นีล อาร์มสตรอง นักบินอวกาศผู้เดินทางไปเหยียบดวงจันทร์ได้เป็นคนแรกพร้อมกับยานอพอลโล 11 เมื่อปี 1969 เสียชีวิตแล้วจากอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ ขณะอายุได้ 82 ปี
เอเอฟพี - นีล อาร์มสตรอง นักบินอวกาศสหรัฐฯผู้เดินทางไปเหยียบดวงจันทร์ได้เป็นคนแรกของโลก เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย 82 ปี หลังเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจเพื่อรักษาอาการหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจตีบ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ครอบครัวของ อาร์มสตรอง เปิดเผยว่า การจากไปของ “วีรบุรุษชาวอเมริกัน” ผู้นี้นำความโศกเศร้ามาสู่ทุกคน และ อาร์มสตรอง “ได้รับใช้ชาติอย่างภาคภูมิในฐานะนักบินขับไล่ของกองทัพเรือ, นักบินทดสอบ และนักบินอวกาศ”
“ในขณะที่เราไว้อาลัยการจากไปของบุคคลที่เปี่ยมด้วยความดีงามผู้นี้ เราก็ขอยกย่องชีวิตที่โดดเด่นของเขา และหวังว่าเขาจะเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังทั่วโลกในด้านความเพียรพยายามเพื่อให้ฝันเป็นจริง ความพร้อมที่จะออกสำรวจเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดต่างๆ และการเสียสละเพื่อส่วนรวม” ถ้อยแถลงจากครอบครัว อาร์มสตรอง ระบุ
อาร์มสตรอง และ เอ็ดวิน “บัซ” อัลดริน เดินทางพร้อมยานอพอลโล 11 ไปถึงพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ปี 1969 ท่ามกลางสายตานับร้อยล้านคู่ทั่วโลกที่เฝ้าจับตาภารกิจครั้งประวัติศาสตร์ผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์
คำพูดแรกของ อาร์มสตรอง หลังจากที่เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จกลายเป็นสิ่งที่โลกต้องจารึกไว้
“นี่คือก้าวเล็กๆมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่สำหรับมวลมนุษยชาติ”
แม้กระนั้น อาร์มสตรอง ซึ่งได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติมากมายจากรัฐบาลสหรัฐฯและอีก 17 ประเทศทั่วโลก ก็ไม่เคยเห่อเหิมไปกับชื่อเสียงที่ได้รับ แต่กลับพยายามใช้ชีวิตอย่างสันโดษมากกว่า เขาถึงกับหยุดแจกลายเซ็นให้แฟนๆหลังจากที่ทราบว่า มีผู้นำของเหล่านั้นไปจำหน่ายต่อในราคาสูงลิบลิ่ว
จอห์น เกล็นน์ นักบินอวกาศชาวอเมริกันคนที่ 3 และเป็นบุคคลแรกที่ได้โคจรรอบโลก กล่าวถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของ อาร์มสตรอง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดี
“เขาไม่เคยโอ้อวดชื่อเสียงของตัวเอง... เขาเป็นคนถ่อมตัว และเป็นเช่นนั้นมาตลอด ทั้งก่อนจะไปเหยียบดวงจันทร์และหลังจากนั้น” เกล็นน์ เผย
ด้านประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ซึ่งมีอายุเพียง 8 ขวบในขณะที่ยานอพอลโล 11ออกปฏิบัติภารกิจนอกโลก ยกย่อง อาร์มสตรอง เป็น “วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอเมริกัน มิใช่แค่ในยุคของเขาเท่านั้น แต่เป็นตลอดกาล”
