปลดฝ่ายตรงข้ามที่น่าสงสัยออกจากรัฐบาลทำให้เกิดฝ่ายคอมมิวนิสต์ก่อรัฐประหารนองเลือดขึ้นโดยข่านเสียชีวิตลงในเหตุการณ์ครั้งนี้ ตารากีได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีและได้ลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพกับสหภาพโซเวียต ในปี 1979 เริ่มมีความเคลื่อนไหวปฏิบัติการของกองโจรอัฟกัน (มูจาฮีดีน)แล้วเหตุการสังหารหมู่นองเลือดก็เกิดขึ้นอีกครั้ง ตารากีถูกฆ่าตายโดยฮาฟีซูลลาห์ อามินขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีแทน ต่อมาอามินก็ถูกฆ่าอีกคราวนี้บับรัก คาร์มาลกลายเป็นประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตบุกอัฟกานิสถานในเดือนธันวาคมปี 1979 พอถึงปี 1986 คาร์มาลก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง มี ดร. นาจีบูลลาห์ซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอหยุดยิงต่อสหภาพโซเวียต ขึ้นรับตำแหน่งแทนแต่ฝ่ายกองโจรมูจาฮีดีนไม่ยอมรับประธานาธิบดีคนนี้ต่อมากองโจรมูจาฮีดีนได้ชัยชนะครั้งใหญ่และสหภาพโซเวียตได้ถอนกำลังออกไปในปี 1989 ฝ่ายกบฏมูจาฮีดีนยังคงต่อสู้กับทหารของนาจีบูลลาห์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 1989 กองโจรอัฟกันได้เลือกซีบาตูลลาห์ โมจาดีดีให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลลี้ภัยของตน ในปี 1992 กลุ่มกองโจรดังกล่าวได้บุกเข้ายึดเมืองคาบุลและก่อตั้งรัฐอิสลาม (โดยมีบูร์ฮันนูดิน รับบานีเป็นประธานาธิบดี) ในปี 1994 มีการจัดตั้งกองทหารตาลีบันและเริ่มโจมตีรัฐบาลอิสลามอย่างอุกอาจขณะเดียวกัน ดอสตูมและกูลบุดดิน เฮกมัตยาร์ ซึ่งเป็นผู้นำของเฮซไบ-อิสลามก็ยังคงขัดแย้งกับรัฐบาลของรับบานีอยู่ตลอดเมืองคาบุลเหลือแต่ซากปรักหักพังของบ้านเรือนกองทหารตาลีบันได้ชัยชนะครั้งใหญ่ในปี 1995 เมื่อถึงเดือนมิถุนายนปี 1996 เฮกมัตยาร์ได้ลงนามในข้อตกลงสงบศึกกับรับบานีและกลับเข้าเมืองคาบุลในฐานะนายกรัฐมนตรี ในเดือนกันยายนกองทหารตาลีบันได้บีบรับบานีและรัฐบาลให้ออกจากเมืองคาบุลพร้อมกับได้สังหารนาจีบูลลาห์ ในปี 1998 กองทหารตาลีบันได้บุกทางเหนือและสร้างสมอำนาจจนเป็นกลุ่มที่แข็งแกร่งและทรงพลังที่สุดของประเทศแห่งนี้สงครามในอัฟกานิสถานยังไม่สิ้นสุดลงเพียงแค่นั้นนับตั้งแต่กองทัพของสหภาพโซเวียตได้ถอนกองกำลังออกไปกลุ่มอัฟกันกลุ่มต่างๆ ก็พยายามกำจัดศัตรูทิ้งไปแม้ว่ากองทหารตาลีบันจะแข็งแกร่งขึ้นมากตั้งแต่ปี 1998 แต่ก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายขั้นสุดท้ายได้อยู่ดี การต่อสู้อันรุนแรงเพื่ออำนาจยังคงดำเนินต่อไป
3. เชชเนีย (Chechen Republic)
เชชเนีย เป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองของสหพันธรัฐรัสเซีย มีประชากรก่อนสงคราม ๑. ... เชชเนีย ยังเป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของรัสเซียอีกด้วย
ที่อันตรายระดับ 3 ก็เพราะปัจจุบันนี้กลุ่มกบฏเชเชนยังเคลื่อนไหวก่อการร้ายอยู่เนื่องๆมักใช้การจับพลเรือนเป็นตัวประกันเพื่อเรียกร้องความสนใจจากนานาชาติเกี่ยวกับการเรียกร้องเอกราชของพวกเขาวิกฤติตัวประกันครั้งรุนแรงครั้งแรกเกิดขึ้น 6 เดือนหลังทางการรัสเซียส่งกำลังเข้าสาธารณรัฐเชชเนียเพื่อป้องกันการแยกตัวเป็นเอกราชในปี 1994 โดยกลุ่มกบฏเชชเนียยึดโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองบูเดนนอฟสก์ทางใต้ของรัสเซียนานหลายวันแม้จะมีการตกลงเจรจาสันติภาพ(ซึ่งล้มเหลวในเวลาต่อมา)แต่การโจมตีของกลุ่มกบฏและความผิดพลาดระหว่างจู่โจมของเจ้าหน้าที่รัฐก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 100 คน
ดซอคฮาร์ ดูดาเยฟ ผู้นำเชเชนในขณะนั้นออกมาประณามการจับตัวประกัน แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์จับตัวประกันอีกครั้งเมื่อปี 1996 ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าแท้จริงแล้วเขาเป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ทั้งนี้คนร้ายจับตัวประชาชนเกือบ 3,000 คนไว้เป็นตัวประกัน ในโรงพยาลาลแห่งหนึ่งในเมืองคิซยาร์โดยเรียกร้องให้รัฐบาลถอนทหารออกจากเชชเนียก่อนจะปล่อยตัวประกันเกือบทั้งหมดและพาตัวประกันส่วนหนึ่งกลับไปที่เชชเนียด้วยอย่างไรก็ตามกองทัพรัสเซียได้ซุ่มโจมตีกลุ่มกบฏระหว่างข้ามพรมแดนไปเชชเนียทำให้ตัวประกันหลายคนเสียชีวิตนับเป็นการยุติวิกฤติตัวประกันด้วยเลือดอีกครั้งหนึ่ง
สถานการณ์ซับซ้อนขึ้นอีกเมื่อกลุ่มผู้สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนเชเชนทำการจี้เรือโดยสารข้ามฟากในทะเลดำ และขู่จะระเบิดเรือซึ่งมีผู้โดยสาร 225 คน หากทางการไม่ยุติความรุนแรงกับกลุ่มกบฏในเหตุการณ์เมืองคิซยาร์ อย่างไรก็ตามคนร้ายกลุ่มนี้ยอมมอบตัวหลังควบคุมเรือนาน 4 วัน
หลังสิ้นสงครามเชเชนครั้งแรกในปี 1996 เชเชนกลายเป็นดินแดนไร้กฎหมายกลุ่มขุนศึกที่เป็นปฏิปักษ์กันก่อศึกรบราฆ่าฟันกันเองอย่างดุเดือดการลักพาตัว และฆาตกรรมมีการจับตัวชาวต่างชาติที่ทำงานให้ความช่วยเหลือไปคุมขังนานนับปีข้อมูลจากบริษัทความมั่นคง Kroll Associates UK คาดการณ์ว่า ในปี 1998 มีชาวต่างชาติถูกจับเป็นตัวประกันในเชชเนียราว 100 คน
เดือนมีนาคม 2001 เครื่องบินที่มีกำหนดเดินทางจากนครอิสตันบุลไปมอสโกถูกคนร้ายจี้ให้เปลี่ยนเส้นทางไปที่เมืองเมดินา ในซาอุดีอาระเบียเหตุการณ์จบลงด้วยการเสียชีวิตของคน 3 คน หลังกองกำลังความมั่นคงของซาอุดีอาระเบียบุกเข้าจู่โจมเครื่องบิน
หนึ่งสัปดาห์ต่อมา คนร้ายที่สนับสนุนกลุ่มเชเชนจับนักท่องเที่ยวราว 120 คน ในโรงแรมหรู ที่อิสตันบูล ไว้เป็นตัวประกันเพื่อต่อต้านสงคราม
เดือนกรกฎาคม 2001 นักรบเชเชนจับตัวผู้โดยสารราว 30 คน ในรถบัสทางใต้ของรัสเซีย เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักรบที่ถูกจับกุมตัวจากการจี้เครื่องบินเมื่อครั้งก่อน
เดือนพฤษภาคม 2002 คนร้ายหนึ่งคนบุกเดี่ยวจับตัวประกันราว 10 คน ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในอิสตันบูล แต่ภายหลังทั้งหมดถูกปล่อยตัวโดยไม่ได้รับบาดเจ็บ
เหตุจับตัวประกันที่นับว่ารุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซีย น่าจะเป็นการจับตัวประกันในโรงละครแห่งหนึ่งของมอสโกเมื่อปี 2002 โดยกลุ่มกบฏราว 40-50 คน ที่มีผู้หญิงรวมอยู่ด้วย เหตุการณ์ครั้งนั้นจบลงด้วยการเสียชีวิตของตัวประกัน 129 คน และคนร้าย 41 คน หลังจากตำรวจยิงก๊าซพิษระหว่างจู่โจมเข้าไปในโรงละคร
หลังจากนั้นกลุ่มกบฏเชเชนก็โจมตีด้วยการใช้ระเบิดพลีชีพเป็นระยะๆนอกเหนือไปจากการโจมตีกองทัพรัสเซียในเชชเนียรายวันขณะที่กองกำลังความมั่นคงของทางการก็ไม่รามือตามเก็บสมาชิกกลุ่มเชเชนอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
4. แอฟริกาใต้
เป็นอีกอันดับ ที่ผมไม่รู้ติดได้ยังไง ความจริงนี้ประเทศแอฟริกาใต้นี้เจริญมากแถมเป็นเวทีในการจัดมหกรรมฟุตบอลโลกด้วยเราว่ามันอาจเป็นเพราะปัญหาการแบ่งแยกผิวสีในประเทศระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำที่มักมีปัญหากระทบกระทั้งเป็นระยะจนเกิดการจารชนอยู่บ่อยครั้งก็เป็นไปได้
5. จาเมกา (Jamaica)
จาเมก้า(บางคนเรียกจาไมก้า) ประเทศนี้ไม่มีกลุ่มก่อการร้ายก็จริงแต่คนดำแถบคาริบเบียนนี่นี้หน้าตาจะไม่ค่อยรับแขกและหารอยยิ้มก็ยากเหลือเกิน (ขนาดยิ้มให้แล้วยังไม่ยอมยิ้มกลับ)ค่าครองชีพที่นี่สูงมาก แต่ความสะดวกสบาย ความเจริญต่ำและไว้ใจใครไม่ค่อยได้ อาชกรรมเยอะ เพราะเศรษฐกิจตกต่ำปัญหาว่างงานสูงและปัญหายาเสพต์ติด โรคเอดส์
6. ซูดาน (Sudan)
ซูดานประเทศที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาถูกบริหารโดยรัฐบาลทหารและพลเรือนอย่างไร้เสถียรภาพต่อเนื่องกันมานับตั้งแต่ประเทศแห่งนี้ได้รับเอกราชในปี 1956 จากรัฐบาลร่วมแองโกล-อียิปต์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นมายาวนานระหว่างชาวมุสลิมอาหรับทางตอนเหนือของซูดาน (เป็นที่ตั้งของรัฐบาล) และแอฟริกันผิวดำที่เป็นชาวคริสต์ทางตอนใต้ ความขัดแย้งดังกล่าวรุนแรงขึ้นภายหลังการกฎหมายชาเรียในปี 1983 ในรัฐบาลของประธานาธิบดีไนเมอรี กองทัพปลดปล่อยชาวซูดาน (เอสพีแอลเอ)เริ่มโจมตีภาคเหนือหนักขึ้นจนถึงขั้นครามกลางเมืองเต็มรูปในกลางทศวรรษ 