โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ
พบเด็กฝรั่งเศสกินเบอร์เกอร์ ติดเชื้ออีโคไล เพิ่มอีก 7 คน
tanapon
#1
18-06-2011 - 21:32:12

#1 tanapon  [ 18-06-2011 - 21:32:12 ]







เด็กฝรั่งเศส ติดเชื้ออีโคไลเพิ่มอีก 7 คน หลังก่อนหน้านี้หามเด็ก 6 คน ส่งโรงพยาบาล หลังรับประทานแฮมเบอร์เกอร์

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบเด็กชาวฝรั่งเศส 6 คน ถูกนำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ในเมืองลีล ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส จากอาการแทรกซ้อนทางไต ซึ่งจากการตรวจวินิจฉัย พบว่า คาดเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล หลังรับประทานแฮมเบอร์เกอร์ ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดวันนี้ (17 มิถุนายน) เจ้าหน้าที่จากกระทรวงสาธารณสุขสาธารณสุขฝรั่งเศส เปิดเผยว่า วานนี้ (16 มิถุนายน) พบเด็กชาวฝรั่งเศสอีก 7 คน ล้มป่วยลงจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล หลังรับประทานแฮมเบอร์เกอร์แช่แข็ง "Steak Country" ที่คาดว่าผลิตจากเนื้อที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียมาจากประเทศเยอรมัน


เชื้อแบคทีเรีย อีโคไล

[15 มิถุนายน] พบเหยื่ออีโคไลอายุต่ำกว่า 20 ปีรายแรก

เยอรมันพบเหยื่ออีโคไล รายแรกที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุด เพิ่มขึ้นเป็น 37 ราย

ความคืบหน้าล่าสุดของผู้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ในวันอังคาร (14 มิถุนายน) ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจาก 36 ราย เป็น 37 ราย จากวานนี้ โดย พบว่าเป็นเด็กชาย วัย 2 ปี จากพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศเยอรมัน ซึ่งเสียชีวิตจากภาวะไตวาย และนับว่าเป็นผู้เสียชีวิตรายแรก ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี

นอกจากนี้ ยังพบว่า พ่อของเด็กรายดังกล่าว รวมถึงพี่ชายวัย 10 ปี ก็มีอาการป่วยจากภาวะแทรกซ้อนของเชื้อด้วยเช่นกัน


กระหล่ำปลีปม

[13 มิถุนายน] สธ.ยันกะหล่ำปลีปมไร้ อี.โคไล อันตราย


รมว.สธ. ยัน ผลตรวจ กะหล่ำปลีปม ไร้เชื้อ อี.โคไล 0104 ที่ระบาดในยุโรป พร้อมสั่งจับตา ผัก ผลไม้ นำเข้าต่อเนื่อง แนะ ประชาชน อย่าตื่นตระหนก

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ทวิต ยืนยัน การตรวจสอบ กะหล่ำปลีปม ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่หลายฝ่ายเกรงว่า จะมีการปนเปื้อนของเชื้อ อี.โคไล ที่ระบาดในต่างประเทศ เข้ามาในประเทศไทย ล่าสุด ผลการตรวจสอบ ไม่พบเชื้อ อี.โคไล O104 ในกะหล่ำปลีปมที่นำเข้ามา และขอให้ประชาชนไม่ต้องกังวล เชื้อในกะหล่ำปลี เป็น อี.โคไล ที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ และไม่เป็นอันตราย ซึ่งทาง กระทรวงสาธารณสุข จะทำการตรวจสอบ ผักและผลไม้นำเข้าอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังสารอันตรายต่าง ๆ ที่เข้ามาในประเทศ

ขณะที่ ทางด้าน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข อยู่ระหว่างการจัดเตรียมข้อมูล และรายละเอียดเรื่องดังกล่าว เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบ และรู้ถึงสายพันธุ์ใดเป็นอันตรายและสายพันธุ์ใดปลอดภัย เพื่อให้ ประชาชน รับทราบ และไม่ตื่นตระหนก


WHO แถลง พบผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล เพิ่มอีก 4 ราย ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุด เพิ่มขึ้นเป็น 35 ราย