“มรดกจากชายคนหนึ่งที่สอนให้เรารู้จักพลังอำนาจของก้าวย่างเล็กๆ จะคงอยู่ตลอดไป”
อัลดริน ให้สัมภาษณ์ว่า เขาเคยหวังว่าตนเอง, อาร์มสตรอง และ ไมเคิล คอลลินส์ จะได้มาพบปะกันอีกครั้งในปี 2019 เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปียานอพอลโล 11 ทว่าสิ่งที่หวังไว้ก็ไม่มีวันมาถึง
อาร์มสตรอง เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ปี 1930 ที่เมืองวาปาโกเนตา มลรัฐโอไฮโอ เขาหลงใหลเครื่องบินมาตั้งแต่เด็ก และเมื่อย่างเข้าวัยรุ่นก็สมัครเข้าทำงานในสนามบินใกล้ๆบ้าน
อาร์มสตรอง เริ่มฝึกบินขณะที่อายุได้เพียง 15 ปี และได้ใบอนุญาตนักบินในวันเกิดปีที่ 16
ในฐานะนักบินของกองทัพเรือสหรัฐฯ อาร์มสตรอง เคยร่วมปฏิบัติภารกิจ 78 ครั้งในสงครามเกาหลี ก่อนจะทำงานกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านอากาศยานศาสตร์แห่งชาติซึ่งเป็นต้นกำเนิดของนาซา ในปี 1955
เขามีสถานะเป็นนักบินอวกาศเต็มตัวในปี 1962 และเป็นผู้ควบคุมโครงการ Gemini 8 ซึ่งเป็นการเทียบยาน 2 ลำเข้าด้วยกันกลางอวกาศครั้งแรก
หลังเกษียณอายุจากนาซาในปี 1971 อาร์มสตรอง เป็นอาจารย์สอนวิศวกรรมการบินที่มหาวิทยาลัยซินซินนาติอยู่เกือบ 10 ปี และเป็นบอร์ดบริหารให้กับบริษัทใหญ่ๆมากมาย เช่น เลียร์ เจ็ต, ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ส และ มาราธอน ออยล์ เป็นต้น
อาร์มสตรอง ยังมีตำแหน่งรองผู้ช่วยผู้บริหารการบินประจำสำนักงานใหญ่นาซา โดยมีหน้าที่ประสานงานและจัดการโครงการวิจัยและงานด้านเทคโนโลยีต่างๆ
เอเอฟพี - นีล อาร์มสตรอง นักบินอวกาศสหรัฐฯผู้เดินทางไปเหยียบดวงจันทร์ได้เป็นคนแรกของโลก เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย 82 ปี หลังเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจเพื่อรักษาอาการหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจตีบ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ครอบครัวของ อาร์มสตรอง เปิดเผยว่า การจากไปของ “วีรบุรุษชาวอเมริกัน” ผู้นี้นำความโศกเศร้ามาสู่ทุกคน และ อาร์มสตรอง “ได้รับใช้ชาติอย่างภาคภูมิในฐานะนักบินขับไล่ของกองทัพเรือ, นักบินทดสอบ และนักบินอวกาศ”
“ในขณะที่เราไว้อาลัยการจากไปของบุคคลที่เปี่ยมด้วยความดีงามผู้นี้ เราก็ขอยกย่องชีวิตที่โดดเด่นของเขา และหวังว่าเขาจะเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังทั่วโลกในด้านความเพียรพยายามเพื่อให้ฝันเป็นจริง ความพร้อมที่จะออกสำรวจเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดต่างๆ และการเสียสละเพื่อส่วนรวม” ถ้อยแถลงจากครอบครัว อาร์มสตรอง ระบุ
อาร์มสตรอง และ เอ็ดวิน “บัซ” อัลดริน เดินทางพร้อมยานอพอลโล 11 ไปถึงพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ปี 1969 ท่ามกลางสายตานับร้อยล้านคู่ทั่วโลกที่เฝ้าจับตาภารกิจครั้งประวัติศาสตร์ผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์