1980 การเจรจาระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายการเมืองของกลุ่มเอสพีแอลเอมีขึ้นในปี 1988/9 แต่ก็มีอันต้องล้มเลิกไปเพราะสถานการณ์ต่างๆ ตอนที่นายพลโอมาร์ ฮัสซัน อาห์หมัด อัล-บาชีร์ทำรัฐประหารยึดอำนาจในเดือนมิถุนายน 1989 ในทศวรรษที่ 1990 กองกำลังรัฐบาลได้เปิดฉากการโจมตีทางอากาศไปยังเป้าหมายพลเรือนในซูดานตอนใต้ คาดว่ามีประชาชนเสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้มากกว่า 1.2 ล้านคน เหตุการณ์นี้เองที่สร้างความย่อยยับให้กับเศรษฐกิจของซูดาน
7. ไทย (Thailand)
คุณคงรู้แล้ว เราคงไม่เล่าอะไรมากแต่มีข้อมูลเสริมนิดหน่อยตรงที่ประเทศไทยยังเป็นประเทศสวรรค์ในการค้ามนุษย์อาชญากรข้ามชาติ และสนับสนุนการก่อการร้าย อย่างที่เห็นในข่าว เช่นการให้ขบการก่อการร้าย"อัล มานาร์"เช่าสัญญาณดาวเทียมไทยคมเผยแพร่รายการไปทั่วโลก การสนับสนุนที่ซ่อนตัวอาชญากรระดับโลกระเบิดบาลี
8. โคลัมเบีย (Columbia)
สงครามกลางเมืองในโคลอมเบีย ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานที่สุดของโลก ได้ดำเนินมาโดยไม่มีผู้ใดห้ามปรามถึง 35ปีแล้ว แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตนับพันๆ คน กำลังคนราว 15,000 นายจากฝ่ายกองโจรกลุ่มต่างๆ ห้ากลุ่มสามารถควบคุมพื้นที่ในชนบทไว้ได้ถึง 60% ฝ่ายตรงข้ามกับพวกกบฏก็คือกองกำลังรักษาความมั่นคงของโคลอมเบียและกลุ่มทหารฝ่ายขวาที่ไม่ได้สังกัดหน่วยใดหน่วยหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งรู้จักกันในว่าองค์กรกึ่งทหารถึงตอนนี้อำนาจเศรษฐกิจและการเมืองของโคลอมเบียยังคงอยู่ในมือของชนชั้นสูงซึ่งเป็นผู้บริหารมาโดยตลอดแต่ความขัดแย้งในประเทศนี้มีมากกว่าเรื่องการเมืองแต่สิ่งที่เป็นหัวใจหลักของประเด็นความขัดแย้งได้แก่การควบคุมกเส้นทางขนย้ายยาเสพย์ติดและการคอรัปชั่นต่างหาก
9. เฮติ (Haiti)
[เฮติไม่มีกลุ่มขัดแย้งทำไหร่แต่ปัญหาก็คือประเทศนี้มีคุณภาพชีวิตค่อนข้างต่ำ และสุขอนามัยต่ำล่าสุดมีการก่อการจลาจลปัญหาความยากจนและวิกฤตราคาอาหารแพง
ซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้วหลายราย
10. เอริเทรีย (Eritrea)
ความสัมพันธ์ระหว่างเอธิโอเปียและเอริเทรียนั้นราบรื่นดีมาตลอด เอริเทรียได้ช่วยเหลือเอธิโอเปียในการโค่นล้มเมนจิสตู และในปี 1993 เอริเทรียก็ได้รับเอกราชภายหลังการต่อสู้อันยาวนาน เอริเทรียนั้นยังใช้เงินสกุลเอธิโอเปียมาจนถึงปี 1997 หลังจากเอริเทรียเริ่มนำสกุลเงินของตนเองมาใช้โดยอ้างเหตุผลทางเศรษฐกิจความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศก็เริ่มสั่นคลอนทั้งสองประเทศไม่เคยคิดจะกำหนดแบ่งแนวพรมแดนที่ทอดยาวระหว่างกันและก่อนหน้า ค.