โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ
มาช่วยหน่อยค่าา
alicza
#1
02-08-2011 - 13:24:47

#1 alicza  [ 02-08-2011 - 13:24:47 ]





เราจะเขียนสตอรี่บอร์ดอ่ะ ช่วยหน่อย ไครช่วยได้เอาไปเลย +1 x2


ืpokka
#2
02-08-2011 - 16:33:18

#2 ืpokka  [ 02-08-2011 - 16:33:18 ]




เป็นยังไงคะสตอรี่บอร์ด



...
alicza
#3
02-08-2011 - 17:52:12

#3 alicza  [ 02-08-2011 - 17:52:12 ]





o_O ไม่รู้จักหรอ


The Witch
#4
02-08-2011 - 18:01:08

#4 The Witch  [ 02-08-2011 - 18:01:08 ]




ที่มาที่1

Storyboard คือการเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูด และแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏ ว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือ หนังขึ้นมาจริงๆ
ประโยชน์ของ Storyboard
Storyboard คือภาพร่างของช้อตต่างๆที่วาดลงในกรอบ โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการทำงานร่วมกันของคนเขียนบท ผู้กำกับภาพ และผู้กำกับ Storyboardจะช่วยให้ทีมงานทั้งหมดจินตนาการได้ว่าหนังจะออกมาหน้าตาเป็น อย่างไร พวกเขาต้องทำอะไรกันบ้างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามนั้น
ผู้อำนวยการสร้าง จะสามารถคำนวณงบประมาณที่จะใช้ในการถ่ายทำได้ Storyboardจะทำให้รู้ว่าหนังมีกี่ช้อต กี่โลเกชั่น ฉากใหญ่โตแค่ไหน มีเทคนิคหรืออุปกรณ์พิเศษมากน้อยเพียงใด
ผู้จัดการกองฯ รู้ว่าการถ่ายทำควรจะใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ต้องตระเตรียมอะไร ยังไงบ้าง
ผู้กำกับ และผู้ช่วยฯ สามารถวางแผนการแสดง หรือการเคลื่อนที่ของนักแสดง ในทิศทางต่างๆได้
ผู้กำกับภาพหรือตากล้อง รู้ว่าจะต้องทำงานอย่างไร ถ่ายทำด้วยขนาดภาพใดซึ่งมีผลต่อการเลือกใช้เลนส์ รู้วิธีการเคลื่อนกล้อง และสามารถวางแผนการใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆได้ เช่น ดอลลี่ เครน ฯ
ฝ่ายศิลป์ รู้ว่าจะต้องจัดการกับฉากหรือโลเกชั่นมากน้อยเพียงใด ตามขนาดภาพที่ระบุไว้ในStoryboard
คนจัดแสง รู้ขอบเขตของการทำงานของตน
แม้แต่ผู้บันทึกเสียงและคนถือไมค์บูม ก็รู้ว่าเขาควรจะอยู่ในตำแหน่งไหนของกองถ่าย

3 สิ่งสำคัญที่อยู่ในStoryboard
1. Subject หรือCharacter ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือตัวการ์ตูน ฯ และที่สำคัญคือพวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร
2. กล้อง ทำงานอย่างไร ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพ และการเคลื่อนกล้อง
3. เสียง พวกเขากำลังพูดอะไรกัน มีเสียงประกอบ หรือเสียงดนตรีอย่างไร

หลายคนอาจจะกลัวว่าตัวเองวาดรูปไม่เก่งแล้วจะวาดStoryboardได้ อย่างไร อย่าลืมนะครับว่าStoryboardเป็นเพียงรูปที่วาดง่ายๆก็ได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดไอเดียว่าภาพจะออกมาเป็นบนจอภาพยนตร์ เรามาลองดูกันเถอะว่ามันมีขั้นตอนอะไรบ้าง รับรองว่าไม่ยากจริงๆ

