ราชบัณฑิต ประกาศ ไม่มีการแก้คำทับศัพท์ 176 คำ ในพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อย่างแน่นอน บอกเป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่้ง ไม่ใช่ข้อมติ
เมื่อวานนี้ (1 ตุลาคม) ราชบัณฑิตยสถาน ประกาศผ่านเฟซบุ๊ก
ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute of Thailand) ว่า ไม่มีการแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่กำลังดำเนินการจัดพิมพ์ รวมทั้งยังไม่มีมติให้แก้ไขรูปแบบการ
เขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
ทั้งนี้ นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า
ตามที่ได้มีประชาชนจำนวนมากแสดงความห่วงใยเรื่องรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ผ่านสื่อต่าง ๆ นั้น ราชบัณฑิตยสถานขอขอบคุณและขอชี้แจงว่า
ราชบัณฑิตยสถานได้ถือหลักการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ ตามพระดำริของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ว่า การเขียนคำในภาษาต่างประเทศ
โดยเฉพาะภาษาอังกฤษออกเสียงไม่แน่นอน จะออกเสียงอย่างไรย่อมแล้วแต่ประโยค
เสียงจะสูงต่ำก็แล้วแต่ตำแหน่งของคำในประโยค จึงทรงเห็นว่าไม่ควรใช้วรรณยุกต์กำกับตามเหตุผลดังกล่าว
เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวต่อไปว่า ในปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานมีราชบัณฑิตสาขา
วิชาต่าง ๆ 84 คน ภาคีสมาชิกสาขาวิชาต่าง ๆ 80 คน และมีคณะกรรมการวิชาการในสาขาวิชาการต่าง ๆ กว่า 90 คณะ
ซึ่งอาจเสนอความเห็นทางด้านวิชาการให้ราชบัณฑิตยสถานพิจารณาได้ และศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล
ในฐานะราชบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย ได้เสนอขอให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ
โดยแนะให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ หรือใช้อักษรสูง หรือใช้ ห นำในคำที่ไม่สามารถผันวรรณยุกต์ได้
ราชบัณฑิตยสถานจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางการเขียนคำที่มาจากต่างประเทศ
เพื่อพิจารณาเรื่องที่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล เสนอ ซึ่งคณะกรรมการฯ
ได้มีมติให้ออกแบบสอบถามตามข้อเสนอของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล
โดยสอบถาม ราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และกรรมการวิชาการของราชบัณฑิตยสถาน
เพื่อรับฟังความคิดเห็นเฉพาะภายในองค์กรเป็นเบื้องต้นให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555
และจะเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวต่อสภาราชบัณฑิต ในการประชุมครั้งที่ 4/2555 วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555
"ผลการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะภายในองค์กรของราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับหลักการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ
ไม่ว่าจะมีผลเป็นประการใด เป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ข้อยุติ การแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในทางราชการ
ทางการศึกษา มาเป็นเวลานาน หากมีการเปลี่ยนแปลง ย่อมมีผลกระทบสำคัญต่อการใช้ภาษาไทยของหน่วยงานราชการ
นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป
ดังนั้น จึงต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและบุคคลดังกล่าวก่อน
ตามหลักการพื้นฐานที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ก่อนที่จะพิจารณาดำเนินการไปในทางใดทางหนึ่ง และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
ที่ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดพิมพ์นั้น ไม่ได้แก้ไขรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษตามที่เป็นข่าว
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ ราชบัณฑิตยสถานจะรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป"
เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าว
ท้ายนี้ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ได้กล่าวยืนยันว่า ไม่มีการแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิมพ์ และจะเสร็จพร้อมแจกให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่ ส่วนราชการ สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน ในต้นปี พ.ศ. 2556
เนื่องจากได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อย่างแน่นอน บอกเป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่้ง ไม่ใช่ข้อมติ
เมื่อวานนี้ (1 ตุลาคม) ราชบัณฑิตยสถาน ประกาศผ่านเฟซบุ๊ก
ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute of Thailand) ว่า ไม่มีการแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่กำลังดำเนินการจัดพิมพ์ รวมทั้งยังไม่มีมติให้แก้ไขรูปแบบการ
เขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
ทั้งนี้ นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า
ตามที่ได้มีประชาชนจำนวนมากแสดงความห่วงใยเรื่องรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ผ่านสื่อต่าง ๆ นั้น ราชบัณฑิตยสถานขอขอบคุณและขอชี้แจงว่า
ราชบัณฑิตยสถานได้ถือหลักการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ ตามพระดำริของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ว่า การเขียนคำในภาษาต่างประเทศ
โดยเฉพาะภาษาอังกฤษออกเสียงไม่แน่นอน จะออกเสียงอย่างไรย่อมแล้วแต่ประโยค
เสียงจะสูงต่ำก็แล้วแต่ตำแหน่งของคำในประโยค จึงทรงเห็นว่าไม่ควรใช้วรรณยุกต์กำกับตามเหตุผลดังกล่าว
เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวต่อไปว่า ในปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานมีราชบัณฑิตสาขา
วิชาต่าง ๆ 84 คน ภาคีสมาชิกสาขาวิชาต่าง ๆ 80 คน และมีคณะกรรมการวิชาการในสาขาวิชาการต่าง ๆ กว่า 90 คณะ
ซึ่งอาจเสนอความเห็นทางด้านวิชาการให้ราชบัณฑิตยสถานพิจารณาได้ และศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล
ในฐานะราชบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย ได้เสนอขอให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ
โดยแนะให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ หรือใช้อักษรสูง หรือใช้ ห นำในคำที่ไม่สามารถผันวรรณยุกต์ได้
ราชบัณฑิตยสถานจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางการเขียนคำที่มาจากต่างประเทศ
เพื่อพิจารณาเรื่องที่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล เสนอ ซึ่งคณะกรรมการฯ
ได้มีมติให้ออกแบบสอบถามตามข้อเสนอของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล
โดยสอบถาม ราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และกรรมการวิชาการของราชบัณฑิตยสถาน
เพื่อรับฟังความคิดเห็นเฉพาะภายในองค์กรเป็นเบื้องต้นให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555
และจะเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวต่อสภาราชบัณฑิต ในการประชุมครั้งที่ 4/2555 วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555
"ผลการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะภายในองค์กรของราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับหลักการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ
ไม่ว่าจะมีผลเป็นประการใด เป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ข้อยุติ การแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในทางราชการ
ทางการศึกษา มาเป็นเวลานาน หากมีการเปลี่ยนแปลง ย่อมมีผลกระทบสำคัญต่อการใช้ภาษาไทยของหน่วยงานราชการ
นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป
ดังนั้น จึงต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและบุคคลดังกล่าวก่อน
ตามหลักการพื้นฐานที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ก่อนที่จะพิจารณาดำเนินการไปในทางใดทางหนึ่ง และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
ที่ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดพิมพ์นั้น ไม่ได้แก้ไขรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษตามที่เป็นข่าว
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ ราชบัณฑิตยสถานจะรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป"
เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าว
ท้ายนี้ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ได้กล่าวยืนยันว่า ไม่มีการแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิมพ์ และจะเสร็จพร้อมแจกให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่ ส่วนราชการ สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน ในต้นปี พ.ศ. 2556
เนื่องจากได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา