คุณเคยกินยาสีฟันไหมครับ อืม.....หากคุณเคยกินยาสีฟัน ผมแนะนำว่า อย่าอ่านบทความต่อไปนี้จะดีกว่า กว่าคุณจะผะอืดผะอม ผมไปเจออันดับหน้าสนใจมาว่าส่วนประกอบยาสีฟัน ส่วนใหญ่นั้นทำมาจากอะไร และก็ได้พบว่าส่วนประกอบเกือบทั้งหมดนั้นล้วนเป็นสารเคมีที่ค่อนข้างจะอันตราย บางชนิดก็เหลือเชื่อว่ามันอยู่ในยาสีฟันด้วย ล่ะนี้คือ 10 อันดับสิ่งที่เหลือเชื่อว่ามันอยู่ในยาสีฟันที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน
10.Formaldehyde
ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือฟอร์มาลีน สารไร้สีกลิ่นแรงใช้ทำยาฆ่าเชื้อและยากันเน่า ที่เรามักรู้จักสารนี้ในการใช้สำหรับดองศพเพื่อไม่ให้ศพเน่าเปื่อย ใช้ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดห้องคนป่วย โดยฟอร์มาลีนเป็นส่วนประกอบของยาสีฟัน(นอกจากนี้ยังมี ยาบ้วนปาก สบู่ ครีมโกนหนวด) เนื่องจากมันมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคแบคทีเรียเล็กๆ ในช่องปาก แต่ความเข้มข้นที่ต่ำมาก แต่กระนั้นอันตรายจากฟอร์มาลีนจากยาสีฟันก็ยังคงมีอยู่คือหากกินมากเกินไปอาจทำให้ตับและไตพังและอาจถึงตายได้ โอ้น่าสนุก ลองดูไหม?
9.Detergent
สารทำให้เกิดฟอง หรือผงซักฟอก เป็นผงที่มีลักษณะเป็นผง เม็ดเล็กๆหรือเกล็ด อัดขึ้นรูป กึ่งแข็งกึ่งเหลว แท่ง หรือลักษณะอื่น ผงซักฟอก เป็นสารซักล้างที่ผลิตขึ้นมาใช้แทนสบู่ ในมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสารลดแรงตึงเพื่อให้เกิดฟองช่วยทำความสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากแต่สารบางชนิดอาจมีผลทำให้เยื่อบุปากเกิดอาการแพ้และหากคุณกลืนสารนี้มากเกินไปอาจมีผลต่อกระเพาะอาหาร ปัจจุบันยาสีฟันส่วนมากไม่ทำให้เกิดฟองมากเหมือนเมื่อก่อน เนื่องจากมีการใช้สารลดความตึงผิวที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยขึ้น
8.Seaweed
สารคาราจีแนนที่อยู่ในยาสีฟันนั้นมาจากสาหร่ายทะเล สารนี้ทำให้ส่วนผสมนี้เกาะตัวกันข้นเหนียว ทำให้เกิดความลื่นไหลและยืดขยายเป็นเจลเข้าปาก ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลายชนิดนำสาหร่ายมาใส่ในยาสีฟันเพื่อคุณสมบัติต่างๆ เช่นสาหร่ายไดอะตอมซึ่งเป็นส่วนผสมของยาสีฟันช่วยขัดฟันให้ขาว สาหร่ายสไปรูลิน่าช่วยให้ฟันแข็งแรง
7.Peppermint Oil
น้ำมันสะระแหน่ได้มาจากการสกัดน้ำมันจากสาระแหน่โดยวิธีกลั่นด้วยไอน้ำ โดยน้ำมันที่ได้จากการสกัดนี้ใช้อย่างกว้างขวางในอาหาร ยา เครื่องสำอาง ซึ่งยาสีฟันนั้นก็มีการเติมน้ำมันสกัดนี้เพื่อทำให้ มีรสหวานทำให้ยาสีฟันมีรสชาติดีขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกลิ่นหอมเย็น เมื่อสูดดมทำให้โล่งจมูกรู้สึกสดชื่น อีกครั้งยังช่วยฆ่าเชื้อโรค ส่วนอันตรายจากน้ำมันสาระแหน่ก็คือทำให้ระคายเคืองผิวหนัง และชีพจรปั่นป่วนหากรับประทาน ดังนั้นหลายยี่ห้อมักใส่ในปริมาณความเข้มข้นต่ำ