ศ.1998 เรื่องพรมแดนก็ไม่เคยมีปัญหาอะไรชาวเอธิโอเปียที่อยากหางานสามารถข้ามชายแดนเข้าสู่เอริเทรียได้อย่างง่ายดายขณะเดียวกันก็มีชาวเอริเทรียจำนวนนับหมื่นอาศัยอยู่ในเอธิโอเปียแต่ฉับพลันทันใดนั้นเรื่องพรมแดนได้กลายมาเป็นประเด็นหลักของวิกฤติการณ์การต่อสู้ได้ปะทุขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.1998 ในบริเวณซึ่งเรียกว่าสามเหลี่ยมแบดเม ซึ่งมีพื้นที่ 400 ตร.กม.เอธิโอเปียซึ่งดูแลพื้นที่สามเหลี่ยมนี้อ้างว่ามีทหารเอริเทรียบุกรุกเข้ามาและต้องการให้ผู้บุกรุกเหล่านี้ถอยกลับไปทางเอริเทรียยอมรับว่ากองกำลังของตนได้เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวจริงแต่ก็อ้างว่าเป็นการมาเพื่อจะเอาดินแดนซึ่งเป็นของตนคืนเพราะแผนที่ของอิตาลีซึ่งเขียนขึ้นระหว่างปี 1907 ถึง 1935 ได้ระบุไว้เช่นนั้น ด้านเอธิโอเปียก็บอกว่าตนมีสิทธิในพื้นที่ดังกล่าวตามแผนที่ของสนธิสัญญาปี 1902 การต่อสู้ระหว่างสองประเทศเป็นเหตุให้ประชาชนนับร้อยล้มตายลงและอีกนับพันไร้ที่อยู่อาศัย เมื่อถึงเดือนเมษายนปี 2000 การต่อสู้ที่เกิดขึ้นเป็นพักๆ ก็เปลี่ยนมาเป็นการสู้รบอย่างเต็มรูปแบบ
อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1573345#ixzz1KA0Ykd7I
นี่ครับเครดิต
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1573345
เย้ ประเทศไทย ติดอันดับ 7 ของโลก
นาe Lชิ่มLบอะ | #1 21-04-2011 - 19:36:28 | ||||
|
|
ppy18000 | #2 21-04-2011 - 19:38:15 | ||||
|
|
panglove | #3 21-04-2011 - 19:38:40 | ||||
|
hningzazaoo1 | #4 21-04-2011 - 19:43:46 | ||
|
Winsohm_98 | #5 21-04-2011 - 19:45:49 | ||
|
vchukkrit | #6 21-04-2011 - 19:47:09 | ||||
|
BiiTONG | #7 21-04-2011 - 19:47:35 | ||||
|
|
cookkiken2 | #8 21-04-2011 - 19:51:25 | ||||
|
|
isanook_ | #9 21-04-2011 - 19:51:35 | ||||
|
|
milkway | #10 21-04-2011 - 19:52:04 | ||||
|
|
badboom007 | #11 21-04-2011 - 19:52:49 | ||||
|
|
badboom007 | #12 21-04-2011 - 19:52:57 | ||||
|
|
knowsmarter | #13 21-04-2011 - 19:55:33 | ||||
|
|
GaJb_ | #14 21-04-2011 - 19:55:45 | ||||
|
lovekilala | #15 21-04-2011 - 19:57:47 | ||||
|
|
MicaFeresz | #16 21-04-2011 - 20:07:56 | ||
|
นาe Lชิ่มLบอะ | #17 21-04-2011 - 20:23:26 | ||||
|
|
love karin | #18 21-04-2011 - 20:25:13 | ||||
|
|
นาe Lชิ่มLบอะ | #19 21-04-2011 - 20:26:30 | ||||
|
|
sunisamisa | #20 21-04-2011 - 20:28:06 | ||
|
ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้ |
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล] |