5 เพลงกล่อมเด็กโหดที่มาจากเรื่องจริง อันดับ 5. หนูตาบอดสามตัว (Three Blind Mice) (ไปฟังที่
http://www.youtube.com/watch?v=kPNC1WsVxdU) Three blind mice, three blind mice, (หนูตาบอดสามตัว หนูตาบอดสามตัว)
See how they run, see how they run, (ดูซิมันจะวิ่งอย่างไร ดูซิมันจะวิ่งอย่างไร )
They all ran after the farmer's wife, (มันวิ่งตามหลังภรรยาของชาวนา)
Who cut off their tails with a carving knife, (เธอ...เธอตัดหางพวกหนูด้วยมีดอันคมกริบ)
Did you ever see such a thing in your life, (คุณเคยเห็นอะไรอย่างนี้ในชีวิตหรือเปล่า)
As three blind mice? (อย่าง หนูตาบอดสามตัว)
ที่มาของมันล่ะ ลงหนูตาบอดสามตัว ผมว่าเพลงนี้คนไทยน่าจะรู้จักที่สุดแล้วนะเพราะมันถูกนำมาใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ(ใช่เปล่าหว่า??) ซึ่งใครเคยอ่านนิยายของอกาธา คริสตี้ก็คงร้องเอ๋อเพราะมันเป็นเพลงกล่อนเด็กที่นำไปใช้ในคดีฆาตกรรมในนวนิยายของเธอในตอน The Mousetrap และตอน Three Blind Mice แต่ใครจะรู้ไหมว่าเพลงนี้มีอีกความหมายหนึ่งนั้นมันมีที่มาจาก.......
เริ่มจากภรรยาของชาวนานั้นหมายถึงควีนแมรี่ ที่ 1 (Queen Mary I) หรือแมรี่บ้าเลือด(“Bloody Mary”) ราชินีแห่งศตวรรษ16 (1516 – 1558)ราชินีที่โหดเหี้ยมพระองค์หนึ่งของประวัติศาสตร์อังกฤษที่มีความประสงค์ให้อังกฤษเป็นประเทศที่นับถือนิกายคาธอลิกอย่างเดียว พระองค์เลยสั่งประหารพวกโปรแตสแตนท์ให้หมดสิ้นจากประเทศตายกว่าร้อยคน โดยมีสตีเฟน การ์ดิเนอร์ สังฆราชคนโปรดผู้เกลียดชังนิกายใหม่นี้เป็นผู้สนับสนุน
ส่วนสามหนูในที่นี้หมายถึงคนที่ต่อต้านพระราชินีนั้นเอง และที่ตาบอดก็เพราะว่าพวกนั้นหมดสิทธิที่จะแก้ต่างให้ตัวเอง ถ้าโดนจับได้เมื่อไหร่ประหารทันทีโดยไม่ต้องฟังคำแก้ตัว ส่วนคำว่าตัดหางคือ “ตัดความกังวล” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าองค์ราชินีแมรี่มีความเด็ดขาดในการลงโทษนักโทษ
อันดับ 4. Georgie Porgie (http://en.wikipedia.org/wiki/Georgie_Porgie)
Georgie Porgie pudding and pie (Georgie Porgie ขนมพุดดิ้งและขนมพาย)
Kissed the girls and made them cry (จูบเด็กผู้หญิงและทำให้พวกเขาร้องไห้)
When the boys came out to play(เมื่อไรเด็กชายออกมาเล่น)
Georgie Porgie ran away (Georgie Porgiedก็วิ่งหนีไป)
ที่มาของมันล่ะ (อันนี้ผมไม่แน่ใจนะครับ แปลออกมาก็แบบนี้แหละ ผิดตรงไหนขอโทษละกัน) ที่มาเพลงนี้เกี่ยวกับเซ็กต์ครับ เซ็กต์ลูกเดียวๆ (เหอๆ ชอบ) ดูจากเนื้อเพลงอาจหมายถึงการละเล่นตามประสาเด็กใช่เปล่าละ แต่ที่มาขอบอกว่าตะลึงมากเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเซ็กต์เกย์ชายรักชายอันร้อนแรงอื้อฉาวที่เกี่ยวพันกับพระราชา King Charles Iแห่งอังกฤษ
