หนังสือพิมพ์วอลสตรีต เจอร์นัลรายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากการประกวดสุดยอดข้าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานการประชุมข้าวโลก ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19-21 ต.ค. ที่เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม โดยในปีนี้ คณะกรรมการได้จากข้าวกว่า 30 สายพันธุ์ที่ส่งเข้าประชันงานประกวดข้าว โดยเกณฑ์การตัดสินข้าวจะพิจารณาจากรสชาติ สี และคุณภาพของตัวข้าวเป็นสำคัญ การประกวดที่เริ่มเมื่อ 2 ปีก่อน ภายใต้การสนับสนุนของไรซ์ เทรดเดอร์ส องค์การที่ปรึกษาข้าวระดับโลก โดยข้าวหอมมะลิของไทยได้ครองตำแหน่งสุดยอดข้าวไปครองติดต่อกันใน 2 ปีแรก ขณะที่ในปีนี้โดยตัดสินให้ข้าว "Pearl Paw San" จากประเทศพม่า ได้ตำแหน่งชนะเลิศไปครอง
นายไมเคิล ครอส พ่อครัวจากสถาบันด้านศิลปะการทำอาหาร เลอ กอร์ดอง เบลอ จากเมืองซาเครเมนโต สหรัฐฯ กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินข้าวหลากหลายสายพันธุ์ โดยพิจารณาถึงคุณสมบัติของตัวข้าวเป็นหลัก โดยไม่มีส่วนผสมอย่างอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้านนายเจเรมี สวิงเกอร์ ประธานสมาคมไรซ์ เทรดเดอร์ เปิดเผยว่า ผู้ผลิตข่าวทั่วโลกมักมีข้อถกเถียงกันมานานว่า ใครเป็นเจ้าของสายพันธุ์ข้าวที่มีรสชาติดีที่สุด และในบางชาติ นั่นอาจถือเป็นความภูมิใจของชาติ อีกทั้งข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ต่างก็มีความพิเศษเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร โดยข้าวสายพันธุ์ที่พลาดแชมป์ไปอย่างฉิวเฉียดในปีนี้คือข้าวพันธุ์ Venere ซึ่งเป็นข้าวเม็ดสีดำที่ปลูกในอิตาลี และข้าวหอมมะลิจากไทย
นายอดัม แทนเนอร์ หัวหน้าพ่อครัวจากโรงแรมเชอราตัน ไซง่อน และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน ระบุว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เข้าร่วมการตัดสินรสชาติข้าวที่มีสายพันธุ์ที่หลากหลายและมีคุณสมบัติแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์ ทำให้การตัดสินข้าวแตกต่างจากการชิมเครื่องดื่ม อย่างชา หรือไวน์ แต่โชคดีว่าทางงานประกวดมีเกณฑ์ในการตัดสินเป็นแนวทางให้คณะกรรมการ
ทั้งนี้ หนึ่งในเกณฑ์ที่สำคัญก็คือกลิ่นหอมเฉพาะของข้าวแต่ละสายพันธุ์ โดยข้าวพันธุ์ใดที่ยังคงรักษากลิ่นหอมเฉพาะนั้นๆ ไว้ได้หลังจากที่ผ่านการหุงให้สุกแล้ว ก็จะได้รับคะแนนอย่างท่วมท้นจากคณะกรรมการนอกเหนือไปจากรูปลักษณ์ภายนอกที่ต้องบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ เมล็ดเต็มสมบูรณ์ และไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ
ด้านสมาคมอุตสาหกรรมข้าวพม่าเปิดเผยว่า ข้าวสายพันธุ์ Pearl Paw San ซึ่งชนะในการประกวดครั้งนี้ เป็นข้าวที่มีลักษณะเม็ดกลมหนา โดยมีความยาวประมาณ 5-5.5 มม. และเมล็ดข้าวจะมีขนาดยาวมากขึ้นกว่าเดิม 3-4 เท่าตัวเมื่อผ่านการหุงเรียบร้อยแล้ว และยังสามารถรักษากลิ่นหอมเฉพาะไว้ได้