สัดส่วนจอภาพ
อันดับแรกเราต้องสร้างกรอบภาพ ซึ่งมีสัดส่วนเดียวกับจอโทรทัศน์หรือจอภาพยนตร์ มีสัดส่วนที่แตกต่างกันไป เช่น 4:3 , 16:9 , 1.85:1 , 2.35:1 อันนี้ก็แล้วแต่ว่าเราจะถ่ายทำด้วยสัดส่วนเท่าไหร่ เอาไปใช้ที่ไหนยังไง เราอาจจะทำกรอบไว้เยอะๆก่อนเลยก็ได้ครับ เพื่อความรวดเร็วในการวาด

ขนาดภาพ
การถ่ายทำภาพยนตร์มีการใช้ขนาดภาพต่างๆ มักจะเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนโดยการอธิบายผ่านการถ่ายSubjectที่เป็นคน
ECU ( Extreme Close up ) ขนาดภาพใกล้สุดๆ ถ่ายทอดรายละเอียดเฉพาะส่วนของนักแสดง วัตถุ
CU ( Close up ) ขนาดภาพใกล้ เช่น เต็มใบหน้า เห็นสีหน้าและอารมณ์ที่แสดงอย่างชัดเจน
MCU ( Medium Close up ) ขนาดภาพปานกลางใกล้ ตั้งแต่หน้าอกขึ้นไป มองเห็นนักแสดงหรือวัตถุผสมกับบรรยากาศนิดหน่อย
MS (MIDIUM SHOT) ขนาดภาพปานกลาง ตั้งแต่สะโพกหรือเอวขึ้นไป นำเสนอท่าทางของนักแสดงมากกว่าอารมณ์และความรู้สึก เห็นบรรยากาศมากขึ้น
MLS (MEDIUM LONG SHOT) ขนาดภาพปานกลางไกล ตั้งแต่หน้าแข้ง เข่า หรือหน้าขาขึ้นไป เห็นการเคลื่อนไหว บุคลิกท่าทาง การกระทำของนักแสดง
LS (LONG SHOT) ขนาดภาพไกล เห็นนักแสดงตัวเล็กอยู่ในสภาพแวดล้อม
VLS (VERY LONG SHOT) ขนาดภาพไกลมาก เน้นให้คนดูเห็นสถานที่ บรรยากาศ หรือสภาพแวดล้อมเป็นหลัก
ELS (EXTREME LONG SHOT) ขนาดภาพไกลสุดๆ บอกเล่าสถานที่และบรรยากาศโดยรวม

การเคลื่อนกล้อง
เมื่อมีการเคลื่อนกล้อง หมายความว่าในหนึ่งช้อต ต้องมีเฟรมแรก และเฟรมสุดท้ายในการบันทึกภาพ การวาดStoryboardจึงไม่ใช่แค่การวาดภาพเฟรมๆเดียวหรือช่องเดียวแล้ว เราอาจจะต้องวาดภาพทั้งหมดที่กล้องจะเคลื่อนผ่าน เอาล่ะ แล้วค่อยดูกันต่อ แต่โดยทั่วไปสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนกล้องจะเป็นลูกศรใหญ่ หนา สีขาวทึบ การเคลื่อนของกล้องก็มีหลายลักษณะ เช่น
ZOOM คือการสร้างความเคลื่อนไหวของภาพด้วย‘เลนส์’ ซูมเข้าหรือZoom in คือการดึงภาพจากไกลเข้ามาใกล้ ซูมออกหรือZoom out คือการถอยภาพจากใกล้ออกไปเป็นภาพไกล
การวาดStoryboardที่มีการซูมภาพ อาจจะวาดเฟรมภาพซ้อนกันไว้ 2 ขนาด คือขนาดภาพก่อนซูม และหลังซูม แล้วใช้ลูกศรแสดงทิศทางการซูม
เห็นมั้ยครับ ดูภาพStoryboardแล้วจะรู้ได้ทันที่เลยครับว่า ต้องเริ่มถ่ายที่ขนาดภาพใด และจบที่ขนาดภาพใด
PAN ใครๆก็ไม่รักผม ขนาดพัดลมยังส่ายหน้าเลย... ไม่ได้น้อยใจอะไร แค่อยากให้นึกออกง่ายๆว่าการแพนนั้นก็คือคือการหันกล้องไปทางซ้ายหรือขวา เหมือนพัดลมส่ายหน้า เรียกว่าแพนซ้าย-Pan Left หรือแพนขวา-Pan Right
การ แพนทำให้การบันทึกภาพกินพื้นที่กว้างขวางออกไปทางด้านข้าง ดังนั้นในการวาดStoryboard เราอาจจะต้องวาดภาพที่กว้างกว่าเฟรมเดียว ก็หลักการเดียวกันกับการซูมนั่นแหละครับ คือวาดเฟรมภาพก่อนแพน และเฟรมหลังแพนเสร็จ

