10 อันดับ สิ่งสกปรกที่ถูกใช้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน
หากนึกถึงสิ่งสกปรกรอบๆตัว หลายคนคงชี้ไปยังห้องน้ำ หรือไม่ก็ลูกบิดที่แสนจะไกลตัวซะเหลือเกิน แต่ที่แท้จริงแล้วมันใกล้มากกว่านั้น หรืออาจเป็นเพราะมันแนบชิดสนิทติดตัวซะจนเรามองข้ามมันไป มาดูกันว่า “รายงาน 10 อันดับสิ่งสกปรกที่ถูกใช้บ่อยมากที่สุด” นั้นมีอะไรบ้าง
10.ฟองน้ำล้างจาน < < ด้วยวัสดุและรูป ลักษณ์ของมันที่เต็มไปด้วยรูพรุนที่สามารถใหน้ำ อากาศ ออกซิเจน เศษอาหารเข้าไปอาศัยอยู่ จึงเป็นแหล่งชุมชนแออัดของเหล่าเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี วิธีทำความสะอาดง่ายๆก็คือ เอาไปต้มหรือให้ความร้อนผ่านไมโครเวฟซัก 60 วินาที
9.ซิ้งค์อ่างล้างจาน<<<<<<<เห็นสะอาดอย่างนี้ก็ใช่ว่าจะสะอาด ถึงจะไม่ได้ใช้บ่อยเท่าอย่างอื่น แต่มันเป็นบริเวณที่สกปรกที่สุดในบ้าน ซึ่งแต่ละตารางนิ้วนั้นมีเชื้อโรคอาศัยอยู่ถึง 500,000 ตัว วิธีทำความสะอาดขจัดคราบที่คู่ควรกับตัวเลขห้าแสนนี้ ก็คือ ใช้โซดาไฟหรือน้ำส้มสายชูราดทำความสะอาดมันซะ แล้วตามด้วยน้ำเปล่าตามไปอีกที
8.อ่างอาบน้ำ<<<<<<<<< อ่างอาบน้ำเป็นรังเพาะเชื้อโรคชั้นดีที่หลายคนมองข้ามไป รู้อย่างนั้นแล้วเราจึงควรทำความสะอาดมันสัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อย
7.รีโมททีวี<<<<<<<<อุปกรณ์บันเทิงประจำ ครัวเรือนที่เรามักจะลืมทำความสะอาดมัน ทั้งๆ ที่เราออกจะหยิบสอยใช้มันออกจะบ่อย ทำความสะอาดบ้านครั้งหน้าก็อย่าลืมหยิบรีโมทไปเช็ดถูกันบ้างนะ
6.ตะกร้าช้อปปิ้ง<<<<<<<<<<ห้างสรรพสินค้ามีทุกสิ่งให้คุณเลือกสรร ฉันใดก็ฉันนั้น ตะกร้าช้อปปิ้งในห้างก็มีทุกสิ่งให้เชื้อโรคเลือกที่จะอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะมาจากสินค้าที่อยู่ในห้างเอง เช่น ของสด ของแห้ง สารเคมี หรือมาจากมือของท่านผู้มีอุปการะคุณทุกท่าน ที่พึ่งจับราวบันไดเลื่อน หรือพึ่งออกมาจากห้องน้ำห้างมา
5.ฝาที่นั่งชักโครก<<<<<<<<<<<<<ความจริงมันน่าจะสกปรกได้มากกว่านี้รึเปล่า แต่รู้หรือไม่ว่าฝาที่นั่งชักโครกนั้นมีการออกแบบวัสดุและพื้นผิว ให้ง่ายต่อการทำความสะอาดและยากที่เชื้อโรคจะอาศัยอยู่ แถมเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญ ในการทำความสะอาดอยู่เสมอ (ไม่เอื้ออำนวยขนาดนั้นก็ยังติด 1 ใน 10) โดยรายงานระบุว่า ทุกตารางนิ้วบนฝานั่งชักโครกมีเชื้อโรคอาศัยอยู่ถึง 295 ตัว
4.โทรศัพท์มือถือ<<<<<<<<<<<<<<โทรศัพท์มือถือ เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ราคาแพงสำหรับเชื้อโรคเลยก็ว่าได้ ด้วยความเป็นพื้นที่สมบูรณ์ เพียบพร้อมไปด้วยปัจจัยความเจริญของเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิอุ่นๆ เหมือนร่างกายมนุษย์ที่เชื้อโรคชอบ พร้อมซอกซอยร่องหลืบง่ายต่อการกบดานหลบหนี พร้อมพรั่งด้วยโภชนาการและอาหารจากน้ำลายและขี้ไคลมนุษย์ ถ้าโทรศัพท์มีชีวิตเราอาจต้องพามันไปโรงพยาบาลเพื่อฉีดยาแทนที่จะไปมาบุญครองเพื่อไปซ่อมมันก็เป็นได้
