(ซ้ำขออภัยนะ พอดีค้นแล้วไม่เจอ =w=)
นักกวิจัยเปรียบ "ลู่วิ่งเดี่ยวปลายตีบ" แนะระบบการศึกษาไทยอาจจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่
วันนี้ (2 ก.ค.) นายยุทธชัย เฉลิมชัย นักวิจัยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สนับสุนโดยสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เด็กไทยเป็นชาติที่เด็กถูกบังคับให้เรียนในห้องเรียน โดยใช้ชั่วโมงเรียนในแต่ละวันมากที่สุดในโลก เปรียบเทียบกับเด็กจีนที่มีความเครียดสูงด้วย ประชากรที่เยอะ การแข่งขันจึงมีสูง ก็ยังใช้เวลาเรียนในห้องเรียนในแต่ละวันน้อยกว่าเด็กไทย
นายยุทธชัย กล่าวว่า ปัจจุบันมีเด็กนักเรียนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ต้องออกจากสถานศึกษากลางคันราวประมาณ 9 แสนคนต่อปีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ด้วยสาเหตุที่ต่างกัน เช่น ครอบครัวยากจน ไร้สัญชาติ แต่มีเด็กจำนวนไม่น้อยไม่อยากเรียนหนังสือเพราะเบื่อหน่าย ทนรับสภาพความกดดันจากระบบการเรียนการสอนที่เน้นการแข่งขันกันเป็นเลิศทาง วิชาการไม่ไหว วันนี้เด็กนักเรียนในเมืองและชนบทมีความทุกข์จากระบบการศึกษาไม่ต่างกันคือ ใช้เวลาเรียนในห้องเรียนมาก แถมต้องเรียนกวดวิชาตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนเกิดความเครียดและเบื่อหน่าย ซึ่งการเปลี่ยนระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย มาเป็นแบบแอดมิสชั่น ก็ส่งผลให้เด็กวิ่งเข้าหาโรงเรียนกวดวิชามากขึ้น
"นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เด็กต้องเก่งวิชามาตรฐาน ให้ครูต้องสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษ โดยให้ขยายผลให้ได้ 2,500 โรงเรียนในปีการศึกษาหน้า ทั้งที่ยังไม่รู้ว่าครูจะสอนกับผู้เรียน จะรับไหวหรือไม่ ยิ่งเป็นการเพิ่มความกดดันให้กับเด็กมากกว่าเดิม เด็กจำนวนไม่น้อยอยากลุกขึ้นตะโกนบอกว่า เขาอึดอัด ทุกข์จากความเครียดกับระบบการศึกษามากเพียงใด"นายยุทธชัย กล่าว
นายยุทธชัย กล่าวว่า ระบบการศึกษาไทยอาจจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ลดจำนวนชั่วโมงเรียนในห้องเรียนลง เพิ่มการเรียนการสอนที่เน้นการใช้ทักษะ พัฒนาคุณภาพชีวิตมากขึ้น เป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้เรียน ที่สำคัญต้องยกเลิกการเรียนการสอนด้วยวิธีบังคับควบคุม เพราะจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจ ขาดความคิดสร้างสรรค์ และไม่กล้าแสดงออก ถึงเวลาที่การศึกษาไทยจำเป็นต้องปฏิรูปเปลี่ยนแปลง เพื่อหนีออกจากความล้มเหลวในปัจจุบัน การลดเวลาเรียนในห้องเรียนลง และปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ จะช่วยลดความเครียดของเด็กลงได้
"คำพูดที่สรุปภาพของการศึกษาไทยได้อย่างเจ็บแสบว่าเป็นแบบ "ลู่วิ่งเดี่ยวปลายตีบ" เด็กทั้งประเทศเหมือนกำลังวิ่งอยู่บนลู่วิ่งที่แข่งขันด้านความเป็นเลิศทาง วิชาการ แต่ยิ่งวิ่ง ปลายลู่ยิ่งตีบ เด็กส่วนใหญ่พ่ายแพ้ ต้องหล่นออกจากลู่ มีน้อยคนเท่านั้นที่วิ่งชนะ สภาพเช่นนี้บั่นทอนคุณภาพชีวิตของเด็กๆ ทุกคน ถ้าวันนี้ถ้าระบบการศึกษาไทยยังไม่เปลี่ยน ก็เดินหน้าต่อไปไม่ได้" นายยุทธชัย กล่าว.
ที่มา : www.dailynews.co.th
ข้างบนเป็นข่าวเก่าแล้ว แต่พอดีไปดูคลิปโดนใจเลยหาข้อมูลมา
คำถามยอดฮิต เป็นที่เด็กหรือใคร???
หลายๆคนคงมีคำถามนี้อยู่ในใจซึ่งแต่ละคนอาจมีความเห็นแตกต่างกันไป(ความเห็นส่วนตัว+ข้อมูลข้อเท็จจริง)
ทำไม!? เด็กไทยถึงไม่อยากเรียน ยิ่งเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันทำไมบางวิชาอยากบางวิชาไม่อยากเพราะ ไม่ชอบ หรือ ไม่อยาก
นักเรียนส่วนมากติดอยู่กับระบบการศึกษาเดิมที่ตายตัวตีกรอบชีวิตให้กับเด็ก นักเรียนทั้งหมด บางคนมีสิ่งที่ชอบแต่กลับเรียนไม่ได้ โดยเฉพาะทักษะด้านที่นอกเหนือจากการเรียนในห้อง นักเรียนบางคนที่มีความสามารถจริงๆ อาจจะเก่งกว่าคนที่ทำงานในระดับอาชีพแล้วก็ได้ แต่ไม่สามารถทำงานได้เพราะติดที่วุฒิการศึกษากับค่านิยมด้านเกรด (ตัวเลข) ที่ไม่ได้วัดความสามารถและศักยภาพที่แท้จริงของเด็กนักเรียนเลยแม้แต่น้อย
อีกปัญหาใหญ่คือจำนวนนักเรียนในห้องที่มีมากเกินไป ตามมาตรฐานการศึกษาจำนวนนักเรียนต่อห้องไม่ควรเกิน 30 คน นี่คือเหตุผลว่าทำไมเรียนกับครูพิเศษถึงเรียนได้ดีกว่าและเข้าใจมากกว่า
เมื่อเด็กเรียนในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมไม่มาก-น้อยจนเกินไปจะทำให้เด็กมี สมาธิตั้งใจเรียนมากขึ้นเพราะทั้งนี้เอง ครู สามารถกวาดสายและให้ความสนใจกับเด็กนักเรียนส่วนใหญ่ได้เกือบทุกคน และนักเรียนเองสามารถตั้งคำถามกับครูได้ตลอดเวลา ต่างกับจำนวนนักเรียน 40-50 คนที่มีในปัจจุบัน ครู1คนไม่สามารถทำให้นักเรียนสนใจได้ทั้งหมด ส่วนที่มักจะคุยจะเป็นหลังห้อง มุมห้อง ริมหน้าต่าง-ประตู เป็นเพราะเสียงและความสนใจของครูเน้นไปแค่ที่บริเวณหน้าห้อง-กลางเท่านั้น ทำให้นักเรียนที่เหลือไม่สนใจเพราะรู้สึกว่าเรียนไปก็ไม่ได้รับอะไรกลับมา
ผลวิจัยหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ปฎิกิริยาการตอบสนองอย่างไร้เหตุผล (Non-reason react) ของมนุษย์โดยเฉพาะเมื่อได้ของตอบแทนจะเกิดความอยากรู้และสนใจมากขึ้น ทั้งนี้เองจึงมีการส่งเสริมการให้รางวัลหลังจากทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบ หมาย ซึ่งมีการทดสอบทั้งในสัตว์อย่างสุนัข รวมถึงกลุ่มเด็กตัวอย่าง เทียบกับนักเรียนปกตินั้นแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด นักเรียนที่รู้ว่าเมื่อตั้งใจเรียนแล้วจะได้รับสิ่งตอบแทน จะมีความสนใจอยากเรียกมากขึ้น ทั้งนี้เองถึงเจ้าตัวจะไม่รู้แต่การตอบสนองเช่นนี้เป็นไปอย่างอัตโนมัติตาม กลไกพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ตั้งใจเรียนเพราะไม่ได้รับความสนใจจากครูและการ กระตุ้นที่ไม่เพียงพอ นักเรียนจึงไม่อยากเรียนและหันไปทำในสิ่งที่คิดว่าได้ผลตอบแทนมากกว่า เช่นการคุยกับเพื่อนอีกคน โดยได้ผลคือแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือคุยตลกขำขันเพราะดูน่าสนใจกว่า นอกจากนี้พฤติกรรมเดิมๆยังคงเกิดขึ้นและไม่มีใครเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างแท้จริง สุดท้ายคือการโทษที่เด็กไม่ขวนขวายหาความรู้ (รู้ได้อย่างไร?) และโทษผู้ปกครองที่ไม่ดูแล (เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น) ยิ่งทำให้เด็กไม่อยากเรียนเข้าไปใหญ่ เพราะหลังจากถูกทำโทษต่างๆนาๆ ก็กลับมาเป็นระบบแบบเดิมอีก ซึ่งสังเกตุได้ชัดในห้องเรียนทั่วๆไป
ความสามารถของเด็กไม่ถูกส่งเสริม
ไม่ว่าจะจากครอบครัวหรือที่โรงเรียน นักเรียนสนใจกับการทำกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนตามตำรามากกว่า เพราะได้ทำในสิ่งที่ตนเองชอบ บางคนชอบการเล่นกีฬา บางคนใช้เวลาในการอ่านหนังสือที่อยากอ่านแต่ไม่สนใจการเรียนในห้องเรียนที่ น่าเบื่อนอกจากนี้ในระดับมัธยมปลาย นักเรียนส่วนมากไม่รู้สิ่งที่ชอบ ซึ่งถึงบางคนมีสิ่งที่ชอบแล้วก็ไม่สามารถหาคณะที่เหมาะสมกับตัวเอง ปัญหานี้ยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก เพราะหลังจากการเรียนตลอด 15ปี นั้นไม่ได้มีการสอดแทรกความรู้ด้านวิชาชีพหรือสิ่งที่นำไปใช้กับการทำงานได้ อย่างแท้จริง แม้ว่าจะมีผลการเรียนในระดับดี-ดีมากก็ตาม โดยส่วนหนึ่งเข้าเรียนเพราะต้องการงานทำ ซึ่งทำให้ละทิ้งความสามารถพิเศษที่ตัวเองมีจนกระทั่งไม่มีความสามารถในที่ สุด ทั้งนี้รวมถึงความชอบอื่นๆอย่างวาดรูป เล่นกีฬา รองเพลง เล่นดนตรี ซึ่งในส่วนนี้เองเกิดจากการที่พ่อแม่หรือคนรอบข้างไม่ส่งเสริมความชอบของคนๆ นั้น และต้องการให้ลูก-หลานเข้าในคณะที่มีงานทำหรือคณะที่ตนอยากให้เข้า เป็นการตีกรอบและเกิดกับหลายครอบครัวในประเทศไทย
นอกจากนี้อีกเรื่องที่สำคัญคือ แรงกดดันจากคนรอบข้าง ที่ ทำให้เด็กเกิดความเครียดซึ่งถึงแม้เด็กไทยจะเครียดมากก็ตาม แต่ก็ยังไม่บรรลุผลสำเร็จของการศึกษา โดยการที่นักเรียนบางคนต้องใช้ชีวิตตามที่ถูกตีกรอบ ปราศจากอิสระจนสุดท้ายเกิดเป็นความเครียดสะสมและใช้เวลาในการเรียนอย่าง เดียว บางคนถึงกับขาดทักษะด้านอื่นๆแทบทั้งหมดจนทำอะไรไม่เป็น ซึ่งทั้งนี้เองผู้ปกครองควรให้เวลาเด็กได้ผ่อนคลายจากการเรียนบาง และควรให้อิสระในการเลือก
ผลวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ที่กล่าวเกี่ยวกับเด็กที่เล่นเกมกับเด็กที่ไม่เล่น เกมโดยใช้กลุ่มตัวอย่างประมาณ2000 คน ที่อายุเฉลี่ยราวๆ 7-15 ปีโดยมีทั้งชายและหญิง พบว่าเกม ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมรุนแรง (ผลการวิจัยพบเด็กที่มีอารมณ์ก้าวร้าว เพียง 0.97 % จากกลุ่มตัวอย่างโดย เด็กหญิงมีแนวโน้มก้าวร้าวมากกว่าเด็กชาย)และอารมณ์ฉุนเฉียวอย่างที่เคย กล่าวกันมาเพราะ เกมส่วนมากทำให้เด็กเกิดการคิดหาทางแก้ขปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกมประเภทใดก็ตาม ทั้งนี้เด็กที่เล่นเกมยังมีแนวโน้มมีผลการเรียนที่ดีกว่าเด็กที่ไม่เล่นเกม และยังพบอีกว่า การเล่นเกมของเด็กเปรียบได้กับ งานอดิเรกทั่วๆไป ซึ่งมีไว้สำหรับผ่อนคลาย ดังนั้นใครที่คิดว่าเกมให้โทษก็ควรคิดใหม่อีกครั้ง สังเกตุได้ง่ายๆว่า ที่บางคนเล่นเกมแล้วโกรธเป็นเพราะ โกรธจากเกม หรือโกรธเพราะถามคำถามที่เป็นคำถามเชิงลบ(-) ต่อความรู้สึกเด็กมากกว่า?
ซึ่งสังคมไทยเองก็มีปัญหา ด้านเด็กติดเกมมาก ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ปกครองที่ให้ความสนใจดูแล (โทษตัวเด็กเองไม่ได้ อายุ10กว่าปี วิจารณญาน ไม่เพียงพอในการตัดสินใจที่มีเหตุผล)ในตัวเด็กจึงเกิดปัญหาและโทษกล่าวหา เกมอย่างรุนแรงซึ่งหลายๆคนที่เล่นเกมและสามารถจัดการกับเวลาได้ถูกต้องไม่ เคยมีปัญหาเช่นนี้
สุดท้ายนี้การแก้ปัญหาของคนไทยยังไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุอยางแท้จริง ยกตัวอย่างเด็กติดเกม (แบนเกมแทน) ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นแต่ไปแก้ที่ปลายคือตัวเด็กทั้งที่ควรอบรมผู้ปกครองให้ มีความสนใจในการดูแลเอาใจใส่มากกว่านี้ , เรื่องความสนใจในการเรียนเช่นกัน ให้ความสนใจกับเด็กให้มากขึ้นดีกว่าตอกย้ำและสร้างระยะทางให้ห่างมากกว่า เดิม
ซึ่งส่วนหนึ่งนี้ก็เป็นความเห็นของผมที่อิงมาจากข้อมูลจริง จึงอยากให้มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ไม่ใช่การทำเอาหน้า ที่พอทำเสร็จแล้วทิ้งปัญหาค้างไว้อย่างไม่สนใจใยดี ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นที่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่ก็เกิดกับทั้งสองฝ่าย ดังนั้นควรเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาในตอนนี้ให้ดีขึ้นดีกว่าครับ
เพิ่มเติม 15/1/53
ปัญหาที่แก้ไม่ตกอีกอย่างหนึ่งคือการที่ไม่มีการส่งเสริมอย่างจริงจังหรือ ให้ความสนใจกับความสำเร็จของนักเรียนไม่ว่าจะเป็นระดับ อุดมศึกษาหรือ ในมหาวิทยาลัย โดยจะมีการออกสื่อต่างๆในช่วงระยะเวลาที่สั้นเพียงไม่กี่วันถ้าหากนำมาเทียบ กับข่าวอย่างอื่นเช่นดารา บันเทิง เทคโนโลยี ทั้งนี้ทางสำนักงานข่าวบางช่องได้เคยกล่าวไว้ว่าที่การนำเสนอข่าวเน้นเรื่อง บันเทิงมากกว่าเพราะ กระแสนิยมของสังคมไทยซึ่งในส่วนนี้เองได้คาบเกี่ยวกับในส่วนของละครต่างที่ มีการผลิตอยู่ในประเทศไทย โดยยังบอกอย่างชัดเจนอีกว่า ถึงแม้ว่าผู้กำกับหนังหลายๆคนที่มีมุมมองใหม่ๆ แล้วต้องการทำละคร-หนังที่มีคุณภาพสู่ระดับโลก ซึ่งในหลายๆส่วนและหลายๆเรื่องที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศนั้นคนไทยเอง ก็มีส่วนเหมือนกัน แต่เนื่องจากสภาพความนิยมในสังคมในปัจจุบันทำให้ หลายๆคนไม่กล้าเสี่ยงเพราะเจอผลกระทบจากการไม่ได้รับความนิยมจนกระทั่งเป็น จุดจบของอาชีพในที่สุด ซึ่ง ในอีกแง่หนึ่งจึงหันมาทำหนังตลกปล่อยแก๊ก-หนังผีที่ได้รับความนิยมในหมู่วัย รุ่นและคนต่างจังหวัด ที่มีต้นทุนต่ำและได้รับความนิยมสูงนั่นเอง
โดย ถ้าเปรียบกับความสำเร็จของนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีผู้สนใจส่วนหนึ่ง(ถึงแม้ จะระดับโลกก็ตาม)ที่ต้องนำมาออกข่าวเทียบกับข่าวบันเทิงที่มีคนดูมากและทุก เพศทุกวัย ทำให้การส่งเสริมความสนใจด้านการเรียนไม่เกิดขึ้น (จากการออกสื่อต่างๆเกี่ยวกับ สิ่งประดิษฐ์ สินค้าใหม่ ผลวิจัย การแข่งขัน ของนักเรียน) จึงยังคงไม่เป็นที่สนใจจนถึงทุกวันนี้เพราะต่อให้กลุ่มนักเรียนทำประโยชน์ มากเพียงใด แต่ความดีนั้นก็ไม่ได้ถูกเผยแพร่อย่างจริงจัง เช่น นักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิก , แข่งขันด้านวิชาการ เหล่านี้เองเมื่อมีการออกข่าวได้ให้ข่าวเกี่ยวกับรางวัลเท่านั้น โดยสรุปสั้นๆด้วย ประโยคเดิมๆเป็นเชิงว่า ยิ่งตั้งใจเรียนยิ่งประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่ได้อธิบายข้อมูลหรือเนื้อหาสาระที่ดึงดูดความสนใจอย่าง วิชานี้น่าเรียนยังไง คนชอบแบบไหน เรียกยากหรือไม่ ซึ่งแทนที่จะสละเวลามาทำการสัมภาษณ์สั้นๆ 4-5 นาที โดยการสละเวลาโฆษณา ซึ่งแม้จะเป็นเชิงธุระกิจก็ตาม แต่ถ้านำมาเทียบกับผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดให้แก่อนาคตของชาติแล้ว ตีราคาไม่ได้เลยทีเดียว
ต่อมาเรื่องของการสอบ.........