TILTจะว่าไปมันก็คือการแพนขึ้น-ลงในแนวดิ่งนั่นเอง แต่จะเรียกว่าTilt UP หรือTilt Down การบันทึกภาพจะกินพื้นที่เพิ่มไปทางด้านบน-ล่าง การวาดStoryboardก็จะต้องวาดภาพที่เพิ่มขึ้นในแนวดิ่ง

DOLLY / TRACK คือการเคลื่อนกล้องจากเฟรมหนึ่งไปยังอีกเฟรมหนึ่งด้วยล้อเลื่อน การเคลื่อนกล้องไปทางด้านข้าง เรียกว่า Dooly Left หรือ Track Left ส่วนการเคลื่อนกล้องไปข้างหน้าเข้าหาวัตถุ Dolly In หรือ Track In การวาดลูกศรในStoryboard จะคล้ายกับการแพน แต่เพื่อความชัดเจนและเพื่อสร้างความรู้สึก เราอาจจะวาดลูกศรให้ยาวขึ้น และนิยมวาดให้มีลูกศรดูมีระยะ มีPerspectiveของลูกศรด้วย

CRANE คือการนำกล้องไปติดตั้งบนแขนปั้นจั่น(ดิกชันนารีเค้าแปลว่ายังงั้น) และเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง จากมุมต่ำไปมุมสูง เรียกว่าCrane Up หรือจากมุมสูงลงมามุมต่ำ เรียกว่า Crane Down การวาดลูกศรในStoryboard จะคล้ายกับการทิลท์ แต่อาจจะวาดลูกศรให้ยาวขึ้น หรือวาดตามวงสวิงของแขนเครนตามที่ออกแบบไว้ก็ได้ครับ

JERKกล้องสั่น! เป็นการเคลื่อนกล้องอีกแบบหนึ่งที่น่าวาดไว้ในStoryboard เพราะจะทำให้ตากล้องและทีมงานรู้วิธีการทำงานได้ง่ายขึ้นมากกว่าการวาดเฟรม นิ่งๆ การวาดขอบเฟรมซ้อนเหลื่อมกันหลายๆชั้น จะช่วยแสดงความรู้สึกสั่นหรือแกว่งไกวของภาพได้

การเชื่อมภาพ
การเปลี่ยนภาพจากช้อตหนึ่งไปสู่ช้อตหนึ่ง หรือระหว่างฉากหนึ่งไปสู่อีกฉากหนึ่ง ก็สามารถวาดไว้ในStoryboardได้เหมือนกัน แม้ว่าปัจจุบันการตัดต่อทุกอย่างจะทำในคอมพิวเตอร์ แต่การเขียนTransitionไว้ในStoryboard มันก็ไม่เสียหายนะ

