
กฏในชมรม
1.ห้ามโพสคำหยาบ ห้ามทะเลาะกัน เฮฮาได้กันตามอัธยาศัย
2.สงสัยก็ถาม อยากรู้อะไรก็ถามได้ แต่ของให้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สามก๊ก
3.สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ได้ภายในชมรม เปิดรับฟังความคิดเห็นของแต่ละคนอยู่แล้ว ถึงไม่ใช่สมาชิกชมรมก็สามารถโพสเม้นได้
4.ถ้าต้องการอะไรเพิ่มเติมก็สามารถบอกได้
5.กิจกรรมที่จัดขึ้นขอสงวนไว้เฉพาะสมาชิกภายในชมรมเท่านั้น
6.ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมจะมีการส่งเป็น PM ถึงสมาชิกในชมรม
7.คนที่ต้องการเข้าร่วมกรุณากดสมัครสมาชิกเอาไว้แล้วไปกรอกแบบฟรอมเพื่อยืนยันการเข้าร่วมที่กิจกรรมที่หนึ่ง
8.สารบัญอยู่ #17(สารบัญจะแยกย่อยเป็นสารบัญกิจกรรม กับสารบัญการสรุปเนื้อหา) ส่วนรายชื่อสมาชิกอยู่ #18(ส่วนนี้จะแปะเป็นบัตรสามชิกให้แทน)
9.จะส่ง PM ไปเฉพาะเวลาที่จัดกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นขอยกเลิก PM เวลาที่มีการอัพข้อมูลต่างๆ
10.หากสงสัยอะไรให้กลับไปอ่านข้อหนึ่งใหม่
ปล. จขกท. มีหลายอารมณ์ ดังนั้นกิจกรรมอาจมีหลายรูปแบบ^^
ปลล. เห็นว่ากระทู้มันเงียบๆถ้าให้เราจัดการเพียงคนเดียว เราเลยจะเริ่มจัดกิจกรรมเพื่อให้มันครึกครืนขึ้นมาหน่อย
ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
สามก๊กฉบับหลอกว้านจงได้มีการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2345 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งทรงมีพระราชดำริให้จัดแปลพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊ก ไซ่ฮั่น และแปลพงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช เพื่อให้คนไทยได้ใช้ศึกษาเป็นตำราพิชัยสงคราม โดยมอบหมายให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นผู้อำนวยการแปลสามก๊ก มีความยาวทั้งสิ้น 95 เล่มสมุดไทย ซึ่งได้รับการสันนิษฐานว่าเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ไม่ได้แปลสามก๊กจากต้นฉบับทั้งหมด เนื่องจากการใช้สำนวน ภาษา และรูปแบบการแปลในตอนท้ายเรื่องเป็นคนละสำนวนกับตอนต้นเรื่อง สามก๊กฉบับนี้ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือแบบฝรั่งครั้งแรกโดยโรงพิมพ์หมอบรัดเล มีจำนวน 4 เล่มจบ เมื่อปี พ.ศ. 2408 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมากลายเป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และถูกนำมากล่าวถึงในบทละครนอกเรื่องคาวี ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ความว่า
"เมื่อนั้น ไวยทัตหุนหันมาทันตรึก
อวดรู้อวดหลักฮักฮึก ข้าเคยพบรบศึกมาหลายยก
จะเข้าออกยอกย้อนผ่อนปรน เล่ห์กลเรานี้อย่าวิตก
ทั้งพิชัยสงครามสามก๊ก ได้เรียนไว้ในอกสารพัด
ย้ายกลับไปทูลพระเจ้าป้า ว่าเรารับอาสาไม่ข้องขัด
ค่ำวันนี้คอยกันเป็นวันนัด จะเข้าไปจับมัดเอาตัวมา
อวดรู้อวดหลักฮักฮึก ข้าเคยพบรบศึกมาหลายยก
จะเข้าออกยอกย้อนผ่อนปรน เล่ห์กลเรานี้อย่าวิตก
ทั้งพิชัยสงครามสามก๊ก ได้เรียนไว้ในอกสารพัด
ย้ายกลับไปทูลพระเจ้าป้า ว่าเรารับอาสาไม่ข้องขัด
ค่ำวันนี้คอยกันเป็นวันนัด จะเข้าไปจับมัดเอาตัวมา
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรื่องคาวี
เนื้อหาในบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ที่มีการกล่าวถึงตำราพิชัยสงครามและสามก๊ก นับเป็นหลักฐานการยืนยันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความคุ้นเคยของชาวไทยที่มีต่อสามก๊ก และได้มีการค้นพบจดหมายเหตุในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งทรงโปรดปรานบทร้อยแก้วของสามก๊กที่เป็นการแปลฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และกลายเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้ทรงมีพระราชดำริรับสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง เพื่อสำหรับนำไปใช้ในการบริหารราชการบ้านเมืองสืบต่อไป
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงโปรดให้ราชบัณฑิตยสภาชำระสอบทานต้นฉบับ แล้วจัดพิมพ์เป็นหนังสือพระราชทานในงานพระเมรุสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ต่อมาโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรได้ขอประทานอนุญาตจัดพิมพ์จำหน่าย ในชื่อ "หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา" ในปี พ.ศ. 2471 ซึ่งสามก๊กที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายหลังจากนั้น พิมพ์ตามต้นฉบับหนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภามาโดยตลอด จนกระทั่งมีการตรวจสอบและชำระสอบทานต้นฉบับอีกครั้งด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักพิมพ์ดอกหญ้ากับหอสมุดแห่งชาติ

นั่งพิมพ์เองก็เมื่อยมือเอง=w= แต่ก็นะ ถ้าใครสงสัยอะไรก็สามารถถามได้
quote :
เครดิตในการสรุปไม่มีนะ เพราะไม่ได้ก๊อบหรือลอกใครมา เราสรุปเอามาเองจากการอ่าน และก็ไม่ได้สรุปอย่างลวกๆแน่ เพราะนี่เป็นเรื่องที่เราชอบ และอยากให้คนที่สนใจได้รับรู้เรื่องราวของสามก๊กด้วย ส่วนข้อมูลที่หาได้ทั่วไปต้องของคุณวิกิพีเดียค่ะ