เป็นเรื่องน่าแปลก และ แปลกอย่างมากในสังคมการเรียนไทย โดยเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีสถาบันกวดวิชานับไม่ถ้วน และมากติดระดับโลก(ด้านวิชาสามัญ)ซึ่งส่วนนี้เองเป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยน หลักสูตรและการเปลี่ยนการสอบเข้ามหาลัย โดยมีเหตุมาจากการต้องการปฎิรูปการศึกษาให้เท่าทันต่างประเทศ ซึ่งเมื่อก่อนประเทศใกล้เคียงอย่าง กำพูชา หรือ ลาว ที่เคยล้าหลังด้านการศึกษาของไทยถึง 30 ปี แต่ในปัจจุบันนี้กลับนำหน้าไทยเราถึง 10 ปี
หลัง จากการปฎิรูปการศึกษาแบบทันทีโดยไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าให้มีการเตรียม พร้อมใดๆ นักเรียนส่วนหนึ่งต้องเจอกับปัญหานี้ โดยที่รัฐบาลชุดก่อนๆจนถึงปัจจุบันยังไม่ได้ให้ความสนใจเท่าไหร่นัก และปัญหานี้ก็ยังคงตกมาสู่รุ่นเราและรุ่นต่อๆไปในอนาคต
หลายๆ คนคงจะสงสัยว่าทำไมต้องเปลี่ยนข้อสอบบ่อยๆ หรือเปลี่ยนแนวเรื่อยๆ ทั้งนี้เป็นเพราะ ทางศูนย์สถาบันการทดสอบทางการศึกษาได้เคยกล่าวไว้ว่า เนื่องจากปีหลังๆมานี้ คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนได้เพิ่มขึ้นซึ่งคาดว่าอาจจะทำให้คะแนนเฟ้อได้ดัง นั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนแนวข้อสอบที่หลากหลาย รวมถึงการตอบคำตอบแบบ มัลติช้อยที่ป้องกันการมั่วข้อสอบ และอ้างว่า ขนาดลิงที่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ยังทำข้อสอบถูกถึง 1 ใน 4 ซึ่งถ้าเทียบกับของจริงแล้ว กากบาท ดิ่ง ลง ข้อเดียวทั้ง 100 ข้อก็สามารถทำได้เช่นกันและสามารถทำได้เพราะไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขของการทำ ข้อสอบ แต่ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงผลจากการกระทำที่ไม่ได้มีต้นเหตุมาจาก คะแนนที่เพิม่ขึ้นของนักเรียน ทั้งนี้ที่คะแนนเพิม่ขึ้นเพราะมีการเปิดสถาบันสอนกวดวิชาเฉพาะอย่าง GAT หรือ PAT รวมถึงสอบตรงอื่นๆเป็นต้น เมื่อคะแนนสูงขึ้นเพราะนักเรียนเรียนมากลับโทษว่าข้อสอบง่าย คะแนนเฟ้อ แต่ไม่ได้มองว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนอยู่ในระดับที่ดีขึ้น
เรื่องของการสอบอีกเรื่องคือระบบการสอบ O-net ที่มีในปัจจุบันและมีการใช้อยู่ได้มีปัญหาเกิดขึ้นอย่างมากทั้งแก่กับนัก เรียนและตัวผู้ปกครองที่ต้องมานั่งเครียดกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องเท่าที่ ควร แทนที่จะต้องเจอเครียดกับเด็กที่ไม่ตั้งใจเรียนซึ่งเป็นเพียงส่วนน้อย แต่กลับต้องเครียดกับการเปลี่ยนแนวข้อสอบทุกปี ทั้งเนื้อหาการสอบและ วิธีการทำข้อสอบที่ไม่ได้มีการบอกล่วงหน้าหรือให้มีการเตรียมตัวที่ทันเวลา รวมถึงการนำเนื้อหาหลักสูตรมาออกข้อสอบเช่น ปี 53 ที่ถามคำถามปลายเปิดจนทำให้นักเรียนจำนวนมากถึงกับต้องอึ้งกับคำถามและคำตอบ ที่บางข้อไม่ได้มีความสัมพันธ์เลยแม้แต่น้อย และถ้านำมาเทียบกับระบบเก่าที่ใช้เพียง A-net และ O-net นำมาเทียบกับ GAT PAT Onet แล้ว ความยุ่งยากต่างกันอย่างเห็นได้ชัดและถ้าเทียบปัญหากับระบบเก่าแล้ว แตกต่างกันมาก A-net และ O-net ในระบบเก่าจะมีปัญหาน้อยมากทั้งเรื่องการจ่ายเงิน