โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ
ขยะมูลฝอย
nantiya1558
#1
28-10-2011 - 09:53:29

#1 nantiya1558  [ 28-10-2011 - 09:53:29 ]




ปัจจุบัน วิทยาการก้าวหน้า ประชากรเพิ่มอย่างรวดเร็ว อัตราการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นเพื่อผลิตเครื่องอุปโภค บริโภค อาหาร ที่อยู่อาศัย เป็นเหตุให้เศษสิ่งเหลือใช้มีปริมาณมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาของขยะมูลฝอย

ขยะ หรือ มูลฝอย หรือ ของเสีย เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และ มีผลต่อสุขภาพอนามัย มูลฝอยหรือของเสียกำลังมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี เพราะสาเหตุจากการเพิ่มของประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจและทางอุตสาหกรรม นับเป็นปัญหาที่สำคัญของชุมชนซึ่งต้องจัดการและแก้ไข ปริมาณกากของเสียและสารอันตราย ได้แก่ ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ ดิน และอากาศ ตลอดจนบางส่วนตกค้างอยู่ในอาหาร ทำให้ประชาชนทั่วไปเสี่ยงต่ออันตรายจากการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง และ โรคผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นต้น

สถานที่บางแห่งก็มีคนทิ้งขยะกันตามสะดวก โดยนำไปเทกองรวมกันไว้ริมทางเดินบ้าง โคนต้นไม้บ้าง ทำให้มีการหมักหมมเน่าเปื่อยสิ่งกลิ่นเหม็นคลุ้ง บางครั้งอาจมองเห็นหนอนจำนวนมากมายไต่ยั้วเยี้ยออกมาจากกองขยะ ดูน่าขยะแขยง นอกจากนั้นกองขยะยังเป็นแหล่งชุมนุมของสัตว์นำโรคสารพัดชนิด เช่น ยุง แมลงวัน หนู แมลงสาบ ฯลฯ ยามที่ฝนตกลงมาน้ำฝนก็ชะเอาสิ่งสกปรกเน่าเหม็นในกองขยะไหลไปยังพื้นที่ใกล้เคียง และอาจจะไหลลงท่อระบายน้ำ และแม่น้ำลำคลองใกล้ ๆ อีกด้วย

การทิ้งขยะลงท่อระบายน้ำทำให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรง คือ ทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน เมื่อฝนตกก็ไม่สามารถระบายน้ำฝนได้ จึงเกิดสภาพน้ำท่วมขังตามถนนสายต่าง ๆ ตามตรอกซอกซอย และผลที่ตามมาก็คือ การเดินทางไปมาตามเส้นทางเหล่านั้นลำบากขึ้น การจราจรก็ติดขัดและถนนหนทางอาจจะได้รับความ เสียหาย ซึ่งเมื่อน้ำลดลงสู่สภาพปกติก็ต้องซ่อมแซมใหม่ ทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ

บ้านเรือนที่มีขยะมูลฝอยรกรุงรังอยู่ภายในบ้านเรือนบริเวณบ้าน นอกจากจะดูสกปรกไม่น่าดูอยู่แล้ว ก็ยังเป็นที่ชุมนุมของหนู แมลงวัน แมลงสาบ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคทางเดินอาหารมาสู่คน และยังก่อความรำคาญให้อีกด้วย

ขยะในกรุงเทพฯ ทุกวันนี้กองท่วมเป็นภูเขาเลากา ตั้งแต่กองขยะรามอินทรา อ่อนนุช และหนองแขม จะกำจัดขยะอย่างไรก็ไม่ไหว เพราะมันหนักหนาสาหัสเหลือเกิน วัน ๆ หนึ่งมีขยะมากถึงวันละ 8,240 ตัน มีทั้งสิ่งที่ย่อยสลายได้ อย่างเศษดิน ใบตอง ผักหญ้าสารพัดสารพัน และสิ่งย่อยสลายไม่ได้ซึ่งอาจจะมีทั้งพิษติดมาหรือไม่มีพิษก็ตาม