3.คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<คนติดคอม ติดเนทหลายๆคน คงคุ้นชินกับพฤติกรรมการกินขนมขบเคี้ยว หรือแม้กระทั่งกินอาหารมื้อหลักหน้าจอคอมพ์ หรือแม้กระทั่งสาวๆเองที่ชอบหวีผมแต่งหน้าบนโต๊ะทำงาน เวลาว่างก็เม้าท์พ่นไฟแชทหน้าเวบแคม รู้หรือไม่ ว่าคีย์บอร์ดนั้นเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี โดยเฉพาะเศษอาหาร ผิวหนัง เหงื่อไคลต่างๆ ที่ผู้ใช้คอมทำตกลงไปในคีย์บอร์ดแล้วไม่ค่อยให้ความสนใจ เนื่องจากเพราะมันตกลงไปในร่อง ทำให้ยากต่อการมองเห็นว่าสกปรกและยากต่อการทำความสะอาด เป็นที่มาว่าทำไมจึงไม่มีใครสนใจ จะทำความสะอาดกันเท่าไหร่นัก จึงทำให้คีย์บอร์ดกลายเป็นแหล่งหมักหมมเพาะพันธุ์เชื้อโรคชั้นดี รายงานระบุว่าคีย์บอร์ดที่ได้รับการสำรวจนั้นสกปรกกว่าฝานั่งชักโครกถึง 40 เท่า แต่ถึงขนาดต้องใช้วิกซอลเข้มข้น 40 เท่าราดคีย์บอร์ดเพื่อทำความสะอาดด้วยรึเปล่ารายงานไม่ได้ระบุไว้
2.สวิตช์เปิด/ปิดไฟ<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<สุขภาพวันนี้…ต้องเล่นกับไฟ” วัตถุที่มนุษย์สัมผัสบ่อยมากเท่าไหร่ เชื้อโรคก็ชอบตามไปอยู่มากเท่านั้น โดยเฉพาะปุ่มสวิทปิดเปิดไฟที่ต้องกดกันอยู่ทุกวัน ผู้เชี่ยวชาญเผยทุกๆ ตารางนิ้วบนสวิตช์ไฟที่เราเอานิ้วไปโดน เชื้อโรคสามารถย้ายสำมโนครัวตามติดมือไปได้ถึง 217 ตัว
1.เงิน ได้แก่ ธนบัตร เหรียญ<<<<<<<<<<แบงค์ที่เราหยิบจ่ายซื้อของกันอยู่ทุกวันนี้ มีเชื้อโรคอยู่ประมาณ 135,000 ตัว ถึงจะเชื่อว่าใครๆก็อยากมีเงินเยอะๆ จะได้รวยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องสะสมเชื้อโรคไปตามความรวยด้วยนะ
โอ้วขอสุดท้ายเห็นแล้วไม่อยากรวยเลย555
จะอ่านเงาอ่านอะไรไม่ว่าหรอกนะคะ ขอให้ ให้ดาว ให้หัวใจดวงน้อยๆ โหวตกระทู้ให้หน่อย แค่นั้นก็ปราปปลื้มแล้วหล่ะ
10 อันดับสิ่งสกปรกที่ถูกใช้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน
ife | #1 06-03-2012 - 17:54:10 | ||||
|
ife | #2 06-03-2012 - 17:58:07 | ||||
|
|
nanaavril | #3 06-03-2012 - 17:58:47 | ||||
|
menarukka | #4 06-03-2012 - 18:01:17 | ||
|
|
ponza1144 | #5 06-03-2012 - 18:02:19 | ||||
|
ife | #6 06-03-2012 - 18:05:04 | ||||
|
ponza1144 | #7 06-03-2012 - 18:18:49 | ||||
|
- 1
ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้ |
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล] |