คำพูดแรกของ อาร์มสตรอง หลังจากที่เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จกลายเป็นสิ่งที่โลกต้องจารึกไว้
“นี่คือก้าวเล็กๆมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่สำหรับมวลมนุษยชาติ”
แม้กระนั้น อาร์มสตรอง ซึ่งได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติมากมายจากรัฐบาลสหรัฐฯและอีก 17 ประเทศทั่วโลก ก็ไม่เคยเห่อเหิมไปกับชื่อเสียงที่ได้รับ แต่กลับพยายามใช้ชีวิตอย่างสันโดษมากกว่า เขาถึงกับหยุดแจกลายเซ็นให้แฟนๆหลังจากที่ทราบว่า มีผู้นำของเหล่านั้นไปจำหน่ายต่อในราคาสูงลิบลิ่ว
จอห์น เกล็นน์ นักบินอวกาศชาวอเมริกันคนที่ 3 และเป็นบุคคลแรกที่ได้โคจรรอบโลก กล่าวถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของ อาร์มสตรอง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดี
“เขาไม่เคยโอ้อวดชื่อเสียงของตัวเอง... เขาเป็นคนถ่อมตัว และเป็นเช่นนั้นมาตลอด ทั้งก่อนจะไปเหยียบดวงจันทร์และหลังจากนั้น” เกล็นน์ เผย
ด้านประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ซึ่งมีอายุเพียง 8 ขวบในขณะที่ยานอพอลโล 11ออกปฏิบัติภารกิจนอกโลก ยกย่อง อาร์มสตรอง เป็น “วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอเมริกัน มิใช่แค่ในยุคของเขาเท่านั้น แต่เป็นตลอดกาล”
“มรดกจากชายคนหนึ่งที่สอนให้เรารู้จักพลังอำนาจของก้าวย่างเล็กๆ จะคงอยู่ตลอดไป”
อัลดริน ให้สัมภาษณ์ว่า เขาเคยหวังว่าตนเอง, อาร์มสตรอง และ ไมเคิล คอลลินส์ จะได้มาพบปะกันอีกครั้งในปี 2019 เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปียานอพอลโล 11 ทว่าสิ่งที่หวังไว้ก็ไม่มีวันมาถึง
อาร์มสตรอง เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ปี 1930 ที่เมืองวาปาโกเนตา มลรัฐโอไฮโอ เขาหลงใหลเครื่องบินมาตั้งแต่เด็ก และเมื่อย่างเข้าวัยรุ่นก็สมัครเข้าทำงานในสนามบินใกล้ๆบ้าน
อาร์มสตรอง เริ่มฝึกบินขณะที่อายุได้เพียง 15 ปี และได้ใบอนุญาตนักบินในวันเกิดปีที่ 16
ในฐานะนักบินของกองทัพเรือสหรัฐฯ อาร์มสตรอง เคยร่วมปฏิบัติภารกิจ 78 ครั้งในสงครามเกาหลี ก่อนจะทำงานกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านอากาศยานศาสตร์แห่งชาติซึ่งเป็นต้นกำเนิดของนาซา ในปี 1955
เขามีสถานะเป็นนักบินอวกาศเต็มตัวในปี 1962 และเป็นผู้ควบคุมโครงการ Gemini 8 ซึ่งเป็นการเทียบยาน 2 ลำเข้าด้วยกันกลางอวกาศครั้งแรก
หลังเกษียณอายุจากนาซาในปี 1971 อาร์มสตรอง เป็นอาจารย์สอนวิศวกรรมการบินที่มหาวิทยาลัยซินซินนาติอยู่เกือบ 10 ปี และเป็นบอร์ดบริหารให้กับบริษัทใหญ่ๆมากมาย เช่น เลียร์ เจ็ต, ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ส และ มาราธอน ออยล์ เป็นต้น
อาร์มสตรอง ยังมีตำแหน่งรองผู้ช่วยผู้บริหารการบินประจำสำนักงานใหญ่นาซา โดยมีหน้าที่ประสานงานและจัดการโครงการวิจัยและงานด้านเทคโนโลยีต่างๆ
ขอบคุณ ::: คลิ๊ก