ซึ่งขยะพิษเป็นตัวอันตรายที่ถูกทิ้งปนมากับขยะบ้าน มีตัวเลขมากถึงวันละ 21.7 ตันว่ากันว่าขยะพิษมีแหล่งที่มาจาก 2 ทางด้วยกันคือ จากเศษวัสดุเหลือใช้ตามบ้านเรือน กับจากโรงงานอุตสาหกรรม ตัวอย่างของขยะพิษที่เห็นกันอยู่ ก็มี ถ่านไฟฉาย หลอดนีออน กระป๋องยาฆ่าแมลง เศษกระป๋องสี ทินเนอร์ โลหะชุบ โครเมียม หรือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อันหลังนี้เป็นการกระทำที่ผิดไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง คือ โรงงานอุตสาหกรรม ลักลอบเอาขยะพิษของตนมาปนกับขยะบ้าน โดยเฉพาะในเขต กทม. พวกขยะอันตรายที่สร้างพิษนี้ เมื่อมันถูกทิ้งไว้ตามกองขยะดังที่กล่าวมาแล้ว หากไม่มีการกำจัดที่ถูกที่ควร สารพิษในขยะพิษเหล่านั้นก็จะย่อยสลายเจือปนไปกับน้ำขยะ ไหลซึมลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง รวมถึงแหล่งน้ำใต้ดินด้วย การหมุนเวียนของน้ำก็ไหลย้อนกลับไปกลับมา ในที่สุดจะหวนกลับสู่ พวกเราอย่างหลีกเลี่ยงเลยไม่ได้เลย

ยังพบอีกด้วยว่า สุขภาพของเด็กและคนในท้องถิ่นป่วยเป็นโรคผิวหนัง โดนสารพิษถึงขั้นบางคนพิการทางสมอง เป็นผลร้ายที่เกิดโดยตรงจากแหล่งน้ำ จากบ่อ หรือลำคลอง เพราะเมื่อก่อนละแวกนั้น ๆ ไม่มีน้ำประปาใช้ พวกเขาก็ต้องใช้น้ำตามธรรมชาติ

สารพิษมีปนอยู่ในขยะตลอด เช่น โลหะหนักมี ปรอท ตะกั่ว สารหนู ไซยาไนด์ แมงกานีส แคดเมียม ฯลฯ สารพิษนี้เราก็รู้อยู่แล้วว่าเมื่อเข้าไปสู่ร่างกายเมื่อใดก็จะเกิดโรคตามมา เช่น มะเร็งผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ ปวดกระดูก ลำไส้อักเสบ หรืออาจถึงขั้นเป็นอัมพาต

ปริมาณขยะ “ บ้าน ” ของ กทม. มีแนวโน้มมากขึ้น คาดว่าจะเพิ่มเป็นหนึ่งหมื่นกว่าตันในปี 2545 หากยังใช้วิธีกำจัดด้วยการเทกองไว้กลางแจ้ง หรือฝังกลบแบบเดิมแล้ว รับรองร้อยทั้งร้อยสารพิษจากขยะ ก็ต้องแพร่อันตรายกระจายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติมากขึ้น

ทางมูลนิธิป้องกันควันพิษฯ เห็นว่า หากจะกำจัดขยะบ้านเรือนด้วยการฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ เราต้องช่วยกันแยกขยะอันตรายออกจากขยะบ้านเสียก่อน และการฝังนั้นจะต้องปูด้วย1 วัสดุรองพื้นที่ได้มาตรฐาน มีการผนึกรอยต่อเพื่อการรั่วซึมของน้ำขยะ ส่วนการเผาก็เป็นไปได้ เพราะกำจัดได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ กำจัดแหล่งเชื้อโรค และแหล่งกำเนิดมลพิษ แต่ที่สำคัญวิธีเผานี้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีอื่น