ครอสและแทนเนอร์ เห็นว่า การที่ข้าวสามารถขยายขนาดได้เมื่อผ่านการหุง ความแน่นของตัวข้าวเมื่อเคี้ยวและผิวสัมผัสที่ดี ล้วนส่งให้ข้าวPearl Paw San ของพม่าเฉือนเอาชนะข้าวหอมมะลิของไทย และข้าวสีดำสายพันธุ์ Venere ของอิตาลีได้อย่างฉิวเฉียด
นายไมเคิล ครอส พ่อครัวจากสถาบันด้านศิลปะการทำอาหาร เลอ กอร์ดอง เบลอ จากเมืองซาเครเมนโต สหรัฐฯ กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินข้าวหลากหลายสายพันธุ์ โดยพิจารณาถึงคุณสมบัติของตัวข้าวเป็นหลัก โดยไม่มีส่วนผสมอย่างอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้านนายเจเรมี สวิงเกอร์ ประธานสมาคมไรซ์ เทรดเดอร์ เปิดเผยว่า ผู้ผลิตข่าวทั่วโลกมักมีข้อถกเถียงกันมานานว่า ใครเป็นเจ้าของสายพันธุ์ข้าวที่มีรสชาติดีที่สุด และในบางชาติ นั่นอาจถือเป็นความภูมิใจของชาติ อีกทั้งข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ต่างก็มีความพิเศษเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร โดยข้าวสายพันธุ์ที่พลาดแชมป์ไปอย่างฉิวเฉียดในปีนี้คือข้าวพันธุ์ Venere ซึ่งเป็นข้าวเม็ดสีดำที่ปลูกในอิตาลี และข้าวหอมมะลิจากไทย
นายอดัม แทนเนอร์ หัวหน้าพ่อครัวจากโรงแรมเชอราตัน ไซง่อน และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน ระบุว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เข้าร่วมการตัดสินรสชาติข้าวที่มีสายพันธุ์ที่หลากหลายและมีคุณสมบัติแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์ ทำให้การตัดสินข้าวแตกต่างจากการชิมเครื่องดื่ม อย่างชา หรือไวน์ แต่โชคดีว่าทางงานประกวดมีเกณฑ์ในการตัดสินเป็นแนวทางให้คณะกรรมการ
ทั้งนี้ หนึ่งในเกณฑ์ที่สำคัญก็คือกลิ่นหอมเฉพาะของข้าวแต่ละสายพันธุ์ โดยข้าวพันธุ์ใดที่ยังคงรักษากลิ่นหอมเฉพาะนั้นๆ ไว้ได้หลังจากที่ผ่านการหุงให้สุกแล้ว ก็จะได้รับคะแนนอย่างท่วมท้นจากคณะกรรมการนอกเหนือไปจากรูปลักษณ์ภายนอกที่ต้องบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ เมล็ดเต็มสมบูรณ์ และไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ
ด้านสมาคมอุตสาหกรรมข้าวพม่าเปิดเผยว่า ข้าวสายพันธุ์ Pearl Paw San ซึ่งชนะในการประกวดครั้งนี้ เป็นข้าวที่มีลักษณะเม็ดกลมหนา โดยมีความยาวประมาณ 5-5.5 มม. และเมล็ดข้าวจะมีขนาดยาวมากขึ้นกว่าเดิม 3-4 เท่าตัวเมื่อผ่านการหุงเรียบร้อยแล้ว และยังสามารถรักษากลิ่นหอมเฉพาะไว้ได้
ครอสและแทนเนอร์ เห็นว่า การที่ข้าวสามารถขยายขนาดได้เมื่อผ่านการหุง ความแน่นของตัวข้าวเมื่อเคี้ยวและผิวสัมผัสที่ดี ล้วนส่งให้ข้าวPearl Paw San ของพม่าเฉือนเอาชนะข้าวหอมมะลิของไทย และข้าวสีดำสายพันธุ์ Venere ของอิตาลีได้อย่างฉิวเฉียด
credit : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2305750