การบันทึกคะแนนและการทำข้อสอบ(เคยมีช่วงหนึ่งเกิดปัญหากระดาษคำตอบเพราะมี ข้อสอบ2ชุดทำให้คะแนนส่วนหนึ่งเกิดความผิดพลาด) หากนำมาเทียบกับ GAT PAT ที่ไม่เพียงแต่ทำให้นักเรียนต้องเครียดมากขึ้น(สถาบันกวดวิชามีการเพิ่มการ เรียนพิเศษเกี่ยวกับ GAT PAT) เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นทั้งเรียนและสมัครสอบ ค่าเดินทางต่างๆ และบางคนที่ไม่มีข้อมูลทำให้สมัครสอบไม่ทัน ซึ่งเหล่านี้เองเกิดขึ้นกับระบบ O,A-net น้อยมากเพราะสอบครั้งเดียวจบไปเลยจึงไม่จำเป็นต้องคอยติดตามข่าวสาร(แต่ตัว นักเรียนเองก็ควรติดตามเองด้วย)
กลับ มาที่ตัวนักเรียน อีกเรื่องที่พบคือไม่เข้าใจตัวเองซึ่งเป็นจำนวนเกือบครึ่งหรือมากกว่านั้น ที่เจอกับเรื่องนี้ตอนเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย บางคนเข้าเพื่อมางาน(ตัวผมเองด้วย) บางคนเข้าเพราะพ่อแม่อยากให้เข้า และบางคนก็ได้เข้าในคณะที่ต้องการ ซึ่งในส่วนนี้หลายๆคนควรทำความเข้าใจกับกับตัวเองและคนรอบข้างเพื่อหาทางออก ที่เหมาะสม แต่ความชอบบางอย่างของตัวนักเรียนเองบางอย่างสามารถเรียนและพัฒนาตนเองได้ และความสามารถนั้นสามารถหางานทำได้โดยไม่ต้องพึ่งปริญญาแต่ใช้ความสามารถโดย ตรงอย่าง designer นักออกแบบ ทำสื่อโฆษณา ซึ่งเน้นที่ผลงานที่ออกมา แต่วุฒิในมหาวิทยาลัยก็จำเป็นมากเพราะทางสถานที่รับงานก็พิจารณาในส่วนนี้ ไม่น้อยเหมือนกัน รวมถึงบางคณะที่ต้องใช้ความรู้ในระดับสูงอย่างแพทย์ วิศวะ นักบัญชี และนักวิเคราะห์ เป็นต้น ต้องใช้ทั้งความสามารถและสิ่งยืนยันที่เห็นได้ชัดเจนประกอบด้วย ดังนั้นการทำเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย บางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องดีที่ได้เรียนเพราะได้รับความรู้และมีโอกาสในงาน ทำมากขึ้น และบางคนคิดว่าเรียนเพื่อมีวุฒิในการศึกษาระดับที่สูงขึ้นและใช้ทำงานหาเงิน ได้มากขึ้น ส่วนบางคนเรียนเพราะมีความสนใจในสิ่งนั้นๆ ซึ่งที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องดีทั้งสิ้น เพราะทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับผู้เลือกเป็นคนเลือกเส้นทางเอง หน้าที่ที่ควรทำคือการให้การเสนอแนะต่างๆ แลการปรับความเข้าใจในครอบครัวและคนรอบข้าง เพราะปัญหาจริงๆที่พบในการเรียนคือการที่ไม่ถูกยอมรับเพราะไม่ได้เรียนใน สิ่งที่คนอื่นต้องการ (ควรปรับความเข้าใจก่อนการตัดสินใจ ) และนอกเหนือจากนี้คือเรียนแล้วไม่ใช่ตัวเอง เรียนไม่ใหว ขาดความมั่นใจ ต้อง ไทร์ ออกจากมหาวิทยาลัยไม่ว่าที่ใดๆก็ตาม บางคนยังสมัครเรียนใหม่(ซิ่ว) แต่บางคนอาจช็อคและเสียความมั่นใจไปตลอดชีวิตเลยก็ว่าได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดสองประการคือ การทำความเข้าใจกับตัวเอง และ การทำความเข้าใจกับคนอื่น
"การเรียนดีไม่ใช่ผลสำเร็จของอนาคตเสมอไป แต่ความตั้งใจคือหนทางสู่อนาคตของเราเอง"
เครดิต : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2029668#ixzz1OxQJD9sf
เม้นมีสาระ รวมไว้ตั้งแต่บรรทัดนี้
quote : นาe Lชิ่มLบอะ
เด็กไทยเรียนหนักเพื่อให้มันจบๆไปงั้นหรือนนี่ นี่หรอพลังของชาติ
เรียนหนักเกิน แข่งขันสูงเกิน แต่กลับไม่มีอะไรดี...