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO และ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป แถลงในวันอาทิตย์ (12 มิถุนายน) ตามเวลาท้องถิ่นระบุ พบผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 4 ราย จากภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล โดยเป็นชาวเยอรมัน 1 ราย และ เป็นชาวสวีเดน 3 ราย ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้ออีโคไล พบแล้วทั้งสิ้น 3,256 ราย ใน 14 ประเทศในแถบยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และแคนาดา และมี 812 ราย เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของโรคที่เกี่ยวกับลำไส้

ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ผู้เสียชีวิต 4 รายล่าสุดนี้ มีประวัติการเดินทาง หรืออาศัย ในประเทศเยอรมนี ในช่วงระยะเวลาภาวะการติดเชื้อ ซึ่งโดยปกติจะอยู่ที่ 3-4 วัน หลังการได้รับเชื้อแล้ว




[11 มิถุนายน] ไทยโล่ง! อโวคาโดไม่อันตราย-เจอในกะหล่ำปลีปมเพิ่มอีก

ผลตรวจอีโคไลในอโวคาโด ยืนยันไม่ใช้เชื้อชนิดที่คร่าชีวิตชาวยุโรป สธ.ให้ขายต่อได้ ขณะที่ผลตรวจกะหล่ำปลีปมพบเชื้ออีโคไลอีก ยังไม่ทราบสายพันธุ์ เตือนประชาชนอย่าวิตก

หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวพบแบคทีเรียอีโคไล ไม่ทราบชนิด ปนเปื้อนอยู่ในอโวคาโดที่นำเข้าจากยุโรปนั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า จากการตรวจยืนยันทางชีวเคมีของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในอโวคาโด พบว่าไม่ใช่เชื้ออีโคไลสายพันธุ์ โอ 104 ที่ระบาดและคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 30 รายในยุโรป โดยเชื้ออีโคไลที่พบในอโวคาโดนั้นพบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงอนุญาตให้ผู้นำเข้าอโวคาโดสามารถจำหน่ายได้

นายจุรินทร์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เฝ้าระวังผักผลไม้นำเข้าจาก 13 ประเทศในยุโรปที่มีรายงานเชื้อแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และให้วอร์รูมกรมควบคุมโรค ประชุมติดตามสถานการณ์โรคอย่างใกล้ชิด และต้นตอแหล่งแพร่เชื้อ จึงขอให้ประชาชนไทยมั่นใจในมาตรการป้องกันเฝ้าระวังของกระทรวงที่พร้อมปกป้องสุขภาพคนไทย ขอให้ประชาชนรับประทานผักผลไม้ตามปกติ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ หากประชาชนยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ จะป้องกันไม่ให้ป่วยได้

ขณะที่ นายอมรินทร์ นันทวิทยาภรณ์ หัวหน้ากลุ่มตรวจด่านอาหารและยา อย. กล่าวว่า ได้มีการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ อาทิ แครอต พริกหยวก กะหล่ำปลี และผลไม้รวมทั้งหมด 1 ตู้คอนเทนเนอร์ และจะนำผักผลไม้อย่างละ 1 กิโลกรัมไปตรวจสอบเชื้อดังกล่าว โดยจะนำไปตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน ซึ่งสินค้าดังกล่าวมีทั้งพร้อมรับประทาน และต้องนำไปปรุงให้สุกก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากอังกฤษ เบลเยียม สเปน และนำเข้ามาตั้งแต่วันที่ 5 พ.ค. ส่วนผลอโวคาโดที่ตรวจพบเชื้ออีโคไลเบื้องต้นยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเชื้อสายพันธุ์ใด ซึ่งในล็อตดังกล่าวนั้นมีการนำเข้ามา 420 ลัง และนำมาตรวจสอบหมดแล้ว

"ประชาชนที่จะรับประทานผักและผลไม้ในช่วงนี้ ควรนำมาล้างให้สะอาดก่อน โดยอาจใช้น้ำส้มสายชูหรือเกลือก็ได้ หรือควรต้มให้สุกก่อนรับประทาน รวมทั้งได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการชะลอการนำเข้าผักผลไม้จากยุโรปแล้ว" นายอมรินทร์กล่าว