ขยะมูลฝอย คือ ของเหลือทิ้งจากขบวนการผลิตและการใช้สอยมนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาของโลกสมัยใหม่ การเติบโตของเมืองที่มีขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว อาจจะมีขยะมูลฝอยที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด เช่น มูลฝอยจากบ้านเรือน ส่วนใหญ่จะเป็นเศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและการบริโภค รวมทั้งเศษอาหาร พลาสติก และ ของที่ไม่ใช่แล้ว มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรมก็มีลักษณะต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงตามประเภทของอุตสาหกรรมนั้น ๆ มูลฝอยที่ถูกทิ้งอยู่ตามถนน แม่น้ำ ลำคลอง ที่สาธารณะต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นใบไม้ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก เศษดิน เป็นต้น ซึ่งมูลฝอยเหล่านี้หากไม่กำจัดอย่างถูกวิธี นอกจากจะทำให้ชุมชนขาดความสะอาดเรียบร้อย จนเป็นที่น่ารังเกียจแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย เช่น การปนเปื้อนของแหล่งน้ำและการปนเปื้อนของอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรค ตลอดจนก่อให้เกิดความรำคาญต่าง ๆ จากกลิ่นฝุ่น ตลอดจนเป็นต้นเหตุของอัคคีภัยได้อีกด้วย

จากสภาพที่เป็นมาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ขยะมูลฝอยจึงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดความสกปรกและความไม่เป็นระเบียบของบ้านเมือง การกำจัดขยะมูลฝอยของ กทม. เขตเทศบาล ตลอดจนสุขาภิบาล ส่วนใหญ่ยังเป็นการกำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีกองบนพื้น ซึ่งเป็นวิธีการกำจัดมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีมูลฝอยเพียงส่วนน้อยที่ถูกนำไปกำจัดโดยวิธีการกำจัดโดยวิธีการหมักทำปุ๋ยและวิธีเผาในเตาเผา ปัจจุบันพบว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับดำเนินงานเก็บรวบรวมและ กำจัดมูลฝอยของชุมชน ต่าง ๆ ทั่วประเทศจะตกประมาณ 200 – 400 บาท / ตัน ของมูลฝอยที่เก็บขนมาได้ นอกจากนี้ท้องถิ่น ส่วนใหญ่ยังขาดการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญในด้านต่าง ๆ รวมทั้งยังไม่มีการวางแผนในการจัดการอย่างรัดกุม

การที่ขยะล้นเมือง ส่งกลิ่นเหม็นและเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ย่อมเกิดผลกระทบต่อสุขภาพกายและ สุขภาพจิตของประชาชนโดยตรง อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจด้วย และเมื่อกล่าวถึงปัญหาขยะ หลายคนมักจะมองว่าเป็นหน้าที่ของเทศบาล หรือคนเก็บขยะ โดยลืมคิดไปว่าผู้ที่เป็นสาเหตุให้เกิดขยะนั่นคือ ตัวเรา ในกรุงเทพมหานคร มีปริมาณขยะที่ต้องขนไปกำจัดประมาณวันละ 5 พันกว่าตัน นับเป็นภาระมหาศาลต่อเงินภาษีอากรที่ต้องนำไปใช้ในการกำจัดขยะและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร

การกำจัดขยะ ไม่ว่าโดยวิธีใด ย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะในบ้านเราไม่ได้มีการแยกขยะอันตรายที่มีสารเคมีและโลหะหนักออกไปกำจัดให้ถูกต้อง ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน การหาวิธีกำจัดขยะในรูปแบบต่าง ๆ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเหมือนการระดมคนมากวาดถนนหรือใช้รถดูดฝุ่น เพราะ “ กวาดเท่าไหร่ก็ไม่หมด ถ้าไม่งดทิ้งขยะ ” แต่สำหรับการกำจัดขยะให้ได้ผล ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ " คน "ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดขยะ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

การเติบโตของระบบอุตสาหกรรมเปรียบเสมือนดาบสองคมที่ก่อให้เกิดประโยชน์และโทษมหาศาลตั้งแต่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 5 เป็นต้นมา จะมุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมเป็นผลให้โรงงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้น ผลพวงเหล่านี้ก่อให้เกิดขยะปริมาณมหาศาลส่งผลให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง เกิดการพอกพูนของปัญหาการกำจัดขยะทิ้งจากชุมชนและอุตสาหกรรม

ขยะและสิ่งปฏิกูลนับว่าเป็นปัญหาของสังคมสมัยใหม่ ทั้งที่เป็นสังคมเมืองและสังคมอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้นอกจากขยะและสิ่งปฏิกูลจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นแล้ว ขยะและสิ่งปฏิกูลเหล่านั้นยังคงมีความเน่าเสีย หรือความเป็นพิษต่อระบบนิเวศน์ และต่อสุขภาพอนามัยที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น สมัยก่อนขณะที่บ้านเมืองยังไม่ได้พัฒนา ประชาชนยังมีจำนวนอยู่น้อย และอยู่กระจัดกระจายทั่วไป การทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลก็มิได้มีการเก็บอย่างเป็นระบบเช่นในปัจจุบัน ประชาชนมักจะทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลลงพื้นดิน บริเวณบ้าน ในที่สาธารณะ และในแหล่งน้ำต่าง ๆ เนื่องจากปริมาณขยะมีน้อยจึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติหรือระบบนิเวศน์ เพราะขยะและสิ่งปฏิกูลจะถูกย่อยสลายหรือถูกดูดซึมเข้าไปกับธรรมชาติ นอกเสียจากในบางครั้งเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นก็อาจก่อเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ในบางช่วงเวลาเท่านั้น

เมื่อประชาชนเข้ามาอยู่รวมกันเป็นชุมชน เป็นเมืองและมีการพัฒนาทางด้าน อุตสาหกรรม ขยะและสิ่งปฏิกูลจึงถูกจำกัดที่ให้ทิ้ง กล่าวคือต้องทิ้งในที่รองรับขยะและสิ่งปฏิกูลที่จัดขึ้น แล้วจึงมีผู้ดำเนินการนำขยะไปเผา ไปกองรวมกันไว้หรือนำไปกำจัดด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ การดำเนินการจัดเก็บขยะและสิ่งปฏิกูลมิใช่จะกระทำได้โดยง่าย เมื่อปริมาณขยะมีมาก ก็จำเป็นต้องใช้พาหนะในการขนย้ายสิ่งปฏิกูลเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย แต่เมื่อชุมชนเมืองอยู่กันอย่างแออัด ซับซ้อน การจราจรคับคั่ง การจัดเก็บขยะและสิ่งปฏิกูลจึงทำได้ยากลำบาก

นอกจากนี้จะต้องมีความระมัดระวังในการเก็บขยะและสิ่งปฏิกูลที่เรียกกันว่า “ ขยะติดเชื้อ ” ที่มีอยู่ตามสถานพยาบาลต่าง ๆ แล้ว สถานที่ที่จะใช้เก็บรวมขยะและสิ่งปฏิกูลยังเพิ่มปัญหามากยิ่งขึ้น คือ เมื่อที่ดินในเมืองหลวงกลายเป็นที่อยู่อาศัยหรือชุมชนไปจนหมดทำให้ไม่มีที่ดินที่จะนำขยะไปเก็บรวบรวมไว้ หรือหาที่ดินได้ก็อยู่ห่างไกลจากบริเวณที่มีขยะและสิ่งปฏิกูล และแม้จะได้นำขยะและสิ่งปฏิกูลออกมาจากอาคารบ้านเรือนชุมชน ได้แล้ว การนำขยะและสิ่งปฏิกูลมาไว้กองรวมกันก็ยังก่อให้เกิดสารพิษ ความเน่าเสียให้กับแหล่งน้ำที่ดิน และ บ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียง การจัดเก็บขยะและสิ่งปฏิกูลตลอดจนการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลที่เก็บได้ จึงนับเป็นกรรมวิธีที่สำคัญที่จะไม่ทำให้มีขยะและสิ่งปฏิกูลหลงเหลืออยู่ในบ้านเรือนและชุมชน และไม่ทำให้ขยะและสิ่งปฏิกูลเหล่านั้น มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ซึ่งการจัดการในเรื่องขยะและสิ่งปฏิกูล ดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงมากในปัจจุบัน

ขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น ในสังคมที่มีการใช้ทรัพยากรมากเท่าใด ปริมาณขยะมูลฝอยก็จะยิ่งเกิดขึ้นมากตามไปด้วย โดยที่ขยะมูลฝอยจะเกิดจากเศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ เสื้อผ้า และเศษวัสดุทุกชนิด เช่น กระดาษ ขวด กระป๋อง พลาสติก ฯลฯ ที่เกิดขึ้นจากครัวเรือนในแต่ละวัน จาก สถิติ ปริมาณขยะมูลฝอยในกรุงเทพมหานครจะเกิดขึ้นวันละประมาณ 5,500 – 6,000 ตัน กรุงเทพมหานครไม่จัดสามารถเก็บไปได้ไม่หมด ส่วนที่เหลือจะถูกทิ้งไว้ตามบ้านเรือน บนถนน ในแหล่งน้ำ ท่อระบายน้ำ ในที่ดินว่างเปล่า ฯลฯ ซึ่งบางส่วนก็จะแห้งหรือย่อยสลายไปตามธรรมชาติ และบางส่วนก็จะถูกชะล้างด้วยน้ำ-น้ำฝน กลายเป็นสิ่งปฏิกูลหมักหมมอยู่ในที่ต่าง ๆ ไหลซึมลงสู่ใต้ดิน และแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น หนอง บึง ลำคลอง และแม่น้ำต่อไป ส่วนขยะที่กรุงเทพมหานครเก็บได้จากอาคารบ้านเรือน ร้านค้า ตลาด โรงพยาบาล ศูนย์การค้า ฯลฯ ในแต่ละวันประมาณ 5,000 ตันนั้น จะใช้รถเก็บขยะประมาณ 1,000 ตัน ต่อวันออกเก็บ โดยที่ขยะส่วนหนึ่ง คือ ประมาณวันละ 1,000 ตัน จะถูกนำไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์นำไปเผาในเตาเผาขยะ และนำไปเข้ากระบวนการกำจัดในโรงงานของกรุงเทพมหานคร ที่ซอยอ่อนนุช รามอินทรา และหนองแขม ส่วนขยะมูลฝอยอีก 4,000 ตัน จะนำไปเทกองไว้กลางแจ้ง ให้ขยะย่อยสลายไปตามธรรมชาติโดยนำไปเทกองไว้ที่บริเวณโรงงานกำจัดขยะซอนอ่อนนุช 1, 2 ที่เขตบางเขน เพื่อให้ขยะถูกย่อยสลายไปตามธรรมชาติต่อไป ที่นำไปกองไว้กลางแจ้งนั้น นอกจากจะมีกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคแล้ว ขยะที่นำไปกองไว้จะเป็นขยะเปียกรวม อยู่ด้วย และเมื่อขยะทั้งหมดถูกน้ำฝนตกลงมาก็จะทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย มีกลิ่นเหม็น ไหลซึมลงใต้ดิน และไหลไปตามผิวดินลงสู่แม่น้ำ เช่น หนอง บึง ลำคลอง และแม่น้ำในที่สุด

ในขณะที่การเก็บขยะมูลฝอยในกรุงเทพมหานครยังไม่สามารถกระทำได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะทำให้มีขยะ หลงเหลืออยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ทุกวัน วันละประมาณ 1,000 ตัน การทิ้งขยะมูลฝอยก็ยังเป็นปัญหานื่องจากขาดแคลนพื้นที่สำหรับนำขยะไปรวมทิ้ง ที่ทิ้งขยะอยู่ห่างไกลจากจุดเก็บต้องใช้เวลานำไปทิ้งมากเกินไป มีการหยุดรถเก็บขยะระหว่างทางเพื่อส่งวัสดุจากกองขยะไปจำหน่าย โรงงานกำจัดหรือแปรรูปขยะเป็นปุ๋ยหมัก ทำงานได้ไม่เต็มที่ และสภาพการตั้งบ้านเรือน ชุมชนในตลาด ซอกซอย ในสวน ริมลำน้ำ ทำให้รถบริการเก็บขยะเข้าไปไม่ทั่วถึง ดังจะเห็นได้ว่าปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครนั้น นับวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเนื่องมา แต่การเพิ่มขึ้นของประชากรในกรุงเทพมหานคร และเนื่องจากปริมาณการใช้สิ่งของเครื่องใช้ ทั้งที่เป็นพวกอุปโภค บริโภคที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในแต่ละคน โดยที่ปัจจุบันได้มีการคำนวณไว้ว่า คนกรุงเทพมหานครเป็นผู้สร้างขยะมูลฝอยวันละประมาณ 600 – 1,200 กรัมต่อคน และถ้ารวมถึงสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นจากอุจจาระ ปัสสาวะ ( ไม่รวมกิจวัตรอื่น ๆ เช่น อาบน้ำ ซักผ้า ชำระล้างทำความสะอาด ) ที่เกิดขึ้นประจำวันแล้วน่าจะพอคำนวณได้ว่า ในแต่ละวันนั้นคนกรุงเทพมหานครจะก่อให้เกิดขยะและสิ่งปฏิกูล ได้วันละประมาณ 2 กิโลกรัม