quote : Pika-P0nd
เรียนไปทั้งวิทย์ คณิต สังคม ภาษาไทย (อย่างเจาะลึกทุกวิชา)
แต่สุดท้ายเข้ามหาวิทยาลัยแทบไม่ได้ใช้
ในชีวิตประจำวันก็ไม่มีประโยชน์
แทนที่จะเรียนวิชาที่ตัวเองชอบ
หรือเรียนเฉพาะวิชาที่คณะที่ต้องการเรียนใช้
เช่น จะเข้าคณะวิทย์ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนภาษา
ถ้าทำแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียน
และพอจบออกมาก็จะเป็นประชากรที่มีคุณภาพมากคนนึงเลยล่ะ
(แต่ก็ได้แค่ฝัน)
quote : VIP_PREAW
จะมีซักกี่หมื่น กี่พัน กี่ร้อย ที่พอใจภูมิใจกับการได้เรียนหนังสือลึกๆในใจทุกคนมันก็ต้องมีขี้เกียจบ้างละ
เคยได้ยินไหม ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ก็มีถมเถไปไอคิวสูงลิ่วแต่อีคิวกลับต่ำมากจนเกินไป
ประเทศไม่ได้ต้องการคนฉลาดแต่ต้องการที่ใช้ชีวิตด้วยตนเองเป็น กตัญญู ไม่คอรัปชั่น
ถ้าประเทศมีแต่คนฉลาดไม่มีความกตัญญูทิ้งพ่อแม่ไว้ตามสถานสงเคราะห์คุณคิดว่าประเทศมันจะเจริญขึ้นไหมละ
ถ้าประเทศมีแต่คนฉลาดแข่งกันคอรัปชั่นคุณคิดว่าประเทศมันจะเจริญไหมละ
ถ้าประเทศมีแต่คนฉลาดแต่ใช้ชีวิตด้วยตนเองไม่เป็นต้องคอยให้คนอื่นมาดูแลคุณคิดว่าประเทศมันจะเจริญไหมละ
.....♥
quote : นาe Lชิ่มLบอะ
นักเรียนที่เลือกตามสายเรียนตอนม.4และเลือกคณะส่วนใหญ่ผมว่าเลือกคณะที่มันหางานทำได้ได้เงินเยอะ
บางคนพ่อแม่บังคับ ตีเหล็กอนาคตลูกไว้เบ็ดเสร็จไม่ดูเลยว่าลูกชอบอะไรมีความสามารถด้านอะไร
เด็กไทยน่าจะเลือกสายวิชา คณะตามที่ชอบหรือที่ถนัดจะดีกว่า พ่อมแม่ ครู ก็ควรจะให้ ความร่วมมือ
แล้วพวกที่หัวการค้า หัวดี หัวการเมือง บางคนก็จะทำเงินจากการ โกงบ้าง คอรัปชั่นบ้าง ไม่มีใครทำงานเพื่อประชาชนอย่างจริงๆจังๆ
ผมคนนึงแล่ะที่อยากเรียนคณะ รัฐศาสตร สาขา ปกครอง ไม่ก็ ระหว่างประเทศ กะจะเรียน สายศิลป์ ฝรั่งเศส เพิ่มด้วย เพราะชอบ
ขนาดม.1 ยังยากอะ งานเยอะ เรียนหนัก แข่งขัน เสาร์อทิต เรียนๆๆๆๆๆๆ ทำการบ้าน แต่ผม Lazy ผมพักวันอาทิตย์ (ผมเป็นคริสต์)