เริ่มจากคำว่า Georgie Porgieหมายถึง George Villiers ท่านดยุคแห่งบักกิงแฮม ซึ่งเขาถูกลือว่าเขาเคยเป็นคู่รักเก่าของเจ้าหญิงแอนแห่งออสเตรีย(Anne of Austria) (พระราชินีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส) นอกจากนั้น George Villiers ก็หันมาจีบ King Charles Iแห่งอังกฤษ ยอมเป็นคู่นอนของพระองค์เพื่ออำนาจ ซึ่งก็ได้ผลครับเพราะ Villiers กลายเป็นคนมีอำนาจ มีอิทธิพลและยศอัศวิน แต่เรื่องนี้ทำให้รัฐสภาปวดหัวเป็นอย่างมากจนมีคำสั่งให้ King Charles I ตัดความสัมพันธ์กับVilliersในที่สุด ซึ่งตรงกับเนื้อหาสุดท้ายของเพลงคือ “เมื่อไรเด็กชายออกมาเล่น Georgie Porgiedก็ วิ่งหนีไป”ซึ่งคำว่า “เด็กชาย” ก็หมายถึง King Charles I นั้นเอง
ส่วนคำว่า"ขนมพุดดิ้ง และขนมไพน์"ไม่มีความหมายครับ.................(จะพูดทำไมเนี้ย)
อันดับ3. ห่านตัวผู้ (Goosey Goosey Gander) (หาฟังได้จาก
http://www.youtube.com/watch?v=FOwP8Ozoixc) Goosey Goosey Gander, whither shall I wander? (ห่านตัวผู้มันถามว่าฉันควรไปไหน)
Upstairs and downstairs and in my Lady's chamber. (ชั้นบน ชั้นล่าง และห้องของคุณนาย)
There I met an old man who wouldn't say his prayers, (ที่นั้นฉันพบชายแก่ผู้ซึ่งไม่เว้าวอนสงสาร)
So I took him by his left leg and threw him down the stairs. (ดังนั้นฉันจึงจับขาซ้ายของเขาและโยนเขาลงบันได)
ที่มาของมันล่ะ เพลงนี้ฟังๆ ดูก็ไร้ศิลธรรมดีเนอะ รังแกคนแก่อย่างโหดร้ายน่ากลัว ความจริงแล้วมันมีความหมายมากกว่านั้นครับ คำว่าชายแก่(old man)นั้นแปลว่าพวกคาทอลิกนั้นเองครับ ในศวรรษที่ 16(ยุคของแมรี่อีกแล้ว) ชาวยุโรปส่วนใหญ่กำลังยุ่งอยู่กับการกำจัดโรคระบาดและกำจัดพวกโปรแตสแตนท์โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักบวชชั้นสูงของโปรแตสแตนท์ซึ่งจะมีรางวัลให้กับพวกคาทอลิกที่พบพวกนั้น และจะมีเงินพิเศษถ้าทำการกำจัดพวกนักบวชคาทอลิกโดยการจับพวกนั้นมัดขาแล้วโยนลงจากขั้นบันไดหรือไม่ก็บ่อน้ำ ซึ่งแน่นอนพวกโปรแตสแตนท์ก็กลัวตายเหมือนกันเลยอ้อนวอนขอให้คนฆ่าเมตตาพวกเขาบ้างหรือไม่ก็สวดมนต์เป็นภาษาลาติน ซึ่งคนฆ่ามันฟังไม่ออกหรอกว่ามันแปลว่าอะไร เลยไม่สนใจจับพวกนั้นโยนซะเลย
ส่วนคำว่า “ห่าน(Gander)” ที่เป็นภาษาตลาดของอังกฤษหมายถึงโสเภณีหรือผู้หญิงที่มักมากในกามหาผู้ชายตอนกลางคืน ซึ่งมักติดโรคจากผู้ชายเหล่านี้จนทำให้เกิดกามโรคนั้นเอง ซึ่งถ้าเอามารวมๆ กันมันก็หมายถึงการกำจัดโรคระบาดและพวกโปรแตสแตนท์นั้นเอง
อันดับ 2 ลิซซี่ บอร์เดน (Lizzie Borden) (หาฟังได้จากhttp://www.lizzie-borden.com/)
Lizzie Borden took an axe (ลิซซี่ บอร์เดนถือขวานมา)
And gave her mother forty whacks. (ฟันแม่เลี้ยงตั้งสี่สิบครา)
And when she saw what she had done (เมื่อได้เห็นผลงานนี้)
She gave her father forty-one. (ก็จามพ่ออีกสี่สิบเอ็ดที!)