6.Paraffin
พาราฟิน หรือ เคโรซีน เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมซึ่งกลั่นแยกออกจากน้ำมันดิบ จุดหลอมเหลวประมาณ 47-64 องศาเซลเซียส จุดเดือดประมาณ 150-275 องศาเซลเซียส ไม่ละลายในน้ำ สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย และ มีหลายสถานะด้วยกัน เช่น แก๊ส ของเหลว ของแข็ง โดยประโยชน์ของมันมีหลายอย่าง เช่น แบบก๊าซใช้ทำเชื้อเพลิง ของเหลวใช้เป็นยารักษาโรค โดยสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของส่วนประกอบของยาสีฟันที่มีคุณสมบัติใช้ทำเทียนไข ช่วยในการเคลือบผิว เพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยขจัดคราบสกปรก โดยหากกลืนสารนี้ไปอาจเกิดอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนและท้องผูกอย่างรุนแรง
5.Glycerine Glycol
คุณเคยได้ยินส่วนผสมนี้อยู่ในแปลงสีฟันหรือไม่ และรู้ไหมว่ากลีเซอรีนไกลคอลนั้นคืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร กลีเซอรีนไกลคอลเป็นแอลกอฮอล์ที่มีคาร์บอน 3 ตัว มีลักษณะเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นน้ำเหนียวไร้สีและไร้กลิ่น เป็นส่วนประกอบของยาสีฟัน(น้ำยาบ้วนปาก, การดูแลผิว, ผลิตภัณฑ์ครีมโกนหนวด, ดูแลเส้นผม, สบู่, น้ำมันหล่อลื่นของสงวน)เพื่อไม่ให้แห้งมากเกินไปและช่วยให้เกิดการหล่อลื่น แม้ว่าสารนี้เป็นเพียงสารแต่งเติมที่ไม่มีอันตรายในยาสีฟัน แต่มันทำให้เกิดอาการคลื่นไส้เมื่อเรากลืนยาสีฟันเข้าไป
4.Chalk
ส่วนที่เป็นสีขาวของยาสีฟันมีส่วนผสมหลักทำจากผลชอล์กบดละเอียด(แคลเซียมคาร์บอเนต) ที่ทำมาจาก exoskeletons ซึ่งผงชอล์กนั้นเป็นส่วนประกอบของยาสีฟันมาช้านานแล้วในรูปแบบผง(นอกจากนี้ยังมีผงอิฐ ผงถ่าน เกลือ) เนื่องจากผงชอล์กมีส่วนประกอบจากแคลเซียมและหินปูน การสูดดมในระยะยาวจะทำให้มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง หลอดลมอักเสบ
3.Titanium Dioxide
ส่วนสีขาวของยาสีฟันนั้นทำมาจากไททาเนียมไดออกไซด์(สารกันแดด) ซึ่งสารนี้เป็นสารเก่าแก่ชนิดหนึ่งเท่าๆกับโลกของเรา และเป็นหนึ่งใน 50ชนิดของสารที่ผลิตมากที่สุดทั่วโลก ลักษณะโดยทั่วไปมีสีขาว นอกเหนือจากใช้เป็นส่วนประกอบของยาสีฟันแล้ว มันยังใช้งานได้หลากหลายเนื่องจากมันไม่มีกลิ่นและมีความสามารถในการดูดซับ ทำให้มีหลายผลิตภัณฑ์ใช้สารนี้เป็นส่วนผสม เช่น สีทาบ้านไปถึงอาหารและเครื่องสำอาง และสารนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสารสีที่ปลอดภัย ไม่ก่อมะเร็ง ไม่ก่อให้เกิดกลายพันธุ์ ไม่เป็นอันตรายต่อหญิงมีครรภ์ ไม่มีพิษ หากแต่เราก็ไม่ไว้ใจกับสารนี้อยู่ดี
2.Saccharin
ซัคคาริน สารให้ความหวาน หรือขัณฑสกร นั่นแหละครับ ที่บ้านเราออกมาห้ามโน้นห้ามนี้ว่าอย่าใส่ในขนมหรืออาหาร แต่มันดันเป็นส่วนประกอบของยาสีฟันเพื่อให้เกิดความหวาน เป็นสารเคมีให้ความหวานที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยบังเอิญ ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1879 ปัจจุบันสถานะของขัณฑสกรถือว่าปลอดภัย แต่ผู้บริโภคหลายกลุ่มยังไม่มั่นใจนัก เพราะอดีตขัณฑสกรถูกงดใช้ไปหลายครั้ง(อเมริกาพยายามห้ามใช้สารนี้เมื่อปี 1972) นอกจากนี้ขัณฑสกรยังมีรสชาติขมในคอหลังจากกลืนแล้ว โดยเฉพาะเมื่อใช้ในปริมาณที่สูง
1.Menthol
เวลาเราแปรงฟันแล้วรู้สึกเย็นในช่องปากก็เนื่องจากยาสีฟันมีเมนทอส(การบูร)มีส่วนผสมอยู่ เป็นมีลักษณะเป็นผลึกใส ไม่มีสี รูปเข็ม ได้จากการสกัดน้ำมันหอมระเหยของต้นไม้บางชนิดเช่น Mentha piperita และ Mentha arvensis หรืออาจได้จากการสังเคราะห์ นิยมใช้เป็นสารแต่งกลิ่นรสในยารับประทาน ยาอม ใช้บรรเทาอาการคัดจมูกหรือหายใจไม่สะดวกในยาสูดดมต่างๆ ในตำรับยาขี้ผึ้ง ครีม หรือเจลใช้ดับกลิ่น หรือทำให้รู้สึกเย็นสบาย หากกลืนหรือกินเข้าไปปริมาณเล็กน้อยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปจำนวนมากอาจเป็นอันตรายได้
Credits: Cammy http://writer.dek-d.com/cammy/story/viewlongc.php?id=486572&chapter=253
10 สิ่งเหลือเชื่อว่าเป็นส่วนประกอบของยาสีฟัน(คนที่ชอบกินยาสีฟัน แนะนำว่าอย่าอ่าน)
cherrydoll18780 | #1 10-05-2011 - 11:38:53 | ||
|
vchukkrit | #2 10-05-2011 - 11:42:54 | ||||
|
Khing_kha | #3 10-05-2011 - 11:45:34 | ||||
|
|
crazysims | #4 10-05-2011 - 11:48:46 | ||||
|
|
vchukkrit | #5 10-05-2011 - 12:00:31 | ||||
|
ผู้บรรลุในซิมส์ | #6 10-05-2011 - 12:08:36 | ||||
|
cherrydoll18780 | #7 10-05-2011 - 12:32:04 | ||
|
pupaeplay | #8 10-05-2011 - 14:06:39 | ||||
|
|
bupachart | #9 10-05-2011 - 14:38:24 | ||||
|
|
naerlovely | #10 10-05-2011 - 20:56:41 | ||
|
sink | #11 10-05-2011 - 20:59:15 | ||||
|
|
lovemiku | #12 29-06-2011 - 21:50:57 | ||
|
phuuzaza | #13 30-06-2011 - 12:14:23 | ||||
|
|
I_LOVE_CONAN | #14 30-06-2011 - 17:09:34 | ||||
|
สุภัสสรา_ | #15 01-07-2011 - 19:44:50 | ||
|
hningzazaoo1 | #16 01-07-2011 - 19:50:29 | ||
|
sunshineka | #17 01-07-2011 - 19:52:47 | ||||
|
|
alicza | #18 01-07-2011 - 19:58:07 | ||
|
OoLolitaoO | #19 01-07-2011 - 20:04:07 | ||||
|
|
ew 555 | #20 02-07-2011 - 07:28:55 | ||||
|
|
- 1
- 2
ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้ |
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล] |