การเก็บขนมูลฝอยไปกำจัดในกรุงเทพมหานครและในชุมชนเขตเทศบาลและสุขาภิบาลต่าง ๆ ทำได้ประมาณร้อยละ 80 – 90 ของมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั้งหมด การกำจัดมูลฝอยโดยวิธีการฝังกลบ หมักทำปุ๋ย เผากลางแจ้ง และการกองบนพื้น ซึ่งการเผากลางแจ้งก่อให้เกิดควัน และการกองบนพื้นจะเกิดปัญหาในเรื่องของกลิ่น แมลงวัน การทำให้น้ำเสีย ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงต้องร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะมีผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากนี้คงจะสังเกตได้ว่าขยะและสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แม่น้ำลำคลอง ในกรุงเทพมหานครเน่าเสีย โดยเฉพาะความเน่าเสียของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดนนทบุรีลงมาจนถึงอ่าวไทย อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมอย่างหนักในฤดูแล้ง ทั้งมีแนวโน้มว่าความเสื่อมโทรมคุณภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาจะขยายเพิ่มขึ้นไปถึงจังหวัดปทุมธานี โดยที่ชาวกรุงเทพมหานครทุกคนและผู้อยู่อาศัยริมลำน้ำล้วนมีส่วนเป็นผู้ก่อให้เกิดขยะปฏิกูล และความเน่าเสียของน้ำโดยทั่วหน้ากัน

เหตุที่ขยะมูลฝอยถูกจัดเป็นภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อมอีกอย่างหนึ่ง เพราะขยะมูลฝอยคือ สิ่งปฏิกูลที่เป็นของแข็ง โดยทั่วไปมักจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้หลายประการ เช่น ทำให้เกิดความสกปรกในดิน น้ำ อากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและแมลงวัน เสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความรำคาญ ทำให้เกิดทัศนอุจาด ชุมชนขาดความสง่า
 1086940

winself
tunchanok204

nantiya1558
#2
28-10-2011 - 09:53:58

#2 nantiya1558  [ 28-10-2011 - 09:53:58 ]




ดันๆๆๆ


winself
#3
28-10-2011 - 10:00:26

#3 winself  [ 28-10-2011 - 10:00:26 ]






ขอบใจจ้าได้ความรู้เยอะเลย


Pornpun
#4
29-10-2011 - 19:51:11

#4 Pornpun  [ 29-10-2011 - 19:51:11 ]




เอารูปเรามาอีกแล้ว!



.
อะไรเนื่ย_อะไรกัน
#5
อะไรเนื่ย_อะไรกัน
29-10-2011 - 19:56:03

#5 อะไรเนื่ย_อะไรกัน  [ 29-10-2011 - 19:56:03 ]






อ่านไม่หมดค่ะ มึนนนนนน

แต่ยังไงก็ความรู้ ขอบคุณนะคะ


HaHaHa FoTo
#6
29-10-2011 - 20:00:35

#6 HaHaHa FoTo  [ 29-10-2011 - 20:00:35 ]







เอาขยะมาrecycleทำเป็น..........................................

ไม่รู้อ่ะ



นานๆเข้าที
patzy123
#7
29-10-2011 - 20:15:34

#7 patzy123  [ 29-10-2011 - 20:15:34 ]





โห -0-



  • 1

ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก
ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก



โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