ที่มาของมันล่ะ อันนี้ไม่มีใน en.wikipedia ต้องฟังจากเว็บพิเศษของมันเลย ซึ่งความหมายตรงกับตัวเลยครับไม่จำเป็นต้องแปลอะไรก็ฆ่าๆ ตามเนื้อเพลงแหละ เพียงแต่เพลงนี้เอามาจากเรื่องจริงของคดีฆาตกรรมเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 1892 เวลา นิวอิงแลนด์ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่บ้านเลขที่ 92 เซคันด์สตรีท โดยนางลิซซี่ บอร์เดนลงมือสังหารนายแอนดรูว์พ่อแท้ๆของตน ตายบนโซฟาด้วยขวานถึง 11 แผล จนหูขาด และตาทั้งสองหลุดออกจากเป้า จากนั้นก็ฆ่านางแอบบี้ภรรยาที่สองของนายแอนดรูว์และแม่เลี้ยงของตนฟันจากศีรษะด้านหลังถึง 19 แผล ภายหลังลิซซี่ เบอร์เด็นถูกจับและนำตัวขึ้นศาล แต่สุดท้ายก็ถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดและปล่อยตัวออกมา เธอใช้ชีวิตอยู่อย่างปกติ(ท่ามการมรดกนายแอนดรูว์) ของจนกระทั่งเสียชีวิตไปด้วยอายุ 67 ปี
(ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 92 เซคันด์สตรีทได้กลายมาเป็นโรงแรมซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันมีชื่อของฟอลรีเวอร์ แขกผู้มาพักสามารถเลือกพักในห้องต่างๆซึ่งรวมไปถึงห้องของลิซซี่เองหรือห้องพักแขกที่แอบบี้ถูกฆ่าได้ด้วย)
อันดับ1. แมรี่ แมรี่ เธอช่างดื้อรั้น (Mary, Mary Quite Contrary) (ฟังได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=lo1gE4GAAH8) Mary Mary quite contrary , (แมรี่ แมรี่ มันช่างดูขัดกัน)
How does your garden grow? (สวนของเธอมันงอกงามได้อย่างไรนะ)
With silver bells and cockleshells (ด้วยกระดิ่งเงินและเปลือกหอย)
And pretty maids all in a row. (และบรรดาสาวใช้แสนสวยทั้งหมดในขบวนแถว)
(silver bells เป็นชื่อดอกไม้ และ cockleshells เป็นชื่อหอยและชื่อดอกไม้ด้วย)
ที่มาของมันล่ะ และนี้คืออันดับ 1 ของเรา ซึ่งฟังจากเนื้อเพลงแล้วมันไม่มีอะไรจริงๆ(นะ) แต่ถ้าแปลและรู้ความหมายที่แท้จริงแล้วปรากฏว่ามันโหดอย่างเหลือเชื่อ!!
เพลงนี้ฟังๆ คงคิดว่าเป็นแนวๆ หญิงแก่ที่แสนฉลาดรักสงบทำสวนสวยเป็นงานอดิเรกยามว่างของเธอใช่ไหมละ ก็ผิดอีกแหละมันมีที่มาจากแมรี่บ้าเลือดอีกแล้วละ ผู้ซึ่งเป็นที่มาของเพลงกล่อมเด็กโหดจริงๆ คือว่าคำว่าสวนของแมรี่ก็หมายถึงสุสานไงละครับ ซึ่งแมรี่ฆ่าคนเหมือนผักปลาจนสุสานแทบไม่มีพื้นที่ฝังศพ ส่วนคำว่า “silver bells” เป็นเครื่องทรมานชนิดหนึ่งของยุโรปที่ใช้บดหัวนิ้วมือ และ “cockleshells” เป็นเครื่องทรมานชนิดหนึ่งของยุโรปคล้ายหอยเวลาจะทรมานก็เอาอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชายมาหนีบกับเครื่อง(อู้ย....)ส่วนคำว่า "คนใช้ (The Maiden)"มันหมายถึงกิโยติน(guillotine)ซึ่งเป็นเครื่องประหารสำหรับคอนักโทษซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่แมรี่ฆ่าคนนั้นเอง
(เพลงนี้นำไปประกอบในหนังเรื่อง URBAN LEGENDS ปลุกตำนานโหด.. มหาลัยสยอง 2 ผมก็ไม่ได้ดูหรอก แต่มีคนมาบอก)
(บางตำราบอกว่าแมรี่ในที่นี้คือ แมรี่ราชินีแห่งสก๊อตแลนด์ ผู้ซึ่งถูกเอลิซาเบธที่หนึ่งขังเอาไว้ และประหารในข้อหาคบคิดล้มราชบัลลังก์อังกฤษ โดยมีแผนปลงพระชนม์เอลิซาเบธเสีย แมรี่เคยเสกสมรสกับพระยุพราชฝรั่งเศส Cockle shells คืออาหารฝรั่งเศสที่เธอโปรดปราน กระดิ่งเงินนั้นก็คือกระดิ่งประดับภูษาฉลองพระองค์ อันเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาในราชสำนัก และสาวใช้สวยๆที่เข้าแถวรับใช้อยู่ก็คือ “แมรี่ทั้งสี่” ชื่อของนางพระกำนัลสาวสวยสี่คนในสมัยของเธอ ขณะอยู่สก๊อตแลนด์
เมื่อยมือกว่าจะทำเสร็จ