CUT คือการตัดชน เป็นวิธีพื้นฐานและใช้บ่อยที่สุด ปกติในStoryboardก็จะมีการแบ่งเฟรมภาพเป็นช่องๆ ซึ่งหมายถึงการตัดชนธรรมดา บางคนอาจจะไล่จากซ้ายไปขวาแล้วขึ้นแถวใหม่ หรือบางคนอาจจะไล่จากบนลงล่าง แล้วขึ้นคอลัมน์ใหม่ก็ได้ แล้วแต่ถนัด
DISSOLVE ภาษาไทยใช้คำว่า ‘การจางซ้อน’ เป็นการละลายภาพ 2 ภาพให้มาแทนที่กัน มักใช้สื่อความหมายว่าเวลาได้ดำเนินผ่านไปเล็กน้อย การวาดStoryboardเพื่อให้รู้ว่า 2 ช้อตนี้จะDissolveเข้าหากัน ทำได้โดยวาดเครื่องหมายกากบาทไขว้
LONG TAKE คือการถ่ายภาพต่อเนื่องเป็นช้อตเดียวโดยไม่คัท ปกติถ้าการแสดงไม่มากก็อาจจะวาดเพียงช่องเดียว แต่บางครั้งการแสดงนั้นเปลี่ยนไป เช่น เปลี่ยนท่าทาง เปลี่ยนบล็อคกิ้ง มีตัวละครเพิ่ม ฯ การวาดStoryboardโดยให้รู้ว่านี่เป็นช้อตต่อเนื่องกัน ไม่คัท อาจจะทำได้โดยการวาดช่องใหม่ แต่ให้ขอบเฟรมติดกัน เป็นการบอกว่านี่คือการถ่ายแบบต่อเนื่อง

การเคลื่อนไหวของนักแสดง
บางครั้งStoryboardที่เป็นภาพนิ่งๆ ก็อาจจะเล่าเรื่องได้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อนักแสดงหรือวัตถุมีการเคลื่อนไหว จึงนิยมวาดลูกศรเพื่ออธิบายทิศทางการเคลื่อนไหวนั้น โดยใช้ลูกศรสีดำ เส้นบาง

ต่อไปนี้เวลาเพื่อนๆพี่ๆน้องๆจะถ่ายหนังสั้นหนังอิสระ ก็ลองวาดStoryboardใช้กันดูนะครับ ที่นำมาฝากในวันนี้ก็เพื่อเป็นแนวทางให้วาดกันคล่องขึ้น แต่ถ้าไปเห็นStoryboardที่อื่นไม่ใช่หน้าตาแบบนี้ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ บางที...สูตรใคร ก็สูตรใครครับ


ที่มาที่ 2

บทภาพ (storyboard) คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพ ประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย



โดยสตอรี่บอร์ดจะประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้


• ตัวละครอะไรบ้างอยู่ในซีน ตัวละครหรือวัตถุเคลื่อนไหวอย่างไร

• ตัวละครมีบทสนทนาอะไรกันบ้าง

• ใช้เวลาเท่าไหร่ระหว่างซีนที่แล้วถึงซีนปัจจุบัน

• ใช้มุมกล้อง ใช้กล้องอะไรบ้างในซีนนั้นๆ ใกล้หรือไกล หรือใช้มุมอะไร





เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง



ตัวอย่างสตอรี่บอร์ด

การจัดทำสตอรี่บอร์ด

ประโยชน์ของสตอรี่บอร์ด


ที่มา : FILM LOVRE

สำหรับการจัดทำสตอรี่บอร์ด นั้นส่วนมากจะใช้การวาดด้วย ปากกาหรือดินสอ แต่ถ้าหากคุณไม่ชอบการวาด คุณอาจใช้การถ่ายภาพ หรือจากการตัดภาพจากหนังสือ แม็กกาซีน หรือใช้คอมพิวเตอร์ในการวาดก็ได้ โดยสาระสำคัญอยู่ที่ การวางแนวคิดในการสื่อสารให้ชัดเจนที่สุด การทำให้ดูง่ายและเข้าใจ ใช้ลายเส้นง่ายๆ พื้นหลังเรียบๆ














แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2011-08-02 18:02:35

  • 1

ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก
ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก



ข้อมูลเมื่อ 21st November 2024 07:52

โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