วันเดียวกัน พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจตลาดสดบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย พร้อมทั้งระบุว่า แม้ยังไม่พบการแพร่เชื้ออีโคไลในไทย แต่ก็มีการแพร่ระบาดหลายประเทศในยุโรป กทม.จึงต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง และจะลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันตัวเอง ไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกตกใจ แต่รู้เท่าทัน

และสำหรับความคืบหน้าการตรวจหาเชื้ออีโคไลในกะหล่ำปลีปม ล่าสุด นายแพทย์สถาพร วงษ์เจริญ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการเก็บตัวอย่างผักผลไม้ ที่นำเข้าจากทางทวีปยุโรป อาทิ กะหล่ำปลีปม พริกหยวก แครอท นั้น เบื้องต้นพบว่า กะหล่ำปลีปม มีเชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนอยู่ แต่ยังไม่สามารถระบุสายพันธุ์ได้ชัดเจนว่า เป็นสายพันธุ์อันตรายที่ทำให้เกิดโรคหรือไม่ จะต้องมีการตรวจสอบลงลึกในรายละเอียดอีกครั้ง เพื่อหาสายพันธุ์ที่แท้จริง เนื่องจาก เชื้อ อี.โคไล บางสายพันธุ์ไม่เป็นอันตราย และสามารถพบได้ทั่วไปในบ้านเรา ซึ่งจะต้องมีการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ก็จะทราบผลว่า เป็นเชื้ออี.โคไล สายพันธุ์ใด ส่วนพริกหยวก แครอท ยังอยู่ระหว่างการตรวจหาเชื้อ อี.โคไล

ทั้งนี้ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังฝากไปยังประชาชนอย่าวิตกกังวล เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้มีการเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงท่านใดจะรับประทานผักและผลไม้ ในช่วงนี้ควรจะนำมาล้างให้สะอาดก่อน โดยอาจจะใช้น้ำส้มสายชู หรือเกลือก็ได้ หรือควรจะต้มให้สุกก่อนรับประทาน


[10 มิถุนายน] อีโคไล ระบาดหนัก! ดับแล้ว 30 ราย-ไทยพบในอโวคาโด

"อี.โค ไล" ระบาดไม่หยุด ล่าสุด พบผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 30 ราย ขณะเจ้าหน้าที่เร่งหาที่มาเชื่อมรณะจากการตรวจสอบอาหารของผู้เสียชีวิต

นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมัน กล่าวว่า เจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุข ได้พยายามอย่างสุดความสามารถ ในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อี.โคไล

ขณะที่ หน่วยงานสาธารณสุขในเมืองคัสเซิล ตอนกลางของประเทศเยอรมัน ได้ทำการตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่ให้บริการด้านอาหาร ในงานเลี้ยงวันเกิด ใกล้กับเมืองเกอตติงเกน เมื่อวันที่วันที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้น พบผู้ป่วย 8 คน จากการร่วมงานเลี้ยงดังกล่าว ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในช่วงของการทดสอบเชื้อ ด้านบริษัทกล่าวว่า จะให้ร่วมมืออย่างเต็มที่

ส่วนยอดผู้ติดเชื้อล่าสุด พบแล้วกว่า 2,900 ราย ใน 12 ประเทศ และยอดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยัน จากหน่วยงานในแฟรงค์เฟิร์ตของเยอรมนี วานนี้ (9 มิ.ย.) ระบุมีแล้วทั้งสิ้น 30 ราย







[9 มิ.ย.] อีโคไลโผล่ไทย! สธ.เจอปนเปื้อนในอโวคาโดนำเข้า

สธ.เผยพบอโวคาโดนำเข้าจากยุโร ปปนเปื้อนเชื้ออี.โคไล แต่ยังไม่ทราบชนิด อีก 5 วันรู้ผลชัด เตือนประชาชนไม่ต้องวิตก เพราะเชื้ออี.โคไลมีหลายชนิด มักอยู่ตามผักผลไม้ได้ทั่วไป แต่ไม่เป็นอันตรายต่อคน

วันนี้ (9 มิถุนายน) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า หลังจากด่านอาหารและยา ประจำท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิได้สุ่มเก็บอโวคาโด จำนวน 2 กิโลกรัมที่นำเข้าจากยุโรป ส่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรียอี.โค ไลชนิดรุนแรง โอ 104 (Enterohaemorrhagic E.coli O104) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมานั้น ล่าสุด ผลการตรวจในเบื้องต้น พบเชื้ออี.โคไล ในอโวคาโดตัวอย่างที่สุ่มเก็บมา แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นเชื้ออี.โคไลชนิดใด ทำให้เกิดสารพิษหรือไม่ ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์อีกประมาณ 3-5 วันจึงจะทราบผล ส่วนกะหล่ำปลีปม จะทราบผลตรวจเบื้องต้นในเช้าวันพรุ่งนี้ (10 มิถุนายน 2554)

อย่างไรก็ตาม นายจุรินทร์ ยังย้ำว่า ขอให้ประชาชนไม่ต้องวิตกกังวลที่มีการตรวจพบเชื้ออี.โคไลในอโวคาโดครั้งนี้ เพราะถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากเชื้ออี.โคไล มีหลายชนิด และเป็นเชื้อที่มีอยู่ทั่วไปในผลิตภัณฑ์การเกษตร ผัก ผลไม้ ซึ่งไม่เป็นอันตรายสำหรับประชาชน และยังสามารถรับประทานผัก ผลไม้ต่อไปได้ตามปกติ

ทั้งนี้ นายจุรินทร์ ยังได้แนะนำว่า ก่อนที่จะนำผัก ผลไม้มารับประทาน ควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนหลาย ๆ ครั้ง ด้วยการเปิดน้ำจากก๊อกแรงพอประมาณให้ไหลผ่านผักสด ผลไม้นานอย่างน้อย 2 นาที หรืออาจใช้น้ำส้มสายชู เกลือ ควบคู่ไปด้วย หากเป็นผักที่มีกาบใบห่อต้องคลี่ใบถูให้สะอาดก่อน รวมทั้งลอกหรือปอกเปลือกชั้นนอกของผักสดหรือผลไม้ทิ้งไป เพื่อลดสิ่งปนเปื้อน อย่างไรก็ตาม การรับประทานผักที่ปรุงผ่านความร้อนแล้วจะปลอดภัยที่สุด เพราะเชื้อแบคทีเรียจะตายเมื่อถูกความร้อน 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป

hningzazaoo1

cherryjung
#2
18-06-2011 - 21:37:51

#2 cherryjung  [ 18-06-2011 - 21:37:51 ]





ว้าว ! น่ากลัว จังเลย

เกิดมา กินแฮมเบอร์เกอร์แค่ 8

ชิ้น จริงๆเลย ! ไม่ได้โกหก

ต้องระวังซะหน่อย !


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2011-06-18 21:38:19


TOMORROW X TOGETHER
Renuka
#3
19-06-2011 - 01:31:11

#3 Renuka  [ 19-06-2011 - 01:31:11 ]





ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีมากๆ นะคะ

โอ้ววว อาหารเหรอ


make
#4
19-06-2011 - 08:30:46

#4 make  [ 19-06-2011 - 08:30:46 ]








ขอบคุณสำหรับความรู้


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2011-06-19 08:31:01

hningzazaoo1
#5
19-06-2011 - 08:35:08

#5 hningzazaoo1  [ 19-06-2011 - 08:35:08 ]





มีสาระดีนะครับ^^ อย่ากินแฮมเบอร์เกอร์กัน กินนมจืดดีกว่า ฮ่าๆ



All i wanna do
numneungza
#6
02-07-2011 - 08:58:05

#6 numneungza  [ 02-07-2011 - 08:58:05 ]




ไม่เคยกินแฮมเบอร์เกอร์เลย (< < <เพราะกลัว)

ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้ จะได้ระวัง



I don't care if heaven won't take me back.
pivot X
#7
02-07-2011 - 15:17:35

#7 pivot X  [ 02-07-2011 - 15:17:35 ]




จะไปกินพอดี


  • 1

ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก
ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก



ข้อมูลเมื่อ 15th November 2024 21:05

โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