โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ
the sims 3 วิธีจัดการกับซอมบี้
pooh1519
#1
25-10-2012 - 12:06:07

#1 pooh1519  [ 25-10-2012 - 12:06:07 ]




การรับมือกับซอมบี้มีเทคนิกดังนี้
คนปกติ ให้ใช้ประตูปิดเอาไว้ ห้ามออกไปขางนอกเพราะอาจกลายเป็นซอมบี้ได้(ตอนโดนกัด)
แวมไพ ให้เปิดเพลงแล้วชวนมาเต้นเพราะพอซอมบี้มาคาวหน้ามันจะเป็นมิตรกับเรา
มนุษย์หมาป่า ไปไหนก่อได้(ตอนกลายร่าง)
พ่อ/แม่มด ปลุงน้ำยาไว้มันจะทำให้ซอมบี้กลายเป็นคนได้แต่ตอนพระจันเต็มดวงเท่นัน(น้ำยาอันเดี๋ยวกันกับที่ทำให้คนเป็นซอมบี้)
จินนี้ สามารถปลูกมิตรหรือขอให้ออกไปได้
นางฟ้า เช่นเดี๋ยวกันกับจินนี้
ผี ใช้ชีวิตรตามปกติ
เสิม
ผี ห้ามไปที่ที่มีคนตายเพราะโยมมะทูดจะมาแล้วมันจะพาเราไปด้วย
ให้ดาวด้วยครับขอบคุณครับ


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2012-10-25 12:10:49
noolouiz
Nupandora
ATOMDD
peteza008
mysystem123
freakiiez
lolboss0369
Kingsims
ployzataohod
rananim
Play_HRK
White Girl

pokkojank789
#2
25-10-2012 - 13:10:01

#2 pokkojank789  [ 25-10-2012 - 13:10:01 ]




ก็ดีนะค่ะ เเต่ใช่ภาษาให้ถูกหน่อยค่ะ ยมทูต เขียนแบบนี้ค่ะ ชีวิต ไม่มี รอเรือนะค่ะ เทคนิค ใช่ คอควายค่ะ ข้างเขียนแบบนี้ไม่ใช่ ขาง
แวมไพร์ มีรอเรือการันต์ด้วยค่ะ คราวมี ร เรือค่ะ ถ้าคาวแบบนี้ถือว่าเป็น ค้างคาว กลิ่นคาวนะค่ะ ปลุง ต้องใช่ ร เรือค่ะ คำว่า ก่อ แบบนี้ค่ะ ก็
พระจันทร์ มี รเรือ การันต์ค่ะ ไม่ใช่จัน เสิม มี ร เรือ ค่ะ ผูกมิตรนะค่ะไม่ใช่ปลูก ส่วนในซิม SP ไม่มีนางฟ้าค่ะ มีแต่แฟรี่ นะ
เกิดเป็นคนไทย ก็รู้อยู่นะค่ะผิดไปแค่คำอักษรเดี่ยวมันจะเปลี่ยนคำหมายไปเลย และเวลาไปสมัครงานจะติดมันไม่ดีนะึค่ะ


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2012-10-25 13:10:51
ikateen_mac
icezeer
kanitha

paotingtong
#3
25-10-2012 - 13:52:23

#3 paotingtong  [ 25-10-2012 - 13:52:23 ]





Fairy ก็คือนางฟ้าแหละค่ะ
แต่เห็นด้วยนะค่ะเราควรใช้ภาษาให้ถูกต้อง


SeABrA
#4
25-10-2012 - 21:12:10

#4 SeABrA  [ 25-10-2012 - 21:12:10 ]







ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ


เห็นด้วยกับสองเรปบนค่ะ ใช่ภาษาไทยให้ถูกต้อง


momeaw
#5
27-10-2012 - 16:04:13

#5 momeaw  [ 27-10-2012 - 16:04:13 ]





ผมเหนื่อยกับการอ่านจังครับ แต่ก็ขอบคุณครับ


Namomo
#6
09-11-2012 - 13:26:55

#6 Namomo  [ 09-11-2012 - 13:26:55 ]




ภาษาไทยในปัจจุบัน: ปัญหาและแนวทางแก้ไข (๓)

การบัญญัติศัพท์นั้นก็มีอุปสรรคอยู่หลายประการคือ

ประการแรก สาธารณชนไม่ยอมรับ เช่น "computer" ประชาชนนิยมใช้คำทับศัพท์ว่า "คอมพิวเตอร์" มากกว่าคำไทยหรือคำบาลี

ประการที่สอง คำบางคำที่ยอมรับใช้กันแล้วมีลักษณะ "พันทาง" แม้จะผิดลักษณะภาษาไทยก็ต้องยอมรับกันไป เพราะอยู่ในกฎหมายแล้ว เช่น "การส่งออกข้าว" "การส่งออกน้ำตาล" เป็นต้น

ประการที่สาม คำศัพท์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนบัญญัติไม่ทันหรือบัญญัติแล้วไม่รู้เรื่อง โดยเฉพาะศัพท์ทางด้านเทคโนโลยี จึงต้องยอมรับการทับศัพท์

ปัญหาในด้านการใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องนั้น ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ชี้ให้เห็นว่า การเขียนตัวอักษรในสมัยปัจจุบันนี้บางครั้งก็มีลักษณะผิดแผกไปจากเดิมมาก ท่านใช้คำว่าเป็นรูปทรง "ปาท่องโก๋" กล่าวคือ เขียนตัวติดกันหรือซ้อนกันทำให้อ่านยาก บางคนมีความเปลี่ยนแปลงที่เลวร้ายลงไปเรื่อยๆ จากลายมือ "บรรจง" กลายเป็น "หวัดแกมบรรจง" กลายเป็น "หวัด" แล้วในที่สุดก็ถึงขนาด "อ่านไม่ออก"

ท่านได้ยกตัวอย่างให้เห็นว่า ลายมือที่อ่านยากๆ นั้นมีผลต่อการตัดสินของศาลมาก เช่น ถ้าประโยคอ่านได้ว่า "ขณะเกิดเหตุ จำเลยถือปืนคาร์ไบน์" จำเลยก็คงจะถูกตัดสินให้จำคุก แต่ถ้าอ่านได้ว่า "ขณะเกิดเหตุ จำเลยถือปี๊บสามใบ" ก็คงจะต้องยกฟ้อง

ในด้านการอ่านนั้น ท่านได้สังเกตเห็นว่า มีปฏิบัติกันเป็นสองอย่างคือ อย่างแรก อ่านไม่ชัด แยก ร เรือ ล ลิง ไม่ออก ไม่มีเสียงควบกล้ำ โดยเฉพาะนักการเมืองที่ออกเสียงว่า "รัฐมนตี" (ไม่มี ร เรือ) นั้น ก็น่าจะถือได้ว่า "คอรัปชั่นทางภาษา" ได้เหมือนกัน ส่วนการปฏิบัติอีกอย่างนั้นเป็นไปในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ อ่านชัดเจนเกินไปจนผิดธรรมชาติ

เห็น ร เรือ ก็รัวลิ้นจนกลายเป็นภาษาแขกไปหมด

ในท้ายที่สุดท่านได้สนับสนุนให้มีการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง โดยยกตัวอย่างการรณรงค์การใช้ภาษาอังกฤษอย่างเรียบง่ายของอังกฤษและอเมริกา

ทางฝ่ายอังกฤษนั้นมีการให้รางวัล "Crystal Mark" แก่งานเขียนที่ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเรียบง่าย ส่วนที่ใช้ภาษาได้อย่างยอดแย่นั้นก็จะได้รางวัล "The Golden Bull Awards"

ส่วนทางฝ่ายอเมริกา ใครเขียนดี อ่านง่าย ชัดเจน ก็ให้รางวัล "The Orwell Awards" ถ้ายอดแย่ก็จะได้รางวัล "The Annual Doublespeak Awards"

สำหรับในเมืองไทยนั้นก็มีการให้รางวัลงานเขียนชั้นดีจากสถาบันต่างๆ มากอยู่แล้ว แต่ถ้าขืนให้รางวัลยอดแย่กันเมื่อไร อาจจะเป็นการ "สร้างศัตรูถาวร" ได้ไม่ยากนัก

จริงไหม

สรุปก็คือ "ภาษาไทยเป็นมรดกอันล้ำค่า เราต้องทั้งอนุรักษ์และพัฒนา" โดยยึดถือหลักว่า

"ดำรงความเป็นไทย (เท่าที่จะทำได้) แล้ว

ก้าวไกลสู่ความเป็นสากล"

ผู้เขียน รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน

ikateen_mac
HiKURE

lamboprin
#7
16-03-2013 - 23:03:52

#7 lamboprin  [ 16-03-2013 - 23:03:52 ]






งงกับคนไทยครับ


  • 1

ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก
ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก



ข้อมูลเมื่อ 25th June 2024 03